คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่2อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาว่าการอ่านคำพิพากษาไม่ใช่การพิจารณาเมื่อคดีนี้มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วศาลชั้นต้นเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบเพื่อให้ศาลฎีกามีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ฉบับแรกซึ่งศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะถือว่ายังไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากได้เพิกถอนการอ่านแล้วแต่ต่อมาจำเลยที่2ได้ยื่นฎีการ่วมกับจำเลยที่1ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้วฎีกาจำเลยที่2ที่ว่าควรรับฎีกาของจำเลยที่2ฉบับแรกหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดี โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองเป็นการโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทแม้จะมีการดำเนินคดีเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่อย่างใด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เป็น เงิน 176,000 บาท ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง และบริวาร ออกจาก ที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง โจทก์ ไม่ใช่เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม ใบจอง เลขที่ 463 ตาม ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดินของ โจทก์ ห้าม มิให้ หา ผลประโยชน์ ใด ๆ ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ให้ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน (ค่าเสียหาย ) ปี ละ 88,000 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ (ที่ ถูก น่า จะ เป็น จนกว่า จำเลยทั้ง สอง และ บริวาร จะ ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ )
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ส่ง คำพิพากษา ไป ให้ ศาลชั้นต้น อ่าน โดย มี คำสั่งไป ใน รายงาน กระบวนพิจารณา ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ว่า ก่อน อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลชั้นต้น เรียก คู่ความ ตีราคา ที่ดินพิพาทและ มี คำสั่ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ เพิ่ม ตามตาม จำนวน ทุนทรัพย์ ให้ ถูกต้อง ครบถ้วน ภายใน กำหนด 15 วัน นับแต่วัน ทราบ คำสั่ง หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม เสีย ค่าขึ้นศาล เพิ่ม ตามจำนวน ทุนทรัพย์ ภายใน กำหนด ให้ ส่ง คำพิพากษา และ สำนวน คืน ศาลอุทธรณ์เพื่อ ดำเนินการ ต่อไป วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 ศาลชั้นต้น อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ คู่ความ ฟัง โดย ผิดหลง ไม่ได้ ปฏิบัติตาม คำสั่ง ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ ก่อน วันที่ 12มีนาคม 2535 จำเลย ที่ 2 ยื่นฎีกา วันที่ 16 มีนาคม 2535 จำเลยทั้ง สอง ยื่นฎีกา และ วันที่ 9 เมษายน 2535 จำเลย ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ ถอน ฎีกา เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 2 ตาม ฎีกา ลงวันที่ 16 มีนาคม2535 ขอ ถือเอา ฎีกา ลงวันที่ 12 มีนาคม 2535 เป็น ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ต่อมา วันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ศาลชั้นต้น นัด พร้อม และ มี คำสั่ง ว่าโดย มี ปรากฏว่า ศาล ได้ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ คู่ความ ฟังเมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 เป็น การ ผิดหลง โดย มิได้ แจ้ง ให้จำเลย ทั้ง สอง เสีย ค่าขึ้นศาล เพิ่ม ตาม คำสั่งศาล อุทธรณ์ เป็น การดำเนิน กระบวนพิจารณา ผิดพลาด อาศัย อำนาจ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 27 ให้ เพิกถอน การ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ นั้น เสียแล้ว ศาลชั้นต้น แจ้ง สั่ง ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ให้ คู่ความ ทราบ กับ นัด พร้อม เพื่อ ตีราคา ที่ดินพิพาท สำหรับ ฎีกาของ จำเลย ที่ 2 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2535 เมื่อ ศาล ยัง ไม่ได้อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ คู่ความ ฟัง จึง เพิกถอน เป็น ไม่รับ ฎีกาคืน ค่าธรรมเนียม ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ทั้งหมด วันที่ 10 กรกฎาคม 2535จำเลย ทั้ง สอง ได้เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ เพิ่ม แล้ว ศาลชั้นต้นได้ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ คู่ความ ฟัง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา กับ ฎีกา คำสั่ง ตาม รายงานกระบวนพิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ คำสั่ง ไม่รับ ฎีกาว่า การ อ่าน คำพิพากษา ไม่ใช่ การ พิจารณา คดี นี้ มี คำพิพากษา ของศาลชั้นต้น แล้ว ศาลชั้นต้น เพิกถอน การ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ และ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ของศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลชั้นต้น ปฏิบัติ ก่อน อ่าน คำพิพากษา เป็น เรื่องภายใน ระหว่าง ศาล ที่ ศาลชั้นต้น ไม่ปฏิบัติ หา ทำให้ การ อ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เสีย ไป ไม่ นั้น เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้น ดังกล่าว ก็ เพื่อ ให้ ศาลฎีกา มี คำสั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ลงวันที่ 12 มีนาคม 2535 ซึ่ง ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ไม่รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 แต่ปรากฏ ต่อมา ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ยื่นฎีกา ฉบับ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2535ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ฎีกา คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ใน คดี นี้ แล้วและ ศาลชั้นต้น ก็ มี คำสั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว การ จะวินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ใน ปัญหา ว่า ควร รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ลงวันที่ 12 มีนาคม 2535 หรือไม่ จึง ไม่เป็น สาระ แก่ คดี ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย
ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา คำสั่งศาล อุทธรณ์ ตาม รายงาน กระบวนพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ ว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง เป็น คดี ไม่มี ทุนทรัพย์และ จำเลย ที่ 2 ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น เพื่อ ให้ มี คำสั่ง ให้โจทก์ เสีย ค่าขึ้นศาล อย่าง คดีมีทุนทรัพย์ แล้ว แต่ ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง ยกคำร้อง คดี จึง ถือได้ว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง เป็น อย่าง คดีไม่มี ทุนทรัพย์ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง เสียค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ อย่าง คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ (ที่ ถูก อย่าง คดี มีทุนทรัพย์ ) เป็น การ ลัก ลั่น และ ไม่เป็นธรรม นั้น เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ว่าที่ดินพิพาท ตาม ใบจอง เลขที่ 463 เป็น ของ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สอง และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง ให้การต่อสู้ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ จำเลย ทั้ง สอง โดย นาย ชัย ซึ่ง เป็น สามี ของ จำเลย ที่ 1 และ เป็น บิดา ของ จำเลย ที่ 2 ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ก่อน ปี 2530 และ ได้ ครอบครอง ต่อเนื่อง กัน มา จน ถึง จำเลย ทั้ง สองเป็น การ โต้เถียง กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท จึง เป็น คดี ที่ มี คำขอ ให้ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้ เป็น คดีมีทุนทรัพย์ซึ่ง จะ ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาล ตาม ราคา ที่ดินพิพาท ตาม ตาราง 1(1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ จำเลย ทั้ง สอง ยื่น อุทธรณ์อย่าง คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ โดย เสีย ค่าขึ้นศาล มา เพียง 200 บาท เป็น การไม่ถูกต้อง แม้ จะ มี การ ดำเนินคดี เป็น คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ ใน ศาลชั้นต้นก็ ไม่ทำ ให้ คดีมีทุนทรัพย์ เป็น คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ แต่อย่างใดที่ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์เพิ่ม นั้น ชอบแล้ว ฎีกา คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share