คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3378/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ได้เช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็น ผู้สั่งจ่ายและเป็น เช็คผู้ถือไว้ในครอบครองโดยจำเลยร่วม นายวงแชร์ส่งมอบให้เพื่อชำระ ค่าแชร์จึงเป็น ผู้ทรง การที่โจทก์มอบเช็คพิพาทให้จำเลยร่วมนำไปทวงถามให้จำเลยชำระหนี้หลังจากเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้เป็นเพียงการมอบให้จำเลยร่วมถือไว้แทนโจทก์ไม่ใช่เป็นการโอนเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา918,989โจทก์จึงเป็นผู้ทรงอยู่และเมื่อโจทก์มิได้เป็นหนี้จำเลยจำเลยจะนำหนี้ที่จำเลยร่วมเป็นหนี้จำเลยมา หักกลบลบหนี้กับโจทก์หาได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ตามเช็ค และ ดอกเบี้ยถึง วันฟ้อง จำนวน 20,445 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 20,000 บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ออก เช็คพิพาท เป็น ประกัน การ ชำระค่าแชร์ ให้ แก่ นาย ไพโรจน์ ซึ่ง เป็น นายวงแชร์ แต่ นาย ไพโรจน์ มี หนี้ ค้างชำระ แก่ จำเลย จำเลย ได้ ใช้ สิทธิ หักกลบลบหนี้ และนาย ไพโรจน์ นำ เช็คพิพาท มา คืน ให้ แก่ จำเลย โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียกเงิน ตามเช็ค จาก จำเลย อีก ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ขอให้เรียก นาย ไพโรจน์ ธนโชคสุขชัย เข้า มา เป็น จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต แต่ จำเลยร่วม ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ เงิน 20,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 6 ตุลาคม 2534 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง (วันที่ 29 มกราคม 2535)ต้อง ไม่เกิน 445 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา เกี่ยวกับ อำนาจฟ้อง ของโจทก์ ว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า โจทก์ กับ จำเลย และ บุคคลอื่นตกลง เล่นแชร์ กัน โดย จำเลยร่วม เป็น นายวงแชร์ ส่วน โจทก์ และ จำเลยเป็น ลูกวงแชร์ เช็คพิพาท ซึ่ง เป็น เช็ค ผู้ถือ จำเลย เป็น ผู้สั่งจ่ายมอบ ให้ แก่ จำเลยร่วม เพื่อ ชำระ ค่าแชร์ และ จำเลยร่วม มอบ ให้ แก่ โจทก์เนื่องมาจาก โจทก์ ประมูล แชร์ ได้ เช็คพิพาท ครบ กำหนด ใช้ เงินโจทก์ นำ ไป เรียกเก็บเงิน แต่ เรียกเก็บเงิน ไม่ได้ ต่อมา โจทก์ ได้ มอบเช็คพิพาท ให้ จำเลยร่วม นำ ไป ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระ เงิน ตามเช็คจำเลย ได้ ทำลาย เช็คพิพาท โดย มิได้ ชำระ เงิน ตามเช็ค ให้ แก่ โจทก์โจทก์ ไม่มี เช็คพิพาท ไว้ ใน ครอบครอง ไม่ใช่ ผู้ทรง โดยชอบ ด้วย กฎหมายนอกจาก นี้ จำเลย ได้ ขอ หักกลบลบหนี้ ตามเช็ค พิพาท กับ หนี้ ที่ จำเลยร่วมเป็น หนี้ จำเลย แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง นั้น เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 บัญญัติ ว่า “อัน ผู้ทรง นั้นหมายความ ว่า บุคคล ผู้ มี ตั๋วเงิน ไว้ ใน ครอบครอง โดย ฐาน เป็น ผู้รับเงินหรือ เป็น ผู้รับ สลักหลัง ถ้า และ เป็น ตั๋วเงิน สั่งจ่าย ให้ แก่ผู้ถือ ๆ ก็ นับ ว่า เป็น ผู้ทรง เหมือนกัน ” โจทก์ ได้ เช็คพิพาท ซึ่ง เป็นเช็ค ผู้ถือ ไว้ ใน ครอบครอง โดย จำเลยร่วม นายวงแชร์ ส่งมอบ ให้ เพื่อชำระ ค่าแชร์ โจทก์ จึง เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาท การ ที่ โจทก์ มอบ เช็คพิพาทให้ จำเลยร่วม นำ ไป ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระหนี้ ตามเช็ค หลังจากเช็คพิพาท เรียกเก็บเงิน ไม่ได้ นั้น เป็น เพียง โจทก์ มอบ เช็คพิพาท ให้จำเลยร่วม ถือ เช็คพิพาท ไว้ แทน โจทก์ จึง ไม่ใช่ เป็น การ โอน เช็คพิพาทไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918, 989 โจทก์ จึง เป็นผู้ทรงเช็ค พิพาท อยู่ ส่วน ที่ จำเลย อ้างว่า จำเลย ได้ แสดง เจตนา ขอ หักกลบลบ หนี้ ตามเช็ค พิพาท กับ หนี้ ที่ จำเลยร่วม ซึ่ง เป็น นายวงแชร์ เป็น หนี้จำเลย แล้ว นั้น เห็นว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ เรียกร้อง ตามเช็ค พิพาทให้ จำเลย ผู้สั่งจ่าย เงิน ตาม จำนวน ใน เช็ค พร้อม ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ เป็น หนี้ จำเลย อัน จะ ทำให้ จำเลย มีสิทธิ ขอ หักกลบลบ หนี้ กับ จำเลย จำเลย จะ นำ หนี้ ที่ บุคคลอื่น เป็น หนี้ จำเลย มา หักกลบลบ หนี้ กับ โจทก์ หาได้ไม่ โจทก์ ได้ เช็คพิพาท ซึ่ง เป็น เช็ค ผู้ถือ ไว้ ในครอบครอง จาก การ รับชำระหนี้ โจทก์ จึง เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาทเช็ค ครบ กำหนด โจทก์ เรียกเก็บเงิน ไม่ได้ จำเลย ผู้สั่งจ่าย จึง ตกเป็น ฝ่าย ผิดนัด ต้อง รับผิด ใช้ เงิน ตาม จำนวน ใน เช็ค พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน ระหว่าง ผิดนัด ให้ แก่ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900, 914, 989 ประกอบ มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์ จึง มีอำนาจฟ้อง ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ต้อง กัน มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลยฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share