คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา31วรรคแรกห้ามมิให้นายจ้าง โยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับ ข้อเรียกร้อง เฉพาะเมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้องและข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการเจรจาการไกล่เกลี่ยหรือชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเมื่อผู้ร้องมีคำสั่งโยกย้ายผู้คัดค้านไปทำงานในตำแหน่งใหม่ก่อนมีการยื่นข้อเรียกร้องการที่ผู้ร้องมีหนังสือเตือนผู้คัดค้านให้ไปทำงานในตำแหน่งใหม่แม้จะอยู่ใน ระหว่างการเจรจาข้อพิพาทก็เป็นการเตือนถึงคำสั่งที่โยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้องจึงไม่ต้องห้าม

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง มี คำสั่ง โยก ย้าย ผู้คัดค้านซึ่ง เป็น กรรมการ ลูกจ้าง จาก ตำแหน่ง พนักงาน ฝ่าย ผลิต รายวัน ไป เป็นพนักงาน เสมียน ใน ตำแหน่ง เสมียน ผู้จัดการ ทั่วไป แต่ ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ผู้ร้อง มี หนังสือ เตือน ผู้คัดค้าน แล้ว 2 ครั้งผู้คัดค้าน ยัง ไม่ยอม ไป ทำงาน ใน ตำแหน่ง หน้าที่ ใหม่ อันเป็น การ ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ และ คำสั่ง ของ ผู้ร้อง และ เป็น การกระทำ ผิด ซ้ำ คำเตือนขอให้ ศาล มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ผู้ร้อง เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า การกระทำ ของ ผู้ร้อง เป็น การ ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ที่ ผู้คัดค้าน ไม่ไป ปฏิบัติงาน ตามตำแหน่ง หน้าที่ ใหม่ ถือได้ว่า เป็น การ ฝ่าฝืน คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมายของ ผู้ร้อง ทั้ง ยัง เป็น การ ละทิ้ง หน้าที่ กรณี มีเหตุ สมควร อนุญาตให้ ผู้ร้อง เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน ได้ จึง มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ผู้ร้องเลิกจ้าง ผู้คัดค้าน ได้
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ที่ ผู้คัดค้าน อุทธรณ์ใน ข้อ ต่อไป ว่า สหภาพแรงงาน ที่ ผู้คัดค้าน เป็น สมาชิก อยู่ ได้ ยื่นข้อเรียกร้อง เมื่อ วันที่ 10 กันยายน 2537 ผู้ร้อง ออก หนังสือ เตือนผู้คัดค้าน ใน วันที่ 14 กันยายน 2537 ซึ่ง อยู่ ใน ระหว่าง เจรจา ต่อรองข้อพิพาท การ เตือน ของ ผู้ร้อง ต้องห้าม ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคแรก ถือว่า ผู้ร้อง มิได้ มี การ เตือนผู้คัดค้าน แต่อย่างใด นั้น เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคแรก บัญญัติ ห้าม มิให้ นายจ้าง โยก ย้ายหน้าที่ การงาน ลูกจ้าง ซึ่ง เกี่ยวข้อง กับ ข้อเรียกร้อง เฉพาะ กรณีเมื่อ มี การ แจ้ง ข้อเรียกร้อง และ ข้อเรียกร้อง นั้น ยัง อยู่ ใน ระหว่างการ เจรจา การ ไกล่เกลี่ย หรือ ชี้ขาด ข้อพิพาท แรงงาน เท่านั้นหาก โยก ย้าย ก่อน มี การ แจ้ง ข้อเรียกร้อง ก็ ไม่ต้องห้าม ดังนี้เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ โดย ศาลฎีกา ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ศาลแรงงานกลาง ฟัง มา ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงาน และ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสอง ว่า ผู้ร้อง นายจ้าง มี คำสั่งโยก ย้าย ผู้คัดค้าน ลูกจ้าง ไป ทำงาน ใน ตำแหน่ง ใหม่ ตั้งแต่ วันที่5 กันยายน 2537 ซึ่ง เป็น เวลา ก่อน ที่ สหภาพแรงงาน ผลิต ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ จะ ยื่น ข้อเรียกร้อง ต่อ ผู้ร้อง เมื่อ วันที่ 10 กันยายน2537 กรณี จึง เป็น การ โยก ย้าย ก่อน มี การ แจ้ง ข้อเรียกร้อง ไม่ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคแรกการ ที่ ผู้ร้อง มี หนังสือ เตือน ผู้คัดค้าน ใน วันที่ 14 กันยายน 2537ให้ ไป ทำงาน ใน ตำแหน่ง ใหม่ ซึ่ง แม้ จะ อยู่ ใน ระหว่าง การ เจรจา ข้อพิพาทก็ เป็น การ เตือน ถึง คำสั่ง ที่ โยก ย้าย ก่อน มี การ แจ้ง ข้อเรียกร้องจึง ไม่ต้องห้าม ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว อุทธรณ์ ข้อ นี้ ของ ผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share