คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

สิ่งที่มีค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)จะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กัน โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยโดยที่ดินมีการจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งจำเลยต้องรับผิดในหนี้ของห้างได้ไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)ประกอบมาตรา1087และจำเลยก็รับว่าเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยถือได้ว่าการจำนองเป็นการประกันหนี้ของจำเลยการยกให้ที่ดินโดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองดังกล่าวจะถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันหาได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น มารดา ของ จำเลย ซึ่ง เกิด แต่นาย สมเดช พีรวัฑฒึก แต่ ได้ หย่าขาด จาก กัน นาน แล้ว เดิม โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 33686 ตำบล บางไผ่ ( บางเชือกหนังฝั่งใต้ ) อำเภอ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน เป็น แขวง บางไผ่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 2 งาน และ บ้าน เลขที่ 34 หมู่ ที่ 2 แขวง บางไผ่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่ง ปลูก ใน ที่ดิน ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 30 มกราคม 2529โจทก์ ได้ ยก ที่ดิน และ บ้าน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย โดยเสน่หา โจทก์ ไม่มีทรัพย์สิน อื่น ใด อีก และ ไม่สามารถ ทำ มา หา เลี้ยงชีพ ได้ เพราะ ชรา ภาพ แล้วจำเลย ได้ อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ ใน ฐานะ บุตร กับ มารดา โดย จำเลย ได้ ให้เงิน ค่าครองชีพ แก่ โจทก์ เดือน ละ 1,500 บาท ต่อมา ประมาณ ปลาย ปี 2529จำเลย เริ่ม ประพฤติ เนรคุณ ต่อ โจทก์ บาง เดือน ก็ ให้ ค่าครองชีพ แก่ โจทก์บาง เดือน ก็ ไม่ให้ และ ต่อมา วันที่ 21 พฤษภาคม 2531 จน ถึง ปัจจุบันจำเลย ได้ บอกปัด ไม่ยอม ให้ ค่าครองชีพ ประจำ เดือน แก่ โจทก์ ซึ่ง โจทก์เป็น ผู้ยากไร้ และ ชรา ภาพ ไม่สามารถ ประกอบการ งาน เลี้ยงชีพ ได้ และ จำเลยประกอบ กิจการ ค้า สามารถ ที่ จะ ให้ ค่าครองชีพ แก่ โจทก์ ได้ และ ใน วันที่21 พฤษภาคม 2531 ซึ่ง โจทก์ ได้ ไป ขอ เงิน ค่าครองชีพ ประจำ เดือน จาก จำเลยจำเลย ด่า โจทก์ ว่า หน้า เหมือน ปี ศาจ ถือ แก้ว น้ำ ทำ ท่า จะ สาดหน้า โจทก์และ สาดน้ำลง ที่ เท้า โจทก์ ต่อมา เมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2531โจทก์ ได้ ไป ที่ ห้องพัก ของ โจทก์ ใน บ้าน พิพาท เพื่อ ทำ ความสะอาด ห้องแต่ นาย สมเดช ไม่ยอม ให้ โจทก์ เข้า ห้อง จึง เกิด โต้เถียง กัน จำเลย ด่า โจทก์ ว่า อีแก่ และ ขับไล่ ไสส่ง โจทก์ ให้ ขนของ ออก ไป จาก ที่ดินและ บ้าน พิพาท โดย ขู่ ว่า หาก โจทก์ ไม่ ขนของ ออก ไป จำเลย จะ ตาม เจ้าพนักงานตำรวจ มา จับกุม โจทก์ ฐาน บุกรุก และ จำเลย ว่า โจทก์ ไม่ใช่ แม่ บังเกิด เกล้าของ จำเลย และ ใน ขณะที่ โจทก์ กำลัง โต้เถียง อยู่ กับ นาย สมเดช นั้น จำเลย ยัง ได้ ยุยง นาย สมเดช ให้ ฆ่า โจทก์ แล้ว จำเลย เอา สาย ยาง ฉีด น้ำ ไล่ โจทก์ ให้ ออก ไป จาก บ้าน และ ที่พิพาท การกระทำ ของ จำเลย ดังกล่าวเป็น การ หมิ่นประมาท โจทก์ อย่างร้ายแรง เมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2533โจทก์ ได้ ไป ตรวจสอบ ที่ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร