คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีและรายการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2และมีคำขอข้อต่อมาว่าหากไม่อาจเพิกถอนได้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน5,000,000บาทแต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองแล้วโจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวศาลไม่อาจพิพากษาตามฟ้องโจทก์ได้และชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่าการ ขายทอดตลาด ทรัพย์ ที่ ยึด ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 ขอให้ เพิกถอน การขายทอดตลาด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1236 เพิกถอน การ ขาย ทรัพย์สิน ดังกล่าวระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 และ เพิกถอน การ จดทะเบียน จำนองทรัพย์สิน ดังกล่าว ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 โดย ให้ โจทก์เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ฐานะ เป็น ผู้จำนอง ไว้ แก่ จำเลย ที่ 1 ตาม เดิมหาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาลแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง หาก กรณี ไม่อาจ เพิกถอน ได้ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน5,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
ศาลชั้นต้น ตรวจ คำฟ้อง แล้ว มี คำสั่ง ว่า คำฟ้อง โจทก์ สืบเนื่องมาจาก คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 69/2527 โดย การ ที่ โจทก์ อ้าง ใน คำฟ้องว่า การ ขายทอดตลาด ทรัพย์ ใน คดี ดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึง ชอบที่ โจทก์ จะ ต้อง ยื่น คำร้องคัดค้าน ใน คดี เดิม ตาม กฎหมาย ไม่มี เหตุที่ จะ ฟ้อง เป็น คดี นี้ ไม่รับ คำฟ้อง คืน ค่าขึ้นศาล ทั้งหมด
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จะ ต้องรับฟ้อง ของ โจทก์ ไว้ พิจารณา หรือไม่ เห็นว่า ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ข้อ 1โจทก์ ขอให้ ศาล พิพากษา เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างที่ จำเลย ที่ 1 ซื้อ จาก การ ขายทอดตลาด ตาม คำสั่งศาล เพิกถอนการ ซื้อ ขาย ทรัพย์สิน ดังกล่าว ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2กับ เพิกถอน การ จดทะเบียน จำนอง ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2โดย ให้ โจทก์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน ดังกล่าว ใน ฐานะ เป็นผู้จำนอง ไว้ แก่ จำเลย ที่ 1 ตาม เดิม หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ไปจดทะเบียน เพิกถอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของจำเลย ทั้ง สอง ส่วน ข้อ 2 ระบุ ว่า หาก มี กรณี ที่ ศาล ไม่อาจ เพิกถอนตาม ข้อ 1 เพื่อ ให้ โจทก์ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ได้ไม่ ว่า กรณี ใด ให้จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน5,000,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์ นั้นแสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ ประสงค์ จะ ให้ ศาล พิพากษา เพิกถอน การ ขายทอดตลาดและ รายการ จดทะเบียน ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ทั้งหมด เป็นลำดับ แรก หาก เพิกถอน ไม่ได้ จึง จะ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กันชดใช้ ราคา ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง เป็น ลำดับ ถัด มา ซึ่ง ใน การ ขอให้เพิกถอน การ ขายทอดตลาด นี้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ได้ บัญญัติ ไว้ เป็น การ เฉพาะ แล้ว ว่า ให้ ผู้ มีส่วนได้เสีย ยื่น คำขอ โดย ทำ เป็น คำร้อง ก่อน การ บังคับคดี ได้ เสร็จ ลงโจทก์ จึง ต้อง ดำเนินการ ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว จะ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอนการ ขายทอดตลาด เป็น คดี ใหม่ หาได้ไม่ แม้ คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ข้อ 2จะ ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เป็น เงิน 5,000,000 บาท ก็ ตาม เมื่อ ศาล ไม่อาจ พิพากษา ให้ เพิกถอนตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ข้อ 1 ได้ เช่นนี้ ศาลชั้นต้น ชอบ ที่ จะ ยกฟ้อง โจทก์เสีย ได้ ใน ชั้น ตรวจ คำฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2) ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตามคำสั่งศาล ชั้นต้น ไม่รับ คำฟ้อง และ คืน ค่าขึ้นศาล ให้ แก่ โจทก์ ทั้งหมดนั้น เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษายก คำสั่งศาล ชั้นต้น และ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ โดยให้ยก ฟ้องโจทก์

Share