คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยประกอบอาชีพตัวแทนเดินเรือของบริษัทในต่างประเทศซึ่งไม่มีสาขาอยู่ในประเทศไทยและเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขนส่งเมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศมาถึงท่าเรือ เกาะสีชังจังหวัดชลบุรีจำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจบนเรือแจ้งเวลาเรือเข้าให้บริษัทผู้รับตราส่งทราบและให้นำใบตราส่งมาแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลยสั่งให้นายเรือปล่อยสินค้าและวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการใช้บริการทางท่าเรือเมื่อเรือสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะ สีชัง จำเลยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท จ. ขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าสู่เรือฉลอมเพื่อส่งให้แก่บริษัทผู้รับตราส่งที่ท่าเรือกรุงเทพตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและบริษัท จ. ได้ทำรายงานสินค้าขาดเกินมอบให้แก่จำเลยตามพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นจากเรือสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งและเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งและเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนส่งทางทะเลในขณะเกิดมูลคดีนี้เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยจำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้รับ ประกันภัย การ ขนส่ง สินค้า เยื่อกระดาษจำนวน 7,296 มัด หรือ 912 หน่วย (1 หน่วย มี 8 มัด ) หนัก1,456.155 เมตริกตัน ของ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้ซื้อ โดย มี เงื่อนไข ว่า หาก สินค้า ดังกล่าว ซึ่ง ขนส่ง จาก เมืองท่าซิทก้า ประเทศ สหรัฐอเมริกา ไป จน ถึง จังหวัด อ่างทอง ได้รับ ความเสียหาย หรือ สูญหาย อย่างหนึ่ง อย่างใด โจทก์ จะ ต้อง ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ใน วงเงิน 46,122,332บาท สินค้า ดังกล่าว บริษัท คอร์มอแร้นท์ บัลค์ แครี่เออร์ส จำกัด เป็น ผู้ขนส่ง มา โดย เรือ ชิโรเกน และ เดินทาง มา ถึง ท่าเรือ เกาะ สีชัง จังหวัด ชลบุรี เมื่อ วันที่ 13 เมษายน 2533 จำเลย ซึ่งเป็น ผู้ขนส่ง ร่วม จึง ได้ว่า จ้าง ผู้ขนถ่าย มา ทำการ ขนถ่าย สินค้า ขึ้น จากเรือ ชิโรเกน เพื่อ ส่งมอบ ให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด โดย เริ่ม ทำการ ขนถ่าย เมื่อ วันที่ 14 เมษายน 2533 เสร็จสิ้น วันที่16 เมษายน 2533 ปรากฏว่า สินค้า ที่ ส่งมอบ ขาด ไป 63 มัด คิดเป็น เงิน 398,260.27 บาท โจทก์ ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ได้ ชดใช้ค่าเสียหาย เป็น เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ไป เมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2533 จึง รับช่วงสิทธิ ของ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด เรียกร้อง เอา แก่ จำเลย ซึ่ง เมื่อ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ โจทก์ จ่ายเงิน จน ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน20,294.96 บาท รวมเป็น เงิน 418,555.23 บาท ขอให้ บังคับจำเลย ชดใช้ เงิน จำนวน 418,555.23 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 398,260.27 บาทนับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ทำ หน้าที่ จัดการ หรือ เป็นผู้ขนถ่าย สินค้า ออก จากเรือ ชิโรเกน บริษัท ไทยเรยอน จำกัด หรือ ตัวแทน เป็น ผู้ว่าจ้าง ผู้ขนถ่าย สินค้า ออกจาก เรือ ชิโรเกน ลง เรือฉลอม และ เป็น ผู้ว่าจ้าง เรือฉลอม ให้ บรรทุก สินค้าไป ส่ง ให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด เอง จำเลย เป็น เพียง ตัวแทน บริษัท คอร์มอแร้นท์ บัลค์ แครี่เออร์ส จำกัด ผู้ขนส่ง ทำ หน้าที่ ให้ บริการ แก่ เรือ นาย เรือ ลูกเรือ และ รับจ้าง ทำการ งานตาม ที่ ผู้ขนส่ง ดังกล่าว มอบหมาย ให้ กระทำ แทน จำเลย จึง ไม่ได้เป็น ผู้ ร่วม ขนส่ง สินค้า ทางทะเล กรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้ ลงลายมือชื่อโจทก์ ผู้รับประกันภัย และ ใน วัน ทำ สัญญาประกันภัย บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ยัง ไม่มี ส่วนได้เสีย ใน เยื่อกระดาษ ที่ เอา ประกันภัย ไว้ เพราะ ไม่ใช่ เจ้าของ สินค้า โจทก์ จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหายที่ เกิดขึ้น ให้ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด นอกจาก นี้ โจทก์ ยัง ไม่ได้ชำระ เงิน ใด ๆ ให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด แม้ จะ ชำระ ไป จริง โจทก์ ก็ ชำระ ไป ตาม อำเภอ ใจ โดย รู้ อยู่ ว่า ไม่มี ความผูกพัน ต้อง ชำระโจทก์ จึง ไม่ได้ รับช่วงสิทธิ มา ฟ้อง จำเลย ตาม ใบตราส่ง คู่สัญญาขนส่ง ตกลง กัน ว่า ข้อพิพาท ใด ๆ ที่ เกิดขึ้น ให้ ดำเนินคดี ใน กรุงลอนดอน และ ใช้ กฎหมาย ของ ประเทศ อังกฤษ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ นำ ข้อพิพาท คดี นี้ มา ฟ้อง จำเลย ใน ศาล ของ ประเทศ ไทย บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้รับตราส่ง รับ เอา สินค้า ไป จาก ผู้ขนส่ง โดย ไม่ อิดเอื้อน ผู้ขนส่งและ หรือ จำเลย ไม่ได้ ส่งมอบ สินค้า ขาด จำนวน แม้ สินค้า ขาด จำนวนไป จริง ความ สูญหาย หรือ ขาด จำนวน ใน สินค้า ไม่ได้ อยู่ใน ความ ดูแล ครอบครอง ของ ผู้ขนส่ง หรือ จำเลย ผู้ขนส่ง หรือ จำเลยจึง ไม่ต้อง รับผิด นอกจาก นี้ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้รับตราส่ง ได้ ชำระ ค่าระวาง แก่ ผู้ขนส่ง เสร็จ แล้ว บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้รับตราส่ง ก็ ไม่เคย ทักท้วง หรือ บอกกล่าว แจ้ง ให้ ผู้ขนส่ง หรือ จำเลยทราบ ภายใน 8 วัน นับแต่ วัน ส่งมอบ ทั้ง ความ สูญหาย ของ สินค้าดังกล่าว ไม่ได้ เกิดจาก การทุจริต หรือ ประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรงอัน จะ ปรับ เอา เป็น ความผิด ของ ผู้ขนส่ง หรือ จำเลย ได้ โจทก์ หมด สิทธิที่ จะ เรียกร้อง ค่าเสียหาย ใน สินค้า คดี นี้ กับ ผู้ขนส่ง และ หรือ จำเลยแล้ว หาก จำเลย ต้อง รับผิด คู่สัญญา ขนส่ง ตกลง กัน ไว้ ใน ใบตราส่งว่า ผู้ขนส่ง จะ รับผิด ใน ความ สูญหาย หรือ เสียหาย ของ สินค้า ต่อ 1 หน่วยไม่เกิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 12,500 บาท จำเลยจึง รับผิด ไม่เกิน 100,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง เบื้องต้น รับฟัง ได้ว่าบริษัท คอร์มอแร้นท์ บัลค์ แครีเออร์ส จำกัด เป็น ผู้รับ ขนสินค้า เยื่อกระดาษ จำนวน 7,296 มัด จาก ประเทศ สหรัฐอเมริกา มา ยัง ประเทศ ไทย โดย เรือ ชิโรเกน มี บริษัท ไทยเรยอน จำกัด เป็น ผู้รับตราส่ง เรือ ชิโรเกน เดินทาง มา ถึง ท่าเรือ เกาะสีชัง จังหวัด ชลบุรี เมื่อ วันที่ 13 เมษายน 2533 และ บริษัท เจริญจิต จำกัด เป็น ผู้ขนถ่าย สินค้า เยื่อกระดาษ ขึ้น จาก เรือ ชิโรเกน ไป ยัง เรือฉลอม ปรากฏว่า สินค้า เยื่อกระดาษ ขาด ไป 63 มัด บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้รับตราส่ง จึง ได้รับ สินค้า เยื่อกระดาษ ไม่ครบ โจทก์ เป็นผู้รับประกันภัย การ ขนส่ง สินค้า เยื่อกระดาษ ดังกล่าว ไว้ จาก บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ใน วงเงิน 46,122,322 บาท และ ได้ ชำระ ค่าเสียหาย ให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ไป เป็น เงิน 398,260.27 บาท