จึง ทราบ ว่า ระหว่างที่ จำเลย เริ่ม เนรคุณ โจทก์ และ โจทก์ ได้ ต่อว่า จำเลย ว่า จะ เรียก ถอน คืนการ ให้ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท จำเลย ได้ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต นำ ที่ดินและ บ้าน พิพาท ไป เพิ่ม วงเงิน จำนอง เป็น ประกัน เงินกู้ ที่ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด จำนวนเงิน 90,000 บาท เป็น การ กลั่นแกล้ง โจทก์ โดยมิชอบ ซึ่ง ถ้าหาก โจทก์ เรียก ถอน คืน การ ให้ ที่ดิน และ บ้าน พิพาทกลับคืน มา เป็น ของ โจทก์ ได้ สำเร็จ โจทก์ ก็ จะ ต้อง มี ภาระ ผูกพันต่อ ธนาคาร ผู้รับจำนอง คือ ต้อง ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ ธนาคารผู้รับจำนอง ขอให้ ศาล พิพากษา ให้ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท กลับคืน เป็นกรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ตาม เดิม โดย ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน เพิกถอน การ ให้ที่ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา ธนบุรี ถ้า จำเลย ไม่ไป ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย และ ให้ จำเลย ชำระหนี้ไถ่ถอน จำนอง จาก ธนาคาร ผู้รับจำนอง หาก จำเลย ไม่ยอม ก็ ให้ จำเลยชำระ เงิน 90,000 บาท พร้อม ทั้ง ดอกเบี้ย ตาม อัตรา ที่ ธนาคาร ผู้รับจำนองกำหนด แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า การ ให้ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ของ โจทก์ แก่ จำเลยเป็น การ ให้ ที่ ติด ภาระ จำนอง ซึ่ง โจทก์ ได้ กู้เงิน จากธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด สำนักงาน ใหญ่ และ ยัง ได้ ตั้ง เงื่อนไข เกี่ยวกับ การ ยกให้ ด้วย ว่า หาก โจทก์ ถึงแก่ความตาย แล้ว ภายใน ระยะเวลา2 ปี จำเลย จะ ต้อง จ่ายเงิน ให้ แก่ นาย ชาติพัฒน์ พีรวัฑฒึก และ นาย สันติพงษ์ พีรวัฑฒึก น้องชาย ของ จำเลย เป็น เงิน คน ละ 100,000 บาท จำเลย ไม่เคย ประพฤติ เนรคุณ ต่อ โจทก์ และ จำเลย ยัง จ่าย ค่าครองชีพให้ แก่ โจทก์ เดือน ละ 1,500 บาท สม่ำเสมอ ตลอดมา และ เมื่อ วันที่10 พฤศจิกายน 2531 ที่ โจทก์ อ้างว่า จำเลย ด่า ว่า โจทก์ ต่าง ๆนั้น ไม่เป็น ความจริง จำเลย เพียงแต่ เข้า ไป ห้าม ไม่ให้ โจทก์ และ บิดาของ จำเลย ทะเลาะ กัน เท่านั้น สำหรับ กรณี ที่ จำเลย ได้ นำ ที่ดิน และ บ้านไป เพิ่ม เงิน จำนอง อีก 90,000 บาท นั้น เนื่องจาก จำเลย เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ที่พิพาท อยู่ ใน ขณะ นั้น จำเลย จึง มีสิทธิ ที่ จะ ทำได้โดยสุจริต ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ถอน คืน การ ให้ โดย ให้ จำเลย ไป จดทะเบียนโอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 33686 ตำบล บางไผ่ (บางเชือกหนังฝั่งใต้) อำเภอ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พร้อม บ้าน เลขที่ 34 หมู่ ที่ 2แขวง บางไผ่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่ง ตั้ง อยู่ บน ที่ดิน ดังกล่าว กลับคืน เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ถ้า จำเลย ไม่ไป ให้ ถือเอาคำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้น ฟังได้ ว่าโจทก์ เป็น มารดา จำเลย เดิม โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 33686ตำบล บางไผ่ (บางเชือกหนังฝั่งใต้) อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พร้อม บ้าน เลขที่ 34 หมู่ ที่ 2 ซึ่ง ปลูก อยู่ บน