คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เจ้าของร่วมในที่ดินแปลงหนึ่งนั้น ตามกฎหมายในเบื้องต้นก็ต้องถือว่า ต่างคนต่างมีส่วนเป็นเจ้าของพัวพันกันอยู่
ฉะนั้นเมื่อเจ้าของร่วม ได้ตกลงกันกำหนดลงไปว่า ใครได้ตรงไหน ดังนี้ก็ย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้
เสร็จไป เพราะเป็นการตกลงเพื่อเป็นที่แน่นอนไม่โต้เถียงแย่งกันเอาส่วนนั้นส่วนนี้ ฉะนั้นข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 850 เมื่อไม่มีหลักญานเป็นหนังสือ ก็ย่อมจะฟ้องร้อง
บังคับคดี ไม่ได้.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยและนายเลาะ นายซัน ได้ร่วมทุนกันซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง โดยตกลงกำหนดส่วนของแต่ละคนไว้
และต่างได้ครอบครองตามส่วนของตน โจทก์จะขอแบ่งแยก นายเลาะนายซันไม่ขัดข้อง แต่จำเลยไม่ยอม กลับบุกรุกเข้า
มาในส่วนของโจทก์ ขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทในเขตแผนที่ว่าเป็นของโจทก์ ให้จำเลยแบ่งแยก
จำเลยทั้งสอง ให้การว่า ได้ตกลงแบ่งกันจริง แต่ส่วนของโจทก์ไม่ได้เป็นดังโจทก์ฟ้อง ในชั้นพิจารณาคู่ความรับกันว่า
โจทก์จำเลย นายเลาะและนายซันมีกรรมสิทธิร่วมกันในที่แปลงนี้ คงเถียงกันในข้อตกลงที่ว่า ตกลงกันอย่างไรเท่านั้น.
ศาลจังหวัดมีนบุรี สั่งงดสืบพยาน และพิพากษาว่า ข้อตกลงเช่นนี้ เป็นสัญญาประณีประนอมยอมความ เมื่อไม่ได้ทำหลัก
ฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดไว้ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรรณ์เห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่สัญญาประณีประนอมยอมความ เพราะมิใช่ประสงค์จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่
หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไป ฯลฯ พิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไป.
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า การที่โจทก์จำเลยนายเลาะและนายซันเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทนั้น ตามกฎหมายในเบื้องต้นก็
ต้องถือว่าต่างคนต่างมีส่วนเป็นเจ้าของพัวพันกันอยู่ แต่อาจแบ่งกันเองได้ตามป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๓๖๔ ซึ่งหมายความว่า
ถ้าไม่ได้ลงมือแบ่งกันโดยเด็ดขาด ก็ทำสัญญาผูกมัดกันไว้ก่อนได้ ศาลฎีกาได้พิเคราะห์ลักษณะและสภาพของสัญญาใน
คดีนี้แล้ว เห็นว่าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประณีประนอมยอมความต้องตามที่มาตรา ๘๕๐ บัญญัติไว้ เพราะเมื่อสิทธิของเจ้า
ของรวมมีส่วนพัวพันกันแล้ว การตกลงกำหนดลงไปว่า ใครได้ตรงไหน ก็ย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็น
ไป ฯลฯ
จึงพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ ให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น./

Share