แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยแต่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่มีการทำแผนที่พิพาทต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยทั้งสองและบริวารรื้อถอนโรงเรือนที่รุกล้ำออกไปศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทแม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องด้วยว่าจำเลยทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์กว้างประมาณ2.50เมตรยาวประมาณ8เมตรก็ตามก็เป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้นหากต่อมาภายหลังจากศาลพิพากษาไปแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทก็เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีการที่จำเลยทั้งสองเพียงแต่รื้อห้องน้ำมีความกว้าง2เมตรยาว3.3เมตรออกไปนั้นยังถือไม่ได้ว่าได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาถูกต้องครบถ้วนแล้วชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ไปตรวจสอบดูว่าโรงเรือนของจำเลยทั้งสองยังคงรุกล้ำที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองของโจทก์หรือไม่
ย่อยาว
กรณี สืบเนื่อง มาจาก ศาลฎีกา พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ของศาลล่าง ทั้ง สอง ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร รื้อ โรงเรือน ออกจากที่ดิน ตาม แบบ แจ้ง การ ครอบครอง เลขที่ 25/2498 หมู่ ที่ 4ตำบล บ้านกลึง อำเภอ บางไทร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ของ โจทก์ ต่อมา จำเลย ทั้ง สอง ได้ รื้อถอน ห้องน้ำ ซึ่ง กว้าง 2 เมตร ยาว 3.3 เมตรออก ไป จาก ที่ดิน ดังกล่าว โจทก์ คัดค้าน ว่า โรงเรือน ส่วน ที่ เป็นตัว บ้าน ของ จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง อยู่ ต่อ จาก ห้องน้ำ รุกล้ำ ที่ดิน ของ โจทก์ด้วย การ รื้อ เฉพาะ ห้องน้ำ จึง ไม่ถูกต้อง ขอให้ รื้อ โรงเรือน ส่วน ที่เป็น ตัว บ้าน ออก ไป 2.5 เมตร จำเลย ทั้ง สอง แถลงว่า ได้ ปฏิบัติ ตามคำพิพากษา ถูกต้อง ครบถ้วน แล้ว
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ว่า จำเลย ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษาถูกต้อง แล้ว
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายก คำสั่งศาล ชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นสั่ง ให้ ทำแผน ที่พิพาท ประกอบการ พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ใหม่ ตาม รูปคดีค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นอุทธรณ์ ให้ ศาลชั้นต้น รวม สั่ง เมื่อ มี คำสั่ง ใหม่
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า เดิม โจทก์ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดิน ตาม แบบ แจ้ง การ ครอบครอง ส.ค.1เลขที่ 25/2498 หมู่ ที่ 4 ตำบล บ้านกลึง อำเภอ บางไทร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จำเลย ทั้ง สอง บุกรุก เข้า ไป ปลูก โรงเรือนใน ที่ดิน ดังกล่าว จึง ต้อง รื้อ โรงเรือน ออก ไป ต่อมา จำเลย ทั้ง สองได้ รื้อ ห้องน้ำ กว้าง 2 เมตร ยาว 3.3 เมตร ออก ไป แล้ว มี ปัญหาต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ปฏิบัติ ตามคำพิพากษา ถูกต้อง ครบถ้วน แล้ว หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร รื้อ โรงเรือน ออกจาก ที่ดิน ตาม แบบ แจ้งการ ครอบครอง (ส.ค.1 ) ของ โจทก์ ห้าม จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร เข้า มาเกี่ยวข้อง อีก ต่อไป จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ต่อสู้ คดี ว่า ไม่ได้ ปลูกโรงเรือน รุกล้ำ ที่ดิน ของ โจทก์ ที่พิพาท เป็น ของ จำเลย ทั้ง สองศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท แต่เพียง ข้อ เดียว ว่า ที่พิพาทเป็น ของ โจทก์ หรือ ของ จำเลย ใน ระหว่าง การ พิจารณา คดี ของ ศาลชั้นต้นไม่มี การ ทำแผน ที่พิพาท แต่อย่างใด ต่อมา ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่าที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ ให้ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร รื้อถอน โรงเรือนที่ รุกล้ำ ออก ไป ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา พิพากษายืน คดี ไม่มี ประเด็นข้อพิพาท เกี่ยวกับ แนวเขต ที่พิพาท แม้ โจทก์ จะ บรรยาย มา ใน ฟ้อง ด้วย ว่าจำเลย ทั้ง สอง ปลูก โรงเรือน รุกล้ำ ที่ดิน ของ โจทก์ กว้าง ประมาณ 2.50 เมตรยาว ประมาณ 8 เมตร ก็ ตาม ก็ เป็น เพียง การ ประมาณ เอา เท่านั้น หาก ต่อมาภายหลัง จาก ศาล พิพากษา ไป แล้ว มี ปัญหา เกี่ยวกับ แนวเขต ที่พิพาทก็ เป็น ปัญหา ใน ชั้น บังคับคดี การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง เพียงแต่ รื้อ ห้องน้ำมี ความ กว้าง 2 เมตร ยาว 3.3 เมตร ออก ไป นั้น ยัง ถือไม่ได้ว่าได้ ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา ถูกต้อง ครบถ้วน แล้ว ชอบ ที่ ศาลชั้นต้น จะ สั่งให้ ไป ตรวจสอบ ดู ว่า โรงเรือน ของ จำเลย ทั้ง สอง ยัง คง รุกล้ำ ที่ดินตาม แบบ แจ้ง การ ครอบครอง ของ โจทก์ ดังกล่าว อีก หรือไม่ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน