คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยวางมัดจำในวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเงินสดส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งจ่ายเป็นเช็คพิพาทให้โจทก์พร้อมทั้งทำสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์โจทก์นำเช็คพิพาทไปขึ้นเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเนื่องจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโจทก์มาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯการที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยกระทำโดยสุจริตจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้องเป็นการใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์จำเลยทำสัญญากู้ยืมเป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะเป็นการเปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้จากเงินมัดจำเป็นหนี้เงินกู้แม้เช็คพิพาทจำเลยจะสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมแต่ก็เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการวางเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้การที่จำเลยสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็คก็เพื่อมิให้ต้องสูญเสียเงินเพิ่มขึ้นจากการผิดสัญญาของโจทก์จำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริตและไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

ย่อยาว

ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘โจทก์ ฎีกา ใน ปัญหา ข้อแรก ว่าศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ผิด จาก สำนวน ศาลฎีกา เห็น ว่า ข้อเท็จจริงที่ คู่ความ นำสืบ ฟัง ได้ ว่า โจทก์ ตกลง ขาย ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างให้ จำเลย ใน ราคา 11,200,000 บาท ตกลง วางมัดจำ ใน วันทำ หนังสือสัญญา ซื้อขาย คือ วันที่ 2 พฤษภาคม 2523 จำนวน 4,000,000 บาท เงินจำนวน นี้ ให้ ชำระ เป็น เงินสด 1,600,000 บาท ที่เหลือ จ่าย เป็นเช็ค เงินสด 3 ฉบับ แต่ ใน วันทำ สัญญา ดังกล่าว จำเลย คง ชำระ เงินสดให้ โจทก์ เพียง 100,000 บาท ที่ ขาด อยู่ 1,500,000 บาท จำเลย สั่งจ่ายเช็ค พิพาท ให้ โจทก์ พร้อมทั้ง ทำ หนังสือ สัญญา กู้ยืม เงิน ลง วันที่ 2 พฤษภาคม 2523 ให้ โจทก์ โจทก์ นำ เช็ค พิพาท ไป ขึ้น เงิน ธนาคารธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน ตาม เช็ค เนื่องจาก จำเลย มี คำสั่ง ให้ระงับ การ จ่าย ศาลอุทธรณ์ ก็ ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม นี้ จึง มิใช่ฟัง ข้อเท็จจริง ผิด จาก สำนวน
โจทก์ ฎีกา ข้อ ต่อไป ว่า ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ผิด สัญญาซื้อขาย เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น แห่ง คดี ศาลฎีกา เห็น ว่าตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 ศาล มี อำนาจ ใช้ดุลพินิจ วินิจฉัย ชั่ง น้ำหนัก พยานหลักฐาน ทั้งปวง เพื่อ ให้ แน่ใจว่า มี การ กระทำ ผิด จริง และ จำเลย เป็น ผู้ กระทำ ผิด การ ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ผิด สัญญา จำเลย มี สิทธิ สั่ง ระงับการ จ่ายเงิน ตาม เช็ค จำเลย กระทำ โดย สุจริต จึง ไม่ เป็น ความผิดตาม ฟ้อง ก็ เป็น การ ใช้ ดุลพินิจ ตาม บทกฎหมาย ดังกล่าว แล้ว มิใช่เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น
ข้อสุดท้าย โจทก์ ฎีกา ว่า การ ที่ โจทก์ จำเลย ทำ สัญญา กู้ยืม เป็นการ แปลงหนี้ ใหม่ ศาลฎีกา เห็น ว่า แม้ จำนวน เงิน ที่ ปรากฏ ใน สัญญากู้ยืม หมาย จ.4 ก็ คือ ส่วนหนึ่ง ของ เงิน มัดจำ ที่ จำเลย ต้องชำระ ให้ โจทก์ ตาม สัญญา ซื้อขาย หมาย จ.3 ก็ ตาม แต่ ใน สัญญา กู้ยืมได้ มี การ คิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ใน อัตรา ร้อยละ 22 ต่อปี กำหนดให้ ชำระ ดอกเบี้ย ล่วงหน้า ทุก เดือน และ กำหนด ให้ ชำระ เงินต้นคืน ภายใน วันที่ 1 พฤษภาคม 2524 โดย จำเลย ออก เช็ค พิพาท ลง วันที่1 พฤษภาคม 2524 ให้ โจทก์ เมื่อ ถึง กำหนด จำเลย ไม่ ชำระ เงินกู้ก็ ให้ โจทก์ นำ เช็ค ไป ขึ้น เงิน ได้ จำเลย เอง ยัง เบิกความ ด้วยว่า จำเลย ตกลง ชำระ ค่าดอกเบี้ย ให้ กับ โจทก์ โดย ชำระ เป็น เช็คจำนวน 12 ฉบับ นับจาก วันทำ สัญญา จน ถึง วัน ครบ กำหนด และ ได้ ชำระดอกเบี้ย ตลอดมา จน ถึง เดือน ตุลาคม 2523 โจทก์ ไม่ โอน ที่ดิน ให้จำเลย จึง ไม่ ชำระ อีก ต่อไป เห็น ได้ ว่า ได้ มี การ เปลี่ยน สาระสำคัญ แห่ง หนี้ จาก เงิน มัดจำ เป็น เงินกู้ การ ที่ โจทก์ จำเลยทำ สัญญา กู้ยืม จึง เป็น การ แปลงหนี้ ใหม่ แต่ ศาลฎีกา เห็น ว่าแม้ เช็ค พิพาท จำเลย จะ สั่งจ่าย เพื่อ ชำระหนี้ ตาม สัญญา กู้ยืมแต่ ก็ เป็น เรื่อง สืบเนื่อง มา จาก การ วาง เงิน มัดจำ ตาม สัญญาซื้อขาย ศาลล่าง ทั้งสอง ฟัง ข้อเท็จจริง ต้องกัน มา ว่า โจทก์ เป็นฝ่าย ผิด สัญญา ซื้อขาย การ ที่ จำเลย สั่ง ระงับ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ก็ เพื่อ มิให้ จำเลย ต้อง สูญเสีย เงิน เพิ่มขึ้น จาก การผิด สัญญา ของ โจทก์ จำเลย จึง ไม่ มี เจตนา ทุจริต และ ไม่ มี ความผิดตาม ฟ้อง ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย’

Share