คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามคำร้องของจำเลยคัดค้านว่าจำเลยเพิ่งทราบว่ามีการยึดที่ดินและนำออกขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เคยแจ้งการยึดและวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบมาก่อนทั้งการขายทอดตลาดก็ต่ำกว่าราคาท้องตลาดทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเท่ากับจำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายและมีความหมายในเชิงปฏิเสธว่าวันที่18มิถุนายน2535อันเป็นวันขายทอดตลาดซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนนั้นจำเลยไม่ทราบมาก่อนส่วนในข้อที่ว่าจำเลยทราบถึงการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายในข้อว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้นหรือไม่ดังบัญญัติไว้ในมาตรา296วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งทั้งจำเลยฎีกาโต้เถียงอยู่ว่าจำเลยเพิ่งทราบถึงการฝ่าฝืนดังกล่าวในวันยื่นคำร้องและคดีก็ยังมีประเด็นโต้เถียงกันเรื่องราคาแท้จริงตามราคาท้องตลาดแห่งที่ดินพิพาทอีกด้วยสมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการไต่สวนคำร้องของจำเลยต่อไปจนสิ้นกระแสความเสียก่อน

ย่อยาว

กรณี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดินและ โรงเรือน พิพาท และ ให้ ใช้ ค่าเสียหาย คดีถึงที่สุด โดย ศาลฎีกาพิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน และ โรงเรือน พิพาทและ ให้ ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ วัน ละ 50 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ออกจาก ที่ดิน และ โรงเรือน พิพาท แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ ค่าเสียหายให้ โจทก์ โจทก์ ขอให้ บังคับคดี และ นำยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1678ของ จำเลย ที่ 1 เพื่อ ขายทอดตลาด ชำระหนี้ ค่าเสียหาย ศาล อนุญาต ให้ประกาศ ขายทอดตลาด ได้ ต่อมา เมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2535เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ขายทอดตลาด ที่ดิน ดังกล่าว โดย นาย เนติ ตันติมนตรี ผู้ซื้อทรัพย์ เป็น ผู้ เสนอ ซื้อ ราคา สูงสุด เป็น เงิน 430,000 บาท เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ เคาะ ไม้ ขาย ให้ ผู้ซื้อทรัพย์ใน ราคา ดังกล่าว
จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้อง และ แก้ไข คำร้อง ว่า จำเลย ที่ 1เพิ่ง ทราบ ว่า เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน และ นำ ออก ขายทอดตลาด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2535 และ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ อนุญาต ให้ ขายที่ดิน แปลง ดังกล่าว ราคา 430,000 บาท เมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2535การ ดำเนินการ บังคับคดี ก่อนหน้า นี้ จำเลย ที่ 1 ไม่ทราบ เพราะเจ้าพนักงาน บังคับคดี ไม่เคย แจ้ง เรื่อง การ นำยึด ที่ดิน และ การ ประกาศขายทอดตลาด ให้ จำเลย ที่ 1 ทราบ เลย ทำให้ จำเลย ที่ 1 เสียหายทั้ง การ ขาย ก็ ต่ำกว่า ราคา ท้องตลาด ปัจจุบัน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว มี ราคาไม่ ต่ำกว่า 2,000,000 บาท เป็น การ ขาย ที่ ไม่ชอบ ขอให้ สั่ง ยกเลิกการ ขายทอดตลาด
