คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยหลังจากพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ออกใช้บังคับแล้วและต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ไม่ใช้บังคับข้อ2ระบุให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ฯไม่ใช่บังคับดังนั้นตำแหน่งงานของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515อีกต่อไปเมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ46 ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534ข้อ45และข้อ47ระบุให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้างเท่านั้นและในข้อ3คำว่าพนักงานหมายความว่าพนักงานตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ซึ่งตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯมาตรา4คำว่าพนักงานหมายถึงเฉพาะพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจเท่านั้นไม่รวมถึงฝ่ายบริหารซึ่งมีความหมายรวมถึงผู้อำนวยการด้วยขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานโจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ45และข้อ47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์โจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2581หาได้ไม่เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น การที่โจทก์เคยเป็นพนักงานของจำเลยต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ลาออกพ้นจากการเป็นพนักงานแล้วแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้อำนวยการนับแต่นั้นจนกระทั่งมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ถือได้ว่าระยะเวลาทำงานของโจทก์สองช่วงดังกล่าวได้ขาดตอนจากกันแล้วไม่อาจนับติดต่อกันเพื่อให้โจทก์มีสถานะเป็นพนักงานของจำเลยได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯและถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมเพราะสิทธิประโยชน์ของโจทก์นี้จะได้รับหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้นเมื่อพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯออกใช้บังคับในขณะที่โจทก์ออกจากงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกรณีจึงมิใช่เป็นกฎหมายย้อนหลังตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น พนักงาน ของ จำเลย ได้รับ แต่งตั้ง ให้ เป็นผู้อำนวยการ ของ จำเลย จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เนื่องจาก เหตุ เกษียณอายุโดย จำเลย ไม่จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ ขอให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชยจำนวน 270,240 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2537 จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ปัญหา วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของโจทก์ มี ว่า โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ ค่าชดเชย จาก จำเลย หรือไม่ โจทก์ อุทธรณ์ว่า โจทก์ เข้า ทำงาน กับ จำเลย มา ตั้งแต่ ปี 2523 ถึง 2537 จึง มีสิทธิได้รับ ค่าชดเชย เห็นว่า โจทก์ พ้น จาก ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ของ จำเลยหลังจาก พระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ออก ใช้บังคับ แล้ว และ ต่อมา ได้ มี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนด กิจการที่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้ บังคับ ซึ่ง ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2534 ข้อ 2 ระบุ ว่า ให้รัฐวิสาหกิจ ตาม กฎหมาย ว่าด้วย พนักงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ เป็นกิจการ ที่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515ไม่ ใช้ บังคับ ดังนั้น ตำแหน่ง งาน ของ โจทก์ จึง ไม่อยู่ ภายใต้ บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ต่อไป เมื่อ โจทก์ พ้น จาก ตำแหน่ง ผู้อำนวยการของ จำเลย โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ได้รับ ค่าชดเชย ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 46 นอกจาก นี้ ตาม ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐาน ของ สิทธิ ประโยชน์ ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ตาม เอกสาร หมาย จล. 8 ซึ่ง คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ ด้วย ความเห็น ชอบ ของ คณะรัฐมนตรี ได้ อาศัย อำนาจ ตามความใน มาตรา 11(1) และ มาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ได้ วาง ระเบียบ เกี่ยวกับ มาตรฐาน สิทธิ ประโยชน์ ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯ ใน ข้อ 45 ระบุ ให้ รัฐวิสาหกิจ จ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่ พนักงานซึ่ง เลิกจ้าง เท่านั้น และ ข้อ 47 ระบุ ว่า พนักงาน ที่ ต้อง พ้น จากตำแหน่ง เพราะ เหตุ เกษียณอายุ ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ ข้อกำหนดของรัฐ วิสาหกิจ นั้น ไม่มี สิทธิ ได้รับ ค่าชดเชย ตาม ข้อ 45 จึง เป็น ที่เห็น ได้ว่า เงิน ค่าชดเชย ที่ รัฐวิสาหกิจ ใด จะ พึง จ่าย ให้ นั้น ได้ กำหนดเจาะจง จ่าย ให้ เฉพาะ แก่ พนักงาน ของรัฐ วิสาหกิจ นั้น เท่านั้น และ ตามระเบียบ คณะกรรมการ รัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ ฯ ตาม เอกสาร หมาย จล. 8ข้อ 3 ได้ ให้ คำ นิยาม คำ ว่า “พนักงาน ” หมายความ ว่า พนักงานตาม พระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และ ตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 บัญญัติให้ คำ นิยาม คำ ว่า “พนักงาน ” หมายความ ว่า พนักงาน และ ลูกจ้าง ของรัฐวิสาหกิจ แต่ ไม่ หมายความ รวม ถึง ฝ่ายบริหาร และ คำ ว่า “ฝ่ายบริหาร “หมายความ ว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ ระดับ หัวหน้ากอง หรือ เทียบเท่าขึ้น ไป และ หมายความ รวม ถึง ผู้อำนวยการ ฯลฯ ด้วย ขณะที่ โจทก์ พ้นจาก การ ทำงาน โจทก์ มี ตำแหน่ง เป็น ผู้อำนวยการ ของ จำเลย โจทก์จึง มี ฐานะ เป็น ