แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยไม่ได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมดังที่จำเลยร่วมให้การถือว่าจำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นทั้งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ แม้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินสามยทรัพย์นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง10ปีแต่เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินนั้นและได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินผ่านเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความได้สิทธิแก่โจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์เดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์แล้วต้องเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นก่อนจะไปออกสู่ถนนสาธารณะทางพิพาทก็เป็นทางภารจำยอมได้เมื่อได้เดินผ่านติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีแล้ว แม้มีทางเดินอีกทางหนึ่งแล้วออกสู่ทางสาธารณะได้แต่โจทก์นิยมใช้ทางพิพาทเนื่องจากระยะทางใกล้กว่าทางพิพาทไม่ได้หมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทางภารจำยอมจึงยังไม่สิ้นไป
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 6 เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1275 นอกจาก นี้ โจทก์ ที่ 1ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 6 ยัง เป็น เจ้าของ บ้าน เลขที่ 62 เลขที่ 58/1เลขที่ 52/1 และ เลขที่ 40 ตามลำดับ ซึ่ง ปลูก อยู่ บน ที่ดิน ดังกล่าวโจทก์ ที่ 5 เป็น เจ้าของ บ้าน เลขที่ 48 และ โจทก์ ที่ 7 เป็น เจ้าของบ้าน เลขที่ 96 จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 1265, 1253 และ 1244 จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 เป็น เจ้าของ ที่ดินโฉนด เลขที่ 1251, 1252 และ 1272 คัน สวน ที่ เป็น ทางเดิน คลองส่งน้ำและ ร่องน้ำ ซึ่ง อยู่ ใน ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง เจ็ด ประชาชน ได้ ใช้ ร่วมกันมา เกินกว่า 50 ปี แล้ว จึง ตกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต่อมาสภาพ ของ ที่ดิน ดังกล่าว ได้ เปลี่ยน มา เป็น บ้านพัก อาศัย โจทก์ ทั้ง เจ็ดและ ประชาชน ยัง คง ใช้ คัน สวน ดังกล่าว เป็น ทาง เข้า ออกตรอก สุเหร่าบาหยัน เพื่อ สู่ ถนน เจริญกรุง โจทก์ ทั้ง เจ็ด และ ประชาชน ได้ ปรับปรุง คัน สวน เป็น ถนน คอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วน ทางเดินที่ เหลือ ปรับปรุง เป็น สะพาน ไม้ สำหรับ ร่องน้ำ มี สภาพ ตื้นเขินไม่สามารถ ใช้ น้ำบริโภค ได้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด และ ประชาชน จึง ใช้ เป็นทางระบายน้ำ ทิ้ง เมื่อ ประมาณ เดือน กันยายน 2529 จำเลย ที่ 1ได้ นำ ดิน มา ถม ใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 และ ของ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7โดย ได้รับ ความ ยินยอม จาก จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 เพื่อ ทำการ ปลูก บ้านจัดสรร ขาย ให้ แก่ ประชาชน ทั่วไป นอกจาก นี้ ยัง ได้ รื้อ สะพาน ไม้และ ถม คัน สวน ร่องน้ำ และ คลองส่งน้ำ ทำให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด และประชาชน ทั่วไป ไม่ สะดวก ใน การ ใช้ ทางเดิน กับ ไม่สามารถ ระบายน้ำลง สู่ คลอง บางขวาง ได้ ขอให้ พิพากษา ให้ ที่ดิน ที่ เป็น ทางเดิน มี ความยาว ทั้งหมด ประมาณ 307.50 เมตร กว้าง ประมาณ 2.50 ถึง 3.50เมตร ซึ่ง อยู่ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1265, 1253, 1252 และ 1251 และคลองส่งน้ำ ยาว ประมาณ 30 เมตร กว้าง ประมาณ 3 เมตร ซึ่ง อยู่ ในที่ดิน โฉนด เลขที่ 1265 และ 1273 รวมทั้ง ร่องน้ำ ยาว ประมาณ 162 เมตรกว้าง ประมาณ 1 ถึง 1.5 เมตร ตลอด แนว ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1265,1253 และ 1573 ตกเป็น ทางภารจำยอม ของ ที่ดิน โจทก์ ทั้ง เจ็ดและ ตกเป็น ทาง สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ไป จดทะเบียนต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน หาก จำเลย ทั้ง เจ็ด ไม่ ดำเนินการ ดังกล่าวให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง เจ็ดกับ ห้าม มิให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ก่อสร้าง กำแพง ปิด กั้น ทางเดิน และ ให้รื้อ สิ่งปลูกสร้าง ที่ ได้ กระทำ ลง บน ทางเดิน คลองส่งน้ำ ร่องน้ำโดย ทำให้ อยู่ ใน สภาพ เดิม ด้วย ค่าใช้จ่าย ของ จำเลย ทั้ง เจ็ด หาก จำเลยทั้ง เจ็ด ไม่ ดำเนินการ ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ผู้ดำเนินการ แทนโดย ค่าใช้จ่าย ของ จำเลย ทั้ง เจ็ด
จำเลย ที่ 1 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่เคย อุทิศหรือ สละ ทางเดิน หรือ สะพาน ให้ เป็น ทางสาธารณะ แต่อย่างใด โจทก์ทั้ง เจ็ด ไม่เคย ใช้ ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 โดย ความสงบ โดย เปิดเผย และด้วย เจตนา จะ ให้ ได้ สิทธิ ภารจำยอม โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 อยู่ ใน ชุมชน มิตรสัมพันธ์ เข้า ออก สู่ ถนน จันทร์ ได้ ส่วน โจทก์ ที่ 7 อยู่ ใน ซอย สุเหร่าบาหยัน สามารถ ออก สู่ ถนน เจริญกรุง ได้ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1275 ของ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 ทาง ทิศตะวันออก ติดกับลำกระโดง สาธารณะ ซึ่ง ใช้ เป็น ทางระบายน้ำ ได้ และ โจทก์ ที่ 7 ระบายน้ำได้ โดย อาศัย ท่อระบายน้ำ ของ กรุงเทพมหานคร การ ที่ โจทก์ ฟ้องคดีทำให้ สำนักงาน เขต ยานนาวา ระงับ การ แบ่งแยก โฉนด ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1 ไม่อาจ โอน โฉนด ที่ดิน ให้ แก่ ผู้ซื้อ บ้านจาก จำเลย ที่ 1 ตาม โครงการ ของ จำเลย ที่ 1 ก็ ดี เป็นเหตุ ให้ จำเลยที่ 1 ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ร่วมกันใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 76,350,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 76,000,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง และ ชำระ ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ จำนวนเงิน 350,000 บาท นับแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2530 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ จำเลย ที่ 1 ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง ไม่รับฟ้อง แย้ง ปัญหา เรื่อง ฟ้องแย้ง เป็น อัน ยุติ ไป แล้ว
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่เคย ใช้ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 เป็น ทาง สัญจร ไป มา เพราะ โจทก์ทั้ง เจ็ด มี ทาง อื่น ที่ สะดวก อยู่ แล้ว ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4ไม่มี ร่องน้ำ เพื่อ ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ระบายน้ำ ผ่าน ที่ดิน ได้ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 ที่ 5ที่ 6 และ ที่ 7 ยินยอม ให้ จำเลย ที่ 1 เข้า พัฒนา ที่ดิน ของ จำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 เพื่อ ปลูก บ้านจัดสรร ขาย ให้ แก่ ประชาชนทั่วไป โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 7 ไม่ได้ ใช้ ทางเดิน สะพาน ไม้ และ มิได้ระบายน้ำ ผ่าน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 ทั้ง เจ้าของที่ดิน เดิม ก็ ไม่เคย อุทิศ หรือ สละ ที่ดิน ส่วน ใด ให้ เป็น ทางเดินและ ทางระบายน้ำ สาธารณะ และ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่ได้ ภารจำยอมขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลชั้นต้นหมายเรียก นาย สำคัญ บุญหลง โดย นางสาว ดวงตา บุญหลง ผู้จัดการ มรดก ของ นาย สำคัญ บุญหลง นางสาว สาหรี บุญหลง นางสาวกุลยา บุญหลง และนางสาวดวงตา บุญหลง ผู้ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1265,1253 และ 1244 ตาม ฟ้อง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 เข้า มา เป็น จำเลยร่วมศาลชั้นต้น อนุญาต และ หมายเรียก บุคคล ทั้ง สี่ เข้า มา เป็น จำเลยร่วม
จำเลยร่วม ทั้ง สี่ ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เพราะ โจทก์ไม่ได้ บรรยาย ให้ เข้าใจ ว่า โจทก์ ประสงค์ จะ ขอให้ ทางพิพาท เป็นทางสาธารณะ หรือ ทางภารจำยอม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1252, 1253, 1265,1244, 1251 และ 1273 เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลยร่วม ทั้ง สี่ และญาติ พี่น้อง ผู้เช่า ที่ดิน ของ จำเลยร่วม ทั้ง สี่ และ ญาติ พี่น้องเท่านั้น ที่ ใช้ คัน สวน รอบ ที่ดิน ดังกล่าว เป็น ทางเดิน เข้า ออกตรอก สุเหร่าบาหยัน สู่ ถนน เจริญกรุง ประชาชน ทั่วไป รวมทั้ง เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1275 เข้า ออก ทางสาธารณะ และ ถนน เจริญกรุง ทาง ด้าน ซอย กิ่งจันทร์และซอยมิตรสัมพันธ์ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6ไม่เคย ใช้ ทางเดิน ใน ที่ดิน ของ จำเลยร่วม ทั้ง สี่ โดยเฉพาะ โจทก์ ที่ 7อยู่ ใน ตรอก สุเหร่าบาหยัน สามารถ ออก สู่ ถนน เจริญกรุง ได้ โดยตรง และ ไม่เคย มี การ ระบายน้ำ ผ่าน ที่ดิน ของ จำเลยร่วม ทั้ง สี่ ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น จำเลยร่วม ที่ 2 ถึงแก่กรรมโจทก์ ที่ 6 และ ที่ 7 ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลชั้นต้น เรียก จำเลยร่วมที่ 3 และ ที่ 4 เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า พิพากษา ว่า ทางเดิน พิพาท กว้าง ประมาณ80 เซนติเมตร ยาว ตลอด แนว ทางเดิน ที่ จุด B.2-C.2 ตาม ผัง ทางเดินเอกสาร หมาย ล. 26 หรือ ตลอด แนว ทางเดิน ที่ ยาว 91 เมตร 63 เมตร และ72.50 เมตร ตาม ผัง ทางเดิน พิพาท เอกสาร หมาย จ. 14 ใน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 1253 ของ จำเลย ที่ 1 ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1251, 1252 ของจำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 เป็น ทางภารจำยอม ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด จดทะเบียนภารจำยอม แก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 6 เพื่อ ที่ดิน โฉนด เลขที่1275 หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของจำเลย ทั้ง เจ็ด ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด รื้อ สิ่ง ก่อสร้าง ใด ๆ ที่ ได้กระทำ ลง บน ทางพิพาท ให้ ทำ สะพาน ไม้ ให้ อยู่ ใน สภาพ เดิม โดย ค่าใช้จ่ายของ จำเลย ทั้ง เจ็ด คำขอ นอกจาก นี้ ให้ยก และ ให้ยก ฟ้อง สำหรับ โจทก์ที่ 5 และ ที่ 7
