คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3293/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520การที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520พ.ศ.2528ใช้บังคับมีผลเพียงทำให้จำเลยต้องเลิกกิจการเพื่อสะสางกิจการของจำเลยให้สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคลต่อไปเท่านั้นหามีผลทำให้ลูกจ้างของจำเลยสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปในตัวไม่การที่จำเลยจะเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยโดยจำเลยออกคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นรายเดือนแต่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีจึงไม่ถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเมื่อโจทก์ทำงานติดต่อกันมาเกิน120วันย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำจำเลยถูกยุบเลิกอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง หนึ่งร้อยสาม สำนวน ฟ้อง ใจความ ทำนอง เดียว กัน ว่าจำเลย ได้ จ้าง โจทก์ ทุกคน เป็น ลูกจ้าง รายวัน ชั่วคราว แต่ ได้ทำงาน ติดต่อ กัน เป็น เวลา เกินกว่า หนึ่งร้อยยี่สิบ วัน ต่อมา จำเลยได้ เลิกจ้าง โจทก์ เนื่องจาก จำเลย เลิก กิจการ โดย โจทก์ ไม่ ได้กระทำ ผิด และ จำเลย ไม่ ได้ บอกกล่าว ล่วงหน้า จำเลย ไม่ ยอม จ่ายค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ขอ ให้ บังคับ จำเลยจ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อม ดอกเบี้ย แก่โจทก์
จำเลย ทั้ง หนึ่งร้อยสาม สำนวน ให้การ ทำนอง เดียวกัน ว่า จำเลยได้ จ้าง โจทก์ ทุกคน เป็น ลูกจ้าง ชั่วคราว รายวัน มี กำหนด ระยะเวลาการจ้าง เป็น ปีๆ ไป โดย มี กำหนด ระยะเวลา สิ้นสุด สัญญา จ้าง ตามปี งบประมาณ เมื่อ มี พระราชกฤษฎีกา ยุบเลิก องค์การ เหมืองแร่ ดังกล่าวเมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2528 จึง ถือว่า ลูกจ้าง ชั่วคราว รายวัน ได้ทำงาน ใน ปี งบประมาณ 2529 ไม่ ถึง 120 วัน โจทก์ จึง ไม่ มี สิทธิได้ รับ ค่าชดเชย และ การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เมื่อ วันที่ 31ตุลาคม 2528 เป็น การ แจ้ง ให้ พนักงาน และ ลูกจ้าง หยุด ปฏิบัติ งานตาม ผล ของ กฎหมาย เนื่องจาก จำเลย ได้ ถูก ยุบเลิก โดย พระราชกฤษฎีกายกเลิก พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย การ จัดตั้ง องค์การ เหมืองแร่ พ.ศ.2520 พ.ศ. 2528ซึ่ง ได้ ประกาศ ใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2528จำเลย จึง ไม่ ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า โจทก์ จึง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับสินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ขอ ให้ พิพากษา ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อมทั้ง ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง หนึ่งร้อยสาม สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนด คดี แรงงาน วินิจฉัย ว่า ข้อ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่าการ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ (ทุกคน) ก็ เพราะ จำเลย ถูก ยุบเลิกโดย ผล ของ กฎหมาย ซึ่ง จำเลย ไม่ อาจ ทราบ ล่วงหน้า ได้ จึง ไม่ มีระยะเวลา ที่ จะ บอกกล่าว เลิกจ้าง ล่วงหน้า ได้ จำเลย จึง ไม่ ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ใน การ ที่ เลิกจ้าง โจทก์ นั้น พิเคราะห์ แล้วเห็นว่า จำเลย เป็น รัฐวิสาหกิจ ซึ่ง เป็น นิติบุคคล ที่ จัดตั้ง ขึ้นโดย พระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง องค์การ เหมืองแร่ พ.ศ. 2520 การ ที่ ได้ มีพระราชกฤษฎีกา ยกเลิก พระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง องค์การ เหมืองแร่ พ.ศ.2520 พ.ศ 2528 ใช้ บังคับ ก็ มี ผล เพียง ทำ ให้ จำเลย ต้อง เลิก กิจการเพื่อ สะสาง กิจการ ของ จำเลย ให้ สิ้นสภาพ จาก การ เป็น นิติบุคคลต่อไป เท่านั้น ดัง จะ เห็น ได้ จาก มาตรา 4 แห่ง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ให้ พึง ถือ ว่า จำเลย ยัง คง ตั้ง อยู่ ตราบ เท่า เวลา ที่จำเป็น เพื่อ การ ชำระ บัญชี หา มี ผล ทำ ให้ ลูกจ้าง ของ จำเลยสิ้นสภาพ จาก การ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ไป ใน ตัว ไม่ การ ที่ จำเลยจะ เลิกจ้าง ลูกจ้าง จึง ต้อง อยู่ ภาย ใต้ บังคับ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 โดย ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้าเช่นเดียว กัน
ข้อ ที่ จำเลย อุทธรณ์ อีก ว่า การ ที่ จำเลย ออก คำสั่ง บรรจุ โจทก์เป็น รายเดือน ทุก เดือน โดย จะ เลิกจ้าง เมื่อใด ก็ ได้ และ โจทก์ก็ ทราบ ความ ข้อ นี้ ดี ถือ ได้ ว่า เป็น การ จ้าง ที่ มี กำหนดระยะเวลา การจ้าง แน่นอน เป็น เดือน เป็น เดือน ไป โจทก์ จึง เป็นลูกจ้าง ชั่วคราว ที่ มี กำหนด ระยะเวลา การ จ้าง เป็น การ แน่นอนการ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2528 (ความจริงเลิกจ้าง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2528) จึง เป็น การ เลิกจ้าง ภายใน กำหนดระยะเวลา ของ เดือน ดังกล่าว ข้างต้น จำเลย จึง ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย นั้น พิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า แม้ โจทก์ จะ เป็น ลูกจ้าง ชั่วคราวของ จำเลย โดย จำเลย ออก คำสั่ง บรรจุ โจทก์ เป็น รายเดือน ก็ ตาม แต่โจทก์ ก็เป็น ลูกจ้าง จำเลย ติดต่อ กัน มา เป็น เวลา คนละ หลาย ปี จึง ไม่ ถือว่า เป็น การจ้าง ที่ มี กำหนด ระยะเวลา การ จ้าง ไว้ แน่นอน ส่วนที่ จำเลย มี คำสั่ง บรรจุ โจทก์ เป็น รายเดือน ทุก เดือน นั้น เป็นเพียง ระเบียบ ปฏิบัติ ภายใน ของ จำเลย เท่านั้น เมื่อ โจทก์ ทำงานติดต่อ กัน มา เกิน 120 วัน ก็ ย่อม มี สิทธิ เช่นเดียว กับ ลูกจ้างประจำ ตาม ข้อ 75 แห่ง ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 เมื่อ กรณี เป็น การ เลิกจ้าง เพราะ จำเลยถูก ยุบเลิก อัน เป็น เหตุ ให้ จำเลย ต้อง เลิกจ้าง โดย ที่ โจทก์ไม่ ได้ กระทำ ความผิด จำเลย จึง ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ตาม ข้อ 46 แห่งประกาศ กระทรวง มหาดไทย ดังกล่าว ข้างต้น
พิพากษา ยืน แต่ ให้ จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า แก่ นาย สายใจ หารชุมเศษ โจทก์ ที่ 66 รวม เป็น เงิน 15,609.30 บาท

Share