แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าจำเลยที่4ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกก็แต่เฉพาะในกรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เท่านั้นดังนั้นแม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่3ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่2และเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ครอบครองและใช้รถยนต์เพราะได้ให้จำเลยที่2เช่าซื้อไปแต่จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่2เมื่อจำเลยที่3ยังต้องรับผิดดังกล่าวจำเลยที่4จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ด้วย. ตามกรมธรรม์ประกันภัยมิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าผู้รับประกันภัยจะรับผิดแต่เฉพาะค่าซ่อมรถหรือค่าเสื่อมราคาเท่านั้นฉะนั้นเมื่อจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้ค่าเช่ารถและค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์จำเลยที่4ก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย. (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2529).
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ได้ ขับ รถยนต์ที่ เอา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ที่ 4 โดย ประมาท เลินเล่อ พุ่งชนท้าย รถ โจทก์ เป็น เหตุ ให้ รถ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย จำเลยที่ 3 เป็น หุ้นส่วน ประเภท ไม่ จำกัด ความ รับผิด และ เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 2 ขอ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 240,710.23 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ ใช่ เจ้าของ และ ผู้ ครอบครองรถยนต์ ตาม ฟ้อง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 มิใช่ คน ขับรถ ดังโจทก์ อ้าง และ มิใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 เหตุ ที่ เกิดขึ้นเพราะ ความ ประมาท เลินเล่อ ของ คน ขับรถ โจทก์ โจทก์ มิได้ เสียหายดัง ฟ้อง จำเลย ที่ 4 รับ ประกันภัย ค้ำจุน จาก จำเลย ที่ 3 โดย จำกัดความ รับผิด แต่ เฉพาะ ค่า ซ่อมแซม ความ เสียหาย ที่ เกิดจาก การ ขนใน วงเงิน ไม่เกิน 100,000 บาท หา ได้ คุ้มครอง ถึง ความ เสียหาย ที่ขาด ประโยชน์ หรือ ขาด รายได้ จาก การ ใช้ รถ ไม่ จำเลย ที่ 4 จะ รับผิดชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ บุคคล ภายนอก ก็ ต่อเมื่อ เป็น กรณี ที่ ผู้เอา ประกันภัย เป็น ผู้ ครอบครอง ใช้ รถ ที่ เอา ประกันภัย และ ผู้เอา ประกันภัย จะ ต้อง รับผิด ชอบ ต่อ บุคคล ภายนอก ใน เหตุ ที่รถ ชน กัน นั้น โดย ตรง คดี นี้ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น ผู้ ครอบครองรถ ที่ เอา ประกันภัย ไม่ มี นิติสัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 4