คดี มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลยร่วม ขนส่ง สินค้า เยื่อกระดาษ กับ บริษัท คอร์มอแร้นท์ บัลค์ แครีเออร์ส จำกัด ผู้ขนส่ง ใน ลักษณะ เป็น การ ขนส่ง หลาย ทอด หรือไม่ เห็นว่า จำเลย ประกอบ อาชีพ ตัวแทนเดิน เรือ ของ บริษัท ใน ต่างประเทศ ซึ่ง ไม่มี สาขา อยู่ ใน ประเทศ ไทยและ เป็น ตัวแทน ให้ แก่ บริษัท คอร์มอแร้นท์ บัลค์ แครีเออร์ส จำกัด ผู้ขนส่ง เมื่อ เรือ สินค้า มา ถึง ท่าเรือ เกาะสีชัง จังหวัด ชลบุรี จำเลย ได้ ดำเนินการ ติดต่อ กรมศุลกากร เพื่อ ให้ พนักงานศุลกากรไป ตรวจ สินค้า ใน เรือ ติดต่อ กองตรวจคนเข้าเมือง เพื่อ ส่ง เจ้าหน้าที่ไป ตรวจ บน เรือ รวมทั้ง แจ้ง เวลา เรือ เข้า ให้ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้รับตราส่ง ทราบ และ ให้ นำ ใบตราส่ง มา แลก ใบปล่อยสินค้า จาก จำเลยกับ สั่ง ให้ นาย เรือ ปล่อย สินค้า จำเลย ได้ วาง หนังสือ ค้ำประกัน ของธนาคาร ต่อ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ใน การ ใช้ บริการ ทาง ท่าเรือซึ่ง การท่าเรือแห่งประเทศไทย จะ เก็บ ค่า ภาระ จาก ผู้ร้อง ขอ เมื่อเรือ สินค้า มา ถึง ท่าเรือ เกาะสีชัง สินค้า จะ ถูก ขนถ่าย ไป ยัง ท่าเรือ กรุงเทพ และ ผู้รับตราส่ง จะ ต้อง มา รับ สินค้า ที่ท่าเรือ กรุงเทพ ตาม ระบบ ไลเนอร์ ซึ่ง ผู้ขนส่ง จะ ต้อง รับผิดชอบใน ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ รวม ถึง การ ว่าจ้าง แรงงาน ที่ จะ นำ สินค้าขึ้น เรือ ที่ ท่า ต้น ทาง และ เสีย ค่าใช้จ่าย แรงงาน ใน การ นำ สินค้า ลง จาก เรือที่ ท่า ปลายทาง จำเลย เป็น ผู้ว่าจ้าง บริษัท เจริญจิต จำกัด ให้ ทำ หน้าที่ ขนถ่าย สินค้า ลง จาก เรือ สินค้า ชิโรเกน สู่ เรือฉลอม เพื่อ ส่ง ให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ที่ ท่าเรือ กรุงเทพ ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน ใบตราส่ง และ บริษัท เจริญจิต จำกัด ได้ ทำ รายงาน สินค้า ขาด เกิน มอบ ให้ แก่ จำเลย ตาม พฤติการณ์ ดังกล่าว เห็น ได้ว่า จำเลยเป็น ผู้ มี หน้าที่ รับผิดชอบ ใน การ ดำเนินการ ขนส่ง ทอด สุดท้าย ขึ้น จากเรือ สินค้า ชิโรเกน เพื่อ ส่งมอบ ให้ แก่ ผู้รับตราส่ง และ เพื่อ ให้ สินค้า พิพาท ได้ ขนส่ง ถึง มือ ผู้ซื้อ ซึ่ง ถือได้ว่า เป็น การ ขนส่งหลาย ทอด ตาม วิธีการ ขนส่ง ทางทะเล โดย จำเลย เป็น ผู้ ร่วม ขนส่งและ เป็น ผู้ขนส่ง ทอด สุดท้าย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 618 ซึ่ง เป็น บท กฎหมาย ใกล้เคียง กับ กฎหมาย ว่าด้วย การ รับขนทางทะเล ใน ขณะ เกิด มูลคดี นี้ เมื่อ สินค้า เยื่อกระดาษ ที่ ขนส่ง สูญหายระหว่าง การ ขนส่ง จำเลย จึง ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ใน การ สูญหายของ สินค้า เยื่อกระดาษ พิพาท ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้รับช่วงสิทธิ มาจากบริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้รับตราส่ง
พิพากษากลับ ให้ จำเลย ใช้ เงิน จำนวน 418,555.23 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 398,260.27บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์

Share