โจทก์ ทั้ง เจ็ด จำเลย ทั้ง เจ็ด และ จำเลยร่วม ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า โจทก์ ที่ 5 และ ที่ 7 มีอำนาจฟ้องคดี นี้ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง เจ็ด จำเลย ทั้ง เจ็ด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ทั้ง เจ็ด ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เนื่องจาก ตาม ฟ้อง กล่าว ว่า ทางพิพาท เป็น ทางภารจำยอมและ ทางสาธารณะ ทำให้ ไม่อาจ เข้าใจ ฟ้องโจทก์ ได้ นั้น จำเลย ทั้ง เจ็ดไม่ได้ ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม ดัง ที่ จำเลยร่วม ทั้ง สี่ ให้การถือว่า ปัญหา ดังกล่าว จำเลย ทั้ง เจ็ด ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา ใน ศาลชั้นต้นทั้ง ไม่เป็น ปัญหา เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ จำเลยทั้ง เจ็ด จะ ยก ปัญหา นี้ ขึ้น อ้าง ใน ชั้นอุทธรณ์ และ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหา นี้ ให้ ก็ ไม่ ถือว่า เป็น ข้อ ที่ ยกขึ้น ว่า กัน มา ใน ชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้
ที่ จำเลย ทั้ง เจ็ด ฎีกา ว่า โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 6เข้า ถือ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ยัง ไม่ครบ 10 ปี การ ใช้ ทางภารจำยอมจึง ไม่ถึง 10 ปี โจทก์ ทั้ง ห้า ย่อม ไม่ได้ สิทธิ ใน ทางภารจำยอม นั้นเห็นว่า แม้ ข้อเท็จจริง จะ ฟังได้ ว่า ระยะเวลา ตั้งแต่ โจทก์ ทั้ง ห้าเข้า ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม กัน ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1275 ตาม เอกสาร หมายล. 38 นับ ถึง วันฟ้อง คดี นี้ ยัง ไม่ถึง 10 ปี ก็ ตาม แต่ ข้อเท็จจริงฟังได้ ตาม พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า ก่อน เข้า ถือ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ ปลูก บ้าน อาศัย อยู่ ใน ที่ดิน นั้น คน ละหนึ่ง หลัง และ ได้ ใช้ ทางพิพาท เป็น ทางเดิน ผ่าน ไป ออก ตรอก สุเหร่าบาหยัน เพื่อ ไป สู่ ถนน เจริญกรุง มา เป็น เวลา กว่า สิบ ปี แล้ว การ ที่ โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ ใช้ ทางพิพาท ตั้งแต่ อาศัย อยู่ใน ที่ดิน จน ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ดังกล่าว โดย ไม่มี ผู้ใด โต้แย้งทักท้วง และ ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก ผู้ใด เมื่อ นับเวลา ทั้ง สอง ตอนติดต่อ กัน เกินกว่า สิบ ปี ทางพิพาท ดังกล่าว จึง ตกเป็น ทางภารจำยอมโดย อายุความ ได้ สิทธิ แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401
ที่ จำเลย ทั้ง เจ็ด ฎีกา ว่า โจทก์ ใช้ ทางพิพาท แล้ว จะ ต้อง ไป ผ่านที่ดิน ของ ผู้อื่น ซึ่ง ไม่ใช่ เป็น ทางภารจำยอม ของ โจทก์ เพื่อ จะ ออกตรอก สุเหร่าบาหยัน ทางพิพาท จึง ไม่อาจ เป็น ทางภารจำยอม ของ โจทก์ นั้น เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387บัญญัติ แต่เพียง ว่า อสังหาริมทรัพย์ อาจ ต้อง ตกอยู่ใน ภารจำยอมเพื่อ ประโยชน์ แก่ อสังหาริมทรัพย์ อื่น ดังนั้น แม้ โจทก์ ที่ 1ถึง ที่ 4 และ ที่ 6 ซึ่ง เป็น เจ้าของ ที่ดิน สามยทรัพย์ เดิน ผ่าน ที่ดินของ จำเลย ทั้ง เจ็ด ซึ่ง เป็น ภารยทรัพย์ แล้ว ต้อง เดิน ผ่าน ที่ดิน ของบุคคลอื่น ก่อน จะ ไป ออก สู่ ถนน สาธารณะ ทางพิพาท ก็ เป็น ทางภารจำยอมได้ เมื่อ ได้ เดิน ผ่าน ติดต่อ กัน เป็น เวลา กว่า 10 ปี แล้ว
จำเลย ทั้ง เจ็ด ฎีกา ต่อไป ว่า โจทก์ มี ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะได้ หลาย ทาง ทางพิพาท จึง หมด ประโยชน์ สำหรับ ที่ดิน โจทก์ทางภารจำยอม ย่อม สิ้นสภาพ ไป แล้ว เห็นว่า แม้ ข้อเท็จจริง จะ ฟังได้ ว่าโจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 6 มี ทางเดิน อีก ทาง หนึ่ง ไป ที่ ซอย มิตรสัมพันธ์ไปถนนจันทร์ แล้ว ออก สู่ ถนน เจริญกรุง ซึ่ง เป็น คน ละ เส้นทาง กับ ทางพิพาท แต่ โจทก์ ทั้ง ห้า นิยม ใช้ ทางพิพาท เป็นทางผ่าน เพื่อ ไป ออก สู่ ถนน เจริญกรุง เนื่องจาก ระยะ ทาง ใกล้ กว่า ใช้ เส้นทาง ด้าน ซอย มิตรสัมพันธ์ มาก ทางพิพาท จึง ไม่ได้ หมด ประโยชน์ แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง ห้า ทางภารจำยอม ใน ที่ดินพิพาทยัง ไม่ สิ้นไป ”
พิพากษายืน