แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
มารดาจำเลยที่1เคยกู้ยืมเงินโจทก์และมอบโฉนดที่ดินให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหลังจากมารดาจำเลยถึงแก่กรรมแล้วจำเลยที่1ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชำระหนี้แทนมารดาโดยจะโอนที่ดินให้โจทก์ทั้งแปลงต่อมาจำเลยที่1ได้ขอยืมโฉนดดังกล่าวจากโจทก์อ้างว่าจะนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอรับมรดกและเจ้าพนักงานที่ดินได้ขอโฉนดดังกล่าวไว้เพื่อประกาศรับมรดกให้ครบ60วันเสียก่อนซึ่งความจริงได้มีการประกาศเพื่อรับมรดกมาก่อนและครบกำหนดแล้วจำเลยที่1ที่2ได้จดทะเบียนถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินดังกล่าวและเจ้าพนักงานที่ดินก็คืนโฉนดให้ในวันนั้นเองแล้วจำเลยที่1ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองเฉพาะส่วนของตนกับบุคคลอื่นดังนี้แม้จำเลยที่1จะไม่ได้เอาโฉนดที่ดินมาเพื่อใช้รับมรดกอย่างเดียวตามที่บอกกล่าวไว้ในตอนขอรับเอาโฉนดที่ดินจากโจทก์แต่โจทก์ก็มอบให้ด้วยความสมัครใจของตนเองเพราะประสงค์จะให้จำเลยที่1รับมรดกที่ดินนั้นแล้วโอนให้โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้หากจำเลยทั้งสองจะได้หลอกลวงโจทก์ในเรื่องเจ้าพนักงานที่ดินยึดโฉนดที่ดินไว้เพื่อประกาศรับมรดก60วันจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองมีเจตนาจะไม่ส่งโฉนดที่ดินคืนโจทก์เท่านั้นหาใช่เป็นการหลอกลวงเพื่อเอาโฉนดที่ดินจากโจทก์ไม่การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา341. ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยได้กระทำการโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา350.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า มารดา จำเลย ที่ 1 เคย กู้ยืม เงิน โจทก์ และ ได้มอบ โฉนด ที่ดิน ให้ ยึดถือ ไว้ เป็น ประกัน หนี้ หลังจาก มารดา จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรม จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น บุตร ได้ ทำ หนังสือรับสภาพหนี้ ยอม ชำระหนี้ แทน มารดา โดย จะ โอน ที่ดิน แปลง ดังกล่าวให้ โจทก์ ทั้ง แปลง ต่อมา จำเลย ที่ 1 ได้ หลอกลวง โจทก์ ว่า จะขอยืม โฉนด ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ไป แสดง ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดินเพื่อ ขอ รับมรดก ซึ่ง โจทก์ ก็ นำ ไป ให้ วันนั้น เอง จำเลย ทั้ง สองได้ เข้า ไป ติดต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน แล้ว จำเลย ที่ 2 พูด หลอกลวงโจทก์ ว่า เจ้าพนักงาน ที่ดิน ขอ โฉนด ไว้ เพื่อ ประกาศ รับ มรดกและ ต้อง ยึด โฉนด ไว้ เพราะ ต้อง รอ ประกาศ เรื่อง รับ มรดก ให้ ครบ60 วัน เสียก่อน ซึ่ง เป็น ความเท็จ ความจริง จำเลย ทั้ง สอง ได้ ขอประกาศ รับ มรดก มา ก่อน และ ครบ กำหนด แล้ว จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ได้จด ทะเบียน ถือ กรรมสิทธิ์ ร่วม กัน แล้ว จำเลย ที่ 1 นำ ที่ดินดังกล่าว ไป จด ทะเบียน จำนอง เฉพาะ ส่วน ของ ตน กับ บุคคล อื่น เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย ทำ ให้ ทรัพย์สิน ที่ เป็น ประกันหนี้ และ ต้อง โอน ชำระหนี้ ให้ โจทก์ เสื่อม ค่า ลง ขอ ให้ ลงโทษจำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 349, 350, 83, 91
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มี มูล จึง ประทับ ฟ้องไว้ พิจารณา
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว ยกฟ้อง โจทก์ ทุก ข้อหา
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ปัญหา ข้อ แรก จำเลย ทั้ง สอง มีความผิด ฐาน ฉ้อโกง ตาม มาตรา 341 หรือไม่ นั้น เห็นว่า แม้ จำเลย ที่1 จะ ไม่ ได้ เอา โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว มา เพื่อ ใช้ รับ มรดกอย่างเดียว ตาม ที่ ได้ บอกกล่าว ไว้ ใน ตอน ขอ รับ เอา โฉนด ที่ดิน จากโจทก์ แต่ โจทก์ ก็ มอบ โฉนด ที่ดิน ให้ มา ด้วย ความ สมัครใจ ของ ตนเองเพราะ ประสงค์ จะ ให้ จำเลย ที่ 1 รับ มรดก ที่ดิน นั้น แล้ว โอน ให้โจทก์ ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ หาก จำเลย ทั้ง สอง จะ ได้ หลอกลวงโจทก์ ใน เรื่อง เจ้าพนักงาน ที่ดิน ยึด โฉนด ที่ดิน ไว้ เพื่อ ประกาศรับ มรดก 60 วัน จริง ก็ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ทั้ง สอง มี เจตนา จะไม่ ส่ง โฉนด ที่ดิน คืน โจทก์ เท่านั้น หา ใช่ เป็น การ หลอกลวง เพื่อเอา โฉนด ที่ดิน จาก โจทก์ ไม่ การ กระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่เข้า องค์ประกอบ เป็น ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ตาม มาตรา 341 ปัญหา ต่อไปมี ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ฐาน โกง เจ้าหนี้ ตาม มาตรา 350หรือไม่ นั้น เห็นว่า กรณี นี้ โจทก์ ไม่ ได้ บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลยได้ กระทำ การ ดังกล่าว โดย รู้ อยู่ ว่า โจทก์ ผู้ เป็น เจ้าหนี้ ได้ใช้ หรือ จะ ใช้ สิทธิ เรียกร้อง ทาง ศาล ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ หนี้ตาม หนังสือ รับสภาพ หนี้ จึง เป็น ฟ้อง ที่ ขาด องค์ประกอบ ความผิดฐาน โกง เจ้าหนี้ ตาม มาตรา 350 อยู่ แล้ว ไม่ มี ทาง จะ ลงโทษ จำเลย ในข้อหา ความผิด ดังกล่าว เช่นกัน
พิพากษา ยืน.