ที่ดิน ดังกล่าวซึ่ง พิพาท กัน ใน คดี นี้ โจทก์ เคย นำ ที่ดิน พร้อม บ้าน ไป จำนอง 3 ครั้งครั้งแรก เมื่อ ปี 2525 ครั้งที่ สอง เมื่อ ปี 2526 และ ครั้งที่ สามเมื่อ วันที่ 17 กรกฎาคม 2529 ปรากฏ ตาม สัญญาจำนอง เอกสาร หมาย จ. 9การ จำนอง ครั้งที่ สาม นี้ จำนอง เป็น ประกันหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิลาวิศวกรรมเครื่องจักรกล ซึ่ง มี จำเลย เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ใน วงเงิน 150,000 บาท ต่อมา วันที่ 30 มกราคม 2529 โจทก์ ทำหนังสือ สัญญา ให้ ที่ดิน และ บ้าน แก่ จำเลย โดย จดทะเบียน ต่อ เจ้าพนักงานขณะ นั้น ยัง ไม่มี การ ไถ่ถอน จำนอง ครั้งที่ สาม ดังกล่าว ปรากฏ ตามหนังสือ สัญญา ให้ ระหว่าง จำนอง เอกสาร หมาย จ. 21 ครั้น วันที่ 21กุมภาพันธ์ 2529 จำเลย ได้ ทำ บันทึก ว่า จะ ให้ เงิน นาย ชาติพัฒน์ และ นาย สัตติพงษ์ (ที่ถูกคือนาย สันติพงษ์) พีรวัฑฒึก ซึ่ง เป็น น้องชาย คน ละ 100,000 บาท ภายใน ระยะเวลา ไม่เกิน 2 ปี หลังจากโจทก์ ตาย ปรากฏ ตาม บันทึก เอกสาร หมาย ล. 2 ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาโจทก์ มี ว่า การ ให้ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท เป็น การ ให้ สิ่ง ที่ มีค่า ภาระติดพัน หรือไม่ เห็นว่า การ ให้ สิ่ง ที่ มีค่า ภาระติดพัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2) นั้น สิ่ง ที่ มีค่าภาระติดพัน นั้น จะ ต้อง มี อยู่ ใน ขณะ ตกลง ทำ สัญญา ให้ แก่ กัน การ จำนองที่ดิน ครั้งแรก และ ครั้งที่ สอง นั้น หาก จำเลย จะ เป็น ผู้ ไถ่ถอน จำนอง จริงก็ เป็นเหตุ การณ์ ก่อน การ ให้ คดี นี้ นาน แล้ว เป็น คน ละ ตอน กัน ส่วน บันทึกข้อตกลง ตาม เอกสาร หมาย ล. 2 นั้น เป็น เรื่อง ที่ จำเลย กระทำ ขึ้นใน ภายหลัง ทำ สัญญา ให้ และ บันทึก ดังกล่าว โจทก์ ก็ ไม่ได้ ลงชื่อไม่ น่าเชื่อ ว่า จะ มี ข้อตกลง กัน ใน ขณะ ทำ สัญญา เพราะ ถ้า มี เจตนา เช่นนี้จริง แล้ว ก็ น่า จะ ทำ บันทึก กัน ใน วันนั้น หรือ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดินจด บันทึก ลง ใน สัญญา ขณะ นั้น เลย ดังนั้น การ ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินครั้งแรก และ ครั้งที่ สอง กับ บันทึก ข้อตกลง ตาม เอกสาร หมาย ล. 2 จึง มิใช่สิ่ง ที่ มีค่า ภาระติดพัน ที่ เกี่ยวกับ การ ให้ ที่พิพาท คดี นี้ สำหรับ การจำนอง ที่ดิน ครั้งที่ สาม นั้น เป็น การ จำนอง เพื่อ ประกันหนี้ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิลาวิศวกรรมเครื่องจักรกล ซึ่ง เป็น นิติบุคคล แยก ต่างหาก จาก จำเลย แต่ จำเลย ก็ เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ต้อง รับผิดใน หนี้ ของ ห้าง โดย ไม่จำกัด จำนวน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2) ประกอบ มาตรา 1087 จึง ถือได้ว่า การ จำนอง ครั้งที่ สามเป็น การ ประกันหนี้ ของ จำเลย ซึ่ง จำเลย ก็ เบิกความ รับ ว่า การ จำนองครั้งที่ สาม เป็น การ ประกันหนี้ จำเลย ดังนั้น การ ทำ สัญญา ยกให้ ที่ดินและ บ้าน พิพาท ขณะที่ ยัง ติด จำนอง เป็น ประกันหนี้ อัน ถือว่า เป็น ของจำเลย ผู้รับ ให้ โดย ไม่มี การ ไถ่ถอน จำนอง จะ ถือว่า เป็น การ ให้ สิ่ง ที่ มีค่า ภาระติดพัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2)หาได้ไม่
ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ต่อไป มี ว่า จำเลย ประพฤติ เนรคุณต่อ โจทก์ หรือไม่ ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share