แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
หนังสือรับรองการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทข้อ3ระบุว่า ข.เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อ4ระบุว่าข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการไม่มีแสดงว่ามิได้บังคับว่าเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อแล้วต้องมีตราสำคัญของโจทก์ประทับไว้ด้วยจึงจะกระทำการแทนได้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ซึ่ง ข.ลงลายมือชื่อแทนโจทก์โดยมิได้ ประทับตราสำคัญของโจทก์จำเลยทั้งสองจึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มี อำนาจฟ้องตามสัญญา เช่าซื้อดังกล่าวได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ส่งมอบ รถจักรยานยนต์ที่ เช่าซื้อ คืน โจทก์ พร้อม กับ ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 7,130 บาทและ ค่าเช่าซื้อ จำนวน 37,000 บาท รวมเป็น เงิน 44,130 บาท ให้ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน37,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ สามารถ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ได้ไม่ ยาก ขอให้ โจทก์ บังคับ ชำระหนี้ จาก จำเลย ที่ 1 ก่อน
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ มี ว่าโจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง ให้ จำเลย ทั้ง สอง รับผิด ตาม สัญญาเช่าซื้อ เอกสารหมาย จ. 3 หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า แม้ โจทก์ จะ บรรยายฟ้องและ นำสืบ ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้ ชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด อีฮงค้ารถ ” มี นาย ขจิต ลิ้มสุวรรณ เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ มีอำนาจ ลงลายมือชื่อ และ ประทับตรา สำคัญของ โจทก์ กระทำการ แทน โจทก์ ได้ แต่ ตาม หนังสือ รับรอง ของ สำนักงานทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท จังหวัด มหาสารคาม เอกสาร หมาย จ. 1 ข้อ 3ระบุ ว่า นาย ขจิต ลิ้มสุวรรณ เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อีฮงค้ารถ ข้อ 4 ระบุ ว่า ข้อจำกัด อำนาจ ของ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ไม่มี แสดง ว่า ใน หนังสือ รับรอง ดังกล่าว มิได้บังคับ ว่า เมื่อ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ลงชื่อ แล้ว ต้อง มี ตรา สำคัญ ของ โจทก์ประทับ ไว้ ด้วย จึง จะ กระทำการ แทน โจทก์ ได้ ดังนั้น เมื่อ นาย ขจิต ลิ้มสุวรรณ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ลงลายมือชื่อ แทน โจทก์ โดย มิได้ ประทับตรา สำคัญ ของ โจทก์ สัญญาเช่าซื้อ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง ย่อม เป็น สัญญา ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ มีอำนาจฟ้อง ให้ จำเลย ทั้ง สอง รับผิด ตาม สัญญาเช่าซื้อ เอกสาร หมาย จ. 3 ได้ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ยก ฟ้องโจทก์ มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยอุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังขึ้น ส่วน ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ขอให้ ศาลฎีกาพิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน รับผิดชอบ ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ด้วย นั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้น ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย ใน ประเด็น ที่ ว่าจำเลย ทั้ง สอง ผิดสัญญา ต่อ โจทก์ หรือไม่ สมควร ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลชั้นต้น วินิจฉัย เสีย ก่อน เพราะ ผล แห่ง การ วินิจฉัย ของ ศาลชั้นต้นอาจ เกี่ยวโยง ไป ถึง สิทธิ ใน การ อุทธรณ์ ฎีกา คดี นี้ ต่อไป อีก ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ใหม่ตาม รูปคดี