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่า สินไหม ทดแทนแก่ โจทก์ รวม เป็น เงิน 71,630.23 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ เป็น ยุติ ว่า จำเลย ที่2 เป็น ห้างหุ้นส่วน จำกัด โดย มี จำเลย ที่ 3 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ จำเลย ที่ 3 เป็น เจ้าของ รถยนต์ บรรทุก หมายเลข ทะเบียน น.ฐ.01975แต่ จำเลย ที่ 3 ได้ ให้ จำเลย ที่ 2 เช่าซื้อ ไป และ จำเลย ที่ 3ได้ เอา รถยนต์ คัน ดังกล่าว นั้น ประกันภัย ค้ำจุน ไว้ กับ จำเลย ที่4 ใน วัน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ได้ขับ รถ คัน ดังกล่าว ไป ใน ทาง การ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ด้วยความ ประมาท เลินเล่อ ชน ท้าย รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร2 น. – 0837 ซึ่ง โจทก์ เช่า จาก บริษัท ไทยฮีโน่ มอเตอร์เซลส์ จำกัดมา ใช้ ใน กิจการ ของ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย และ ทำ ให้ ของ ที่โจทก์ รับจ้าง บรรทุก มา นั้น เสียหาย อีก ด้วย ซึ่ง โจทก์ ได้ ชดใช้ค่าเสียหาย สำหรับ ของ ที่ เสียหาย นั้น ไป แล้ว
ปัญหา วินิจฉัย ข้อ แรก มี ว่า จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ผู้ รับประกันภัย ค้ำจุน จะ ต้อง รับผิด ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ให้ แก่ โจทก์หรือไม่ โดย จำเลย ที่ 4 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 4 รับ ประกันภัย ค้ำจุนรถยนต์ หมายเลข ทะเบียน น.ฐ.01975 ไว้ จาก จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 4จะ รับผิด ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ก็ ต่อเมื่อ จำเลย ที่ 3 จะ ต้องรับผิด แต่ ขณะ เกิดเหตุ รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย ไว้ ได้ โอน ไป อยู่ใน ความ ครอบครอง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 4 จึง ไม่ ต้อง รับผิดเพราะ จำเลย ที่ 4 ไม่ มี หน้าที่ ใช้ ค่าเสียหาย แทน จำเลย ที่ 2พิเคราะห์ แล้ว ปรากฏ ว่า หลังจาก จำเลย ที่ 3 ได้ ให้ จำเลย ที่ 2เช่าซื้อ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน น.ฐ.01975 ไป แล้ว ต่อมา เมื่อสัญญา ประกันภัย หมด อายุ จำเลย ที่ 3 ก็ ได้ เอา รถยนต์ คัน ดัวกล่าวประกัน วินาศภัย และ ประกันภัย ค้ำจุน ไว้ กับ จำเลย ที่ 4 อีก ดังปรากฏ ตาม กรมธรรม์ ประกันภัย เอกสาร หมาย ล.1 ซึ่ง ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย ล.1 นี้ ใน หมวด ที่ 2 ว่า ด้วย สัญญา คุ้มครองความ รับผิด ต่อ บุคคล ภายนอก ข้อ 2.3 ได้ ระบุ ไว้ ว่า ‘บริษัท(จำเลย ที่ 4) จะ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ใน นาม ของ ผู้เอา ประกันภัยซึ่ง ผู้เอา ประกันภัย ต้อง รับผิด ตาม กฎหมาย เพื่อ ความ เสียหายต่อ ทรัพย์สิน ของ บุคคล ภายนอก เนื่องจาก อุบัติเหตุ อัน เกิดจากการ ใช้ รถยนต์ ใน ระหว่าง ระยะเวลา ประกันภัย…….’ ใน ปัญหา ที่ว่า จำเลย ที่ 4 จะ ต้อง รับผิด ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ให้ แก่ โจทก์หรือไม่ นี้ ศาลฎีกา โดย มติ ที่ ประชุมใหญ่ เห็นว่า ตาม สัญญา ข้อ 2.3ดังกล่าว แล้ว นั้น ได้ กำหนด ไว้ ว่า จำเลย ที่ 4 ใน ฐานะ ผู้ รับประกันภัย จะ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ใน นาม ของ ผู้เอา ประกันภัย เพื่อความ เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน ของ บุคคล ภายนอก ใน เมื่อ ผู้เอา ประกันภัยจะ ต้อง รับผิด ตาม กฎหมาย ซึ่ง ตาม สัญญา ดังกล่าว นี้ กำหนด ไว้แต่ เพียง ว่า เมื่อ ผู้เอา ประกันภัย จะ ต้อง รับผิด ตาม กฎหมาย แล้วจำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ผู้ รับ ประกันภัย จะ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน เพื่อความ เสียหาย นั้น ใน นาม ของ ผู้เอา ประกันภัย ตาม ข้อ สัญญา ดังกล่าวมิได้ กำหนด เงื่อนไข ไว้ เป็น การ เฉพาะ เจาะจง ว่า จำเลย ที่ 4 จะ ใช้ค่า สินไหม ทดแทน ให้ แก่ บุคคล ภายนอก ก็ แต่ เฉพาะ ใน กรณี ที่ผู้เอา ประกันภัย เป็น ผู้ ครอบครอง และ ใช้ รถ ที่ เอา ประกันภัยเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้ ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 3 จะ ไม่ ต้อง รับผิดใน ฐานะ ผู้ ครอบครอง ใช้ รถ ก็ ตาม เพราะ ได้ ให้ จำเลย ที่ 2 เช่าซื้อไป แล้ว แต่ คดี นี้ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2ได้ กระทำ ละเมิด ใน ทาง การ ที่ จ้าง เป็น เหตุ ให้ โจทก์ ได้ รับความ เสียหาย ขึ้น เช่นนี้ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการของ จำเลย ที่ 2 และ เป็น หุ้นส่วน ประเภท ไม่ จำกัด ความ รับผิด จะต้อง รับผิด ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ให้ แก่ โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070, 1077 (2) ประกอบ ด้วย มาตรา1080 เมื่อ จำเลย ที่ 3 ยัง จะ ต้อง รับผิด ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ให้แก่ โจทก์ ตาม บทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ดังกล่าว แล้ว จำเลย ที่ 4ซึ่ง เป็น ผู้รับ ประกันภัย ค้ำจุน จึง ต้อง รับผิด ใช้ ค่า สินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน กรมธรรม์ ประกันภัย ข้อ2.3 ฎีกา จำเลย ที่ 4 ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น
ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ต่อไป ก็ คือ จำเลย ที่ 4 จะ ต้อง รับผิด ใช้ค่า สินไหม ทดแทน เพื่อ ความ เสียหาย ใน การ ที่ โจทก์ ต้อง เสียค่า เช่า รถ และ ขาด ประโยชน์ ใน ระหว่าง ที่ ทำ การ ซ่อม รถ นั้นหรือไม่ โดย จำเลย ที่ 4 ฎีกา ว่า ตาม กรมธรรม์ ประกันภัย ข้อ 2.3จำเลย ที่ 4 รับผิด แต่ เฉพาะ ค่าซ่อม หรือ ค่า เสื่อมสภาพ ของ รถยนต์ซึ่ง เป็น ตัวทรัพย์ เท่านั้น ไม่ ต้อง รับผิด ใน ค่าเช่า และ ค่าขาดประโยชน์ แต่ อย่างใด พิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า ตาม สัญญา ข้อ 2.3ซึ่ง ศาลฎีกา ยกขึ้น กล่าว แล้ว ข้างต้น นั้น ได้ กำหนด ไว้ แต่ เพียงว่า เมื่อ ผู้ เอา ประกันภัย จะ ต้อง รับผิด ใช้ ค่า สินไหม ทดแทนเพื่อ ความ เสียหาย ให้ แก่ บุคคล ภายนอก จำเลย ที่ 4 จะ ใช้ ค่า สินไหมทดแทน ให้ ใน นาม ของ ผู้เอา ประกันภัย ซึ่ง ตาม สัญญา ข้อ นี้ มิได้ระบุ เป็น ข้อ ยกเว้น ไว้ ว่า ผู้ รับ ประกันภัย จะ รับผิด แต่ เฉพาะค่า ซ่อม รถ หรือ ค่า เสื่อมราคา เท่านั้น จะ ไม่ รับผิด ใน ค่าขาดประโยชน์ หรือ ค่าเสียหาย อื่น ใด อีก ฉะนั้น เมื่อ จำเลย ที่ 3ซึ่ง เป็น ผู้ เอา ประกันภัย ต้อง รับผิด ใช้ ค่าเช่า และ ค่าขาดประโยชน์ ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ผู้รับ ประกันภัยค้ำจุน ก็ ต้อง ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน สำหรับ ความ เสียหาย ดังกล่าว ให้แก่ โจทก์ ด้วย ฎีกา จำเลย ที่ 4 ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น อีก เช่นกัน
พิพากษา ยืน