แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันขอรับรองว่าภ. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยหากปฏิบัติงานทำให้บริษัทเสียหายยักยอกทุจริตเงินของบริษัทบริษัทจะดำเนินการตามกฎหมายทันทีโดย ภ. ลงชื่อในฐานะผู้สมัครและจำเลยลงชื่อในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นกรณีที่จำเลยได้ค้ำประกันความเสียหายที่เกิดจากการทำงานของ ภ. แล้วแม้จะไม่มีข้อความว่าจำเลยยอมรับผิดต่อบริษัทเพื่อชำระหนี้เมื่อ ภ. ไม่ชำระหนี้ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 669,396 บาทแก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ ให้ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกันชำระ แทน กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 615,114 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เป็น เพียง หนังสือ ที่ จำเลย ที่ 2 รับรอง ความประพฤติ ของ จำเลย ที่ 1 เท่านั้น มิใช่ สัญญาค้ำประกัน ความเสียหายขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 615,114 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จน ถึงวันฟ้อง เป็น เงิน 54,282 บาท รวมเป็น เงิน 669,396 บาท และ ชำระดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 615,114 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คดี สำหรับ จำเลย ที่ 2 ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 2 และ คู่ความ ไม่ฎีกา โต้แย้ง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็นลูกจ้าง ทำ หน้าที่ เสมียน ฝ่าย การเงิน ของ โจทก์ ได้รับ เงิน ค่า โดยสารจาก พนักงานเก็บเงิน ค่า โดยสาร รถยนต์ ประจำทาง ของ โจทก์ แล้ว ไม่นำ เงินส่งมอบ โจทก์ ตาม หน้าที่ ทำให้ เงิน ค่า โดยสาร ของ โจทก์ ขาด หาย ไป จำนวนทั้งสิ้น 615,114 บาท ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ชดใช้ คืน โจทก์จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ ใน เอกสาร หมาย จ. 3 ช่อง ผู้ค้ำประกันขณะที่ จำเลย ที่ 1 สมัคร เข้า ทำงาน กับ โจทก์ และ ใน ช่อง ผู้ สมัครมี ลายมือชื่อ จำเลย ที่ 1 ปรากฏ อยู่ คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 2 จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลย ที่ 1 หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ระบุ ว่า”หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ” และ มี ข้อความ ต่อมา ว่า “ข้าพเจ้านาย เอนก สงขกุล ขอรับ รอง ว่า นางสาว ภาวนา สงขกุล ซึ่ง สมัคร เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่ง เสมียน ฝ่าย การเงิน ของ บริษัท เพชรพิจิตรยานยนต์ จำกัด เป็น ผู้ มี ความประพฤติ เรียบร้อย หาก ไม่ปฏิบัติ งาน ให้ เป็น ไปตาม ระเบียบ ของ ทาง บริษัท ฯ ทำ ทรัพย์สิน ของ ทาง บริษัท ฯ เสียหาย ยักยอกหรือ ทุจริต เงิน ของ ทาง บริษัท ฯ หาก หนี ไป หรือ กระทำการ อื่น ๆ ที่นำ ความ เสื่อมเสีย ชื่อเสียง มา สู่ บริษัท ฯ ทาง บริษัท ฯ จะ ดำเนินการตาม กฎหมาย ทันที
ข้าพเจ้า ได้ อ่าน ข้อความ ดังกล่าว ข้างต้น และ รู้ ระเบียบ ดี แล้วจึง ลงลายมือชื่อ ไว้ เป็น หลักฐาน
ลงชื่อ ภาวนา สงขกุล ผู้ สมัคร
ลงชื่อ เอนก สงขกุล ผู้ค้ำประกัน ฯลฯ “เห็นว่า ใน เอกสาร หมาย จ. 3 ใช้ ถ้อยคำ แสดง ว่า เป็น หนังสือ สัญญาค้ำประกัน และ ข้อความ ต่อมา ก็ ระบุ ใน รายละเอียด ให้ เป็น ที่ เข้าใจได้ว่า จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ที่ ลงชื่อ ไว้ ใน เอกสาร ดังกล่าวขอรับ รอง การ เข้า มา ทำงาน ของ จำเลย ที่ 1 ใน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ยักยอกหรือ ทุจริต เงิน ของ โจทก์ ให้ โจทก์ ดำเนินการ ตาม กฎหมาย แก่ จำเลย ที่ 1และ จำเลย ที่ 2 ได้ ทันที ดังนี้ เป็น กรณี ที่ จำเลย ที่ 2 ได้ ค้ำประกันความเสียหาย ที่ จะ เกิดจาก การ ทำงาน ของ จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2ทำ หลักฐาน การ ค้ำประกัน เป็น หนังสือ ให้ ไว้ แก่ โจทก์ แม้ จะ ไม่มี ข้อความใน เอกสาร หมาย จ. 3 ระบุ ว่า จำเลย ที่ 2 ยอม ผูกพัน ตน รับผิด ต่อ โจทก์เพื่อ ชำระหนี้ เมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ หนี้ก็ ไม่ทำ ให้ ความรับผิด ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ของ จำเลย ที่ 2 ที่ มี อยู่เปลี่ยนแปลง ไป ทั้งนี้ เพราะ เมื่อจำเลย ที่ 2 ยินยอม ผูกพัน ตน รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน แล้วความรับผิด จะ มี ขึ้น ตอน ไหน เพียงใด ย่อม เป็น ไป ตาม กฎหมาย ไม่จำต้องระบุ ถึง ความรับผิด ดังกล่าว ซ้ำ อีก ถึง ได้ ใช้ คำ ว่า “ผู้ค้ำประกัน “อันเป็น ถ้อยคำ ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3ลักษณะ 11 ว่าด้วย ค้ำประกัน จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่าจำเลย ที่ 2 ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ถ้า จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ เงิน จำนวน 669,396บาท แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ชำระ เงิน จำนวนดังกล่าว แก่ โจทก์ แทน และ ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ชำระดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 615,114 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2