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า ราคาประเมิน ที่ดิน แปลง พิพาทที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ประเมิน ไว้ ขณะ ยึด เป็น เงิน เพียง 404,000 บาทแต่เมื่อ สอบถาม เจ้าพนักงาน ที่ดิน แล้ว เจ้าพนักงาน บังคับคดี ก็ ทราบ ว่าทางการ ประเมิน ไว้ ถึง 800,000 บาท ใน วัน ขายทอดตลาด ครั้งแรกผู้แทน ของ ผู้ซื้อทรัพย์ ให้ ราคา สูงสุด เป็น เงิน 430,000 บาท ต่ำกว่าราคาประเมิน ของ ทางราชการ มาก ทั้ง เป็น การ ขาย ครั้งแรก และ จำเลยเป็น หนี้ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ประมาณ 180,000 บาท เท่านั้น สมควรที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี จะ ให้ โอกาส จำเลย โดย ประกาศ ขาย ใหม่ อีก ครั้งแต่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ก็ อนุญาต ให้ ขายทอดตลาด ได้ โดย อ้างว่าเหมาะสม กับ สภาพ แวดล้อม ของ ที่ดิน แล้ว จึง ยัง เป็น การ ขาย ที่ ไม่ชอบมี คำสั่ง ให้ยก เลิก การ ขายทอดตลาด และ ให้ ประกาศ ขายทอดตลาด ใหม่
ผู้ซื้อทรัพย์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องของจำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ยึด ที่ดิน ของจำเลย ที่ 1 เพื่อ ขายทอดตลาด ชำระหนี้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม2534 ต่อมา วันที่ 18 มิถุนายน 2535 อันเป็น วันประกาศ กำหนดวัน ขายทอดตลาด ครั้งแรก เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ขายทอดตลาด ที่ดินดังกล่าว ให้ แก่ ผู้ซื้อทรัพย์ ซึ่ง เป็น ผู้ เสนอราคา สูงสุด ใน ราคา430,000 บาท จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้อง ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2535คัดค้าน ว่า จำเลย ที่ 1 เพิ่ง ทราบ ว่า มี การ ยึด ที่ดิน และ นำ ออก ขายทอดตลาดเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2535 โดย เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไม่เคย แจ้งการ ยึด และ วัน ขายทอดตลาด ให้ จำเลย ที่ 1 ทราบ มา ก่อน ทั้ง การ ขายทอดตลาดก็ ต่ำกว่า ราคา ท้องตลาด ทำให้ จำเลย ที่ 1 ได้รับ ความเสียหายเท่ากับ จำเลย ที่ 1 อ้างว่า เจ้าพนักงาน บังคับคดี ดำเนินการ บังคับคดีฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย และ มี ความหมาย ใน เชิง ปฏิเสธ ว่า วันที่ 18 มิถุนายน2535 อันเป็น วัน ขายทอดตลาด ซึ่ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ กระทำการ อันเป็น การ ฝ่าฝืน นั้น จำเลย ที่ 1 ไม่ทราบ มา ก่อน ส่วน ใน ข้อ ที่ ว่าจำเลย ที่ 1 ทราบ ถึง การกระทำ อันเป็น การ ฝ่าฝืน ตั้งแต่ เมื่อใด นั้นยัง ไม่มี ข้อเท็จจริง ที่ ศาล จะ รับฟัง มา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ใน ข้อ ว่าจำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น คำร้อง ล่วงเลย กำหนด เวลา แปด วัน นับแต่ วัน ทราบการ ฝ่าฝืน นั้น หรือไม่ ดัง บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 296 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้ง จำเลย ที่ 1 ยื่น ข้อ ฎีกาโต้เถียง อยู่ ว่า จำเลย ที่ 1 เพิ่ง ทราบ ถึง การ ฝ่าฝืน ดังกล่าว ใน วัน ยื่นคำร้อง อีก ประการ หนึ่ง ใน ปัญหา เกี่ยวกับ เรื่อง ราคา ที่ดิน แปลง พิพาทผู้ซื้อทรัพย์ ก็ ยัง ได้ อุทธรณ์ และ ยื่น คำ แก้ ฎีกา ว่า ราคา ที่ ซื้อ ไป นั้นเป็น ราคา พอสมควร และ เหมาะสม แก่ สภาพ ตลอดจน ที่ ตั้ง ของ ทรัพย์ นั้นคดี ก็ ยัง เป็น ประเด็น โต้เถียง กัน ด้วย ว่า ราคา แท้จริง ตาม ราคา ท้องตลาดแห่ง ที่ดินพิพาท อีก ด้วย สมควร ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการ ไต่สวน คำร้องของ จำเลย ที่ 1 ต่อไป จน สิ้น กระแสความ เสีย ก่อน
พิพากษา ให้ยก คำสั่งศาล ชั้นต้น และ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการ ไต่สวน คำร้องของจำเลย ที่ 1 แล้ว มี คำสั่ง ใหม่ตาม รูปคดี

Share