คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยที่3ทำหนังสือรับรองจะชดใช้ความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่1ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายตอนที่จำเลยที่1เข้าทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งคนการต่อมาโจทก์ให้จำเลยที่1ไปทำงานในตำแหน่งพนักงานเก็บเงินในห้องอาหารและได้ให้จำเลยที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1โดยมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันเพิ่มเติมจากหนังสือรับรองของจำเลยที่3และไม่ปรากฏในทางปฏิบัติของโจทก์ว่าลูกจ้างโจทก์ต้องมีหนังสือรับรองตอนเข้าทำงานและต้องทำหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งแต่อย่างใดดังนี้แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่3ต้องผูกพันตามหนังสือรับรองโดยให้จำเลยที่4เข้าเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1แทนจำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีจำเลยที่1ยักยอกเงินจากห้องอาหารโจทก์. ฎีกาในปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 เป็น ลูกจ้าง ของ บริษัท โจทก์ จำเลยที่ 1 ทุจริต ยักยอก เงิน รายได้ ส่วน หนึ่ง ของ บริษัท โจทก์ จาก การขาย อาหาร เครื่องดื่ม และ ค่าบริการ ห้องอาหาร โดย นำ เอา สำเนาใบเสร็จรับเงิน บางฉบับ พร้อมกับ เงินสด บางส่วน ออก ไป เป็น ประโยชน์ส่วนตน ส่วน จำเลย ที่ 2 ซึ่ง มี หน้าที่ ตรวจสอบ ใบเสร็จรับเงิน ได้ประมาท ละเลย ต่อหน้าที่ อย่างร้ายแรง เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1 สามารถทำ การ ทุจริต ได้ จำเลย ทั้ง สอง จึง ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ บริษัท โจทก์ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 เป็น ผู้ ค้ำประกัน การทำงาน ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 5 เป็น ผู้ ค้ำประกัน การ ทำงาน ของจำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย ขอ ให้ จำเลย ชำระ เงิน ดังกล่าว แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า เป็น พนักงาน ฝ่าย บัญชี ของ บริษัท โจทก์ แต่ไม่ มี หน้าที่ ตรวจนับ จำนวนเงิน ตาม ใบเสร็จ จำเลย ที่ 2 ไม่ ได้ประมาท เลินเล่อ ใน การ ปฏิบัติ หน้าที่ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ทุจริตยักยอก ทรัพย์ ของ บริษัท โจทก์ ไม่ ใช่ เหตุ โดยตรง จาก การ กระทำ ของจำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า ได้ รับรอง จำเลย ที่ 1 เข้า ทำงาน กับ โจทก์ใน ตำแหน่ง คนการ ภารโรง แต่ โจทก์ เปลี่ยน ตำแหน่ง ให้ จำเลย ที่ 1เป็น พนักงาน เก็บเงิน โดย ไม่ บอก ให้ จำเลย ที่ 3 ทราบ โจทก์ มีระเบียบ การ ค้ำประกัน คือ ตำแหน่ง พนักงาน การเงิน ให้ ผู้ ค้ำประกันไป ลง ลายมือชื่อ ต่อหน้า เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ เป็น ประจำ ทุก ปีจำเลย ที่ 1 ใน ตำแหน่ง พนักงาน การเงิน มี จำเลย ที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน อยู่แล้ว จำเลย ที่ 3 จึง หลุดพ้น จากการ เป็น ผู้รับรอง หรือ ผู้ ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 4 ให้การ ว่า เป็น ผู้ ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 ใน วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท แต่ จำเลย ที่ 4 ควร รับผิด ใน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ทำงาน ผิดพลาด โดย มิได้ มี เจตนา ทุจริต
จำเลย ที่ 5 ขาดนัด ยื่น คำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง จำเลย ที่ 3 และ จำเลย ที่5 ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 277,021.40 บาท แก่ โจทก์ โดย ให้ จำเลยที่ 4 ร่วม รับผิด ชำระ หนี้ ดังกล่าว กับ จำเลย ที่ 1 ต่อ โจทก์ จำนวน10,000 บาท
จำเลย ที่ 2 ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 3
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ใน ปัญหา ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า หนังสือ รับรองค้ำประกัน ตาม เอกสาร หมาย จ.14 ไม่ ได้ จำกัด ว่า เป็น การ รับรองค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 เฉพาะ ใน ตำแหน่ง นักการ ภารโรง และ ไม่ ได้ มีกำหนด เวลา แม้ โจทก์ จะ ได้ ออก ระเบียบ การ ค้ำประกัน พนักงาน การเงินขึ้น ไว้ โดยเฉพาะ และ จำเลย ที่ 1 ได้ มี จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้ค้ำประกัน แล้ว ก็ เป็น การ ค้ำประกัน เพิ่มเติม ไม่ มี การ ยกเลิกหนังสือ รับรอง ค้ำประกัน ของ จำเลย ที่ 3 ตาม เอกสาร หมาย จ.14 และจำเลย ที่ 3 ก็ มิได้ บอก เลิก การ รับรอง ค้ำประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 จำเลย ที่ 3 จึง ต้อง รับผิด ต่อโจทก์ อยู่ ศาลฎีกา เห็นว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ทำ หนังสือ รับรอง จะ ชดใช้ความเสียหาย กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ ให้ ทรัพย์สิน ของ โจทก์ เสียหายตาม เอกสาร หมาย จ.14 ให้ โจทก์ ไว้ เมื่อ ตอน ที่ จำเลย ที่ 1 เข้าทำงาน กับ โรงแรม ของ โจทก์ ปรากฏ ตาม ใบสมัคร เข้าทำงาน ของ จำเลย ที่1 เอกสาร หมาย ล.4 ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ บรรจุ เข้า ฝึกหัด ทดลอง ทำงานใน ตำแหน่ง คนการ ก่อน ใน วันเดียว กับ ที่ จำเลย ที่ 3 ทำ หนังสือรับรอง เอกสาร หมาย จ.14 การ ทำ หนังสือ รับรอง ของ จำเลย ที่ 3 จึงเห็น ได้ ว่า เป็น การ รับรอง เนื่องจาก โจทก์ รับ จำเลย ที่ 1 เข้าทำงาน ใน ตำแหน่ง คนการ นั่นเอง แม้ หนังสือ รับรอง ดังกล่าว จะ ไม่ ได้จำกัด ว่า เป็น การ ค้ำประกัน จำเลย เฉพาะ ใน ตำแหน่ง ดังกล่าว และไม่ ได้ มี กำหนด เวลา ดัง โจทก์ ฎีกา ก็ จริง แต่ ปรากฏ ว่า ต่อมาโจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 ไป ทำงาน ใน ตำแหน่ง พนักงาน เก็บ เงิน ในห้อง อาหาร และ ได้ ให้ จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้ ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1ใน วงเงิน ไม่เกิน 10,000 บาท ตาม เอกสาร หมาย จ.15 ทั้งนี้ เป็น ไปตาม มติ ของ กรรมการ บริษัท โจทก์ ซึ่ง กำหนด ให้ พนักงาน การเงินประจำ ห้องอาหาร ต้อง มี ผู้ ค้ำประกัน ภายใน วงเงิน คนละ 10,000 บาทและ ต้อง มี การ ค้ำประกัน ปี ต่อปี การ ที่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 4ทำ สัญญา ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 นี้ ย่อม เห็น ได้ ว่า เป็น การค้ำประกัน เพราะ จำเลย ที่ 1 เปลี่ยน ตำแหน่ง จาก คนการ มา เป็น พนักงานการเงิน นั่นเอง หนังสือ ค้ำประกัน ดังกล่าว มิได้ ระบุ ว่า เป็น การค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 เพิ่มเติม จาก หนังสือ รับรอง ที่ จำเลย ที่ 3ทำ ไว้ ให้ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ.14 ทั้ง ไม่ ปรากฏ ว่า ใน ทางปฏิบัติ ของ โจทก์ ลูกจ้าง ของ โจทก์ ต้อง มี หนังสือ รับรอง ตอน เข้าทำงาน และ ต้อง ทำ หนังสือ ค้ำประกัน เพิ่มเติม เมื่อ เปลี่ยน ตำแหน่งตรงกันข้าม ฝ่าย จำเลย ที่ 3 อ้าง จำเลย ที่ 1 มา เบิกความ ว่า เมื่อจำเลย ที่ 1 ได้ เลื่อน ตำแหน่ง จาก คนการ เป็น พนักงาน การเงิน ทางโจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 ไป หา คน มา ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 ไป หา จำเลยที่ 3 เพื่อ จะ ให้ เป็น ผู้ ค้ำประกัน แต่ จำเลย ที่ 3 ไป ต่างประเทศจึง ได้ ขอ ให้ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง อยู่ บ้านเดียว กับ จำเลย ที่ 3 ไปทำ สัญญา ค้ำประกัน ให้ แสดงว่า โจทก์ ไม่ ได้ กำหนด ว่า ผู้ ค้ำประกันจะ ต้อง เป็น ผู้อื่น นอกจาก จำเลย ที่ 3 ซึ่ง หาก ว่า จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ ไป ต่างประเทศ และ จำเลย ที่ 1 นำ จำเลย ที่ 3 ไป เป็น ผู้ค้ำประกัน ได้ ก็ ย่อม เห็น ได้ ชัด ว่า โจทก์ ยอม ให้ จำเลย ที่ 3หลุด พ้น จาก ความ รับผิด ตาม หนังสือ รับรอง มา รับ ผิด ใน ฐานะผู้ค้ำประกัน แทน การ ปฏิบัติ ระหว่าง โจทก์ จำเลย ที่ 1 ที่ 3 และ ที่4 ดังกล่าว แสดง ให้ เห็น ว่า โจทก์ ไม่ ประสงค์ ให้ จำเลย ที่ 3 ต้องผูกพัน ตาม หนังสือ เอกสาร หมาย จ.14 ต่อไป อีก โดย ให้ จำเลย ที่ 4เข้า เป็น ผู้ ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 แทน จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ ต้องรับผิด ต่อ โจทก์
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ มี ส่วน ทำ ให้ เกิดความเสียหาย ด้วย จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ ต้อง รับผิด เต็ม ตาม จำนวน ที่โจทก์ ฟ้อง ตาม บทบัญญัติ ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442และ 223 และ จำเลย ที่ 2 มิได้ รู้เห็น หรือ ร่วมมือ กับ การ ทุจริตของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 2 มิได้ กระทำ โดย ผิดกฎหมาย ไม่ ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ ต้อง รับผิดตาม ฟ้อง โจทก์ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ปัญหา ดังกล่าว นี้ จำเลย ที่ 2จึง ไม่ ต้อง รับผิด ตาม ฟ้อง โจทก์ นั้น ศาลฎีกา เห็น ว่า ปัญหาดังกล่าว นี้ จำเลย ที่ 2 หา ได้ ยกขึ้น ว่า มา ใน ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ไม่ ศาลฎีกา จึง ไม่ อาจ วินิจฉัย ให้ ได้
พิพากษา ยืน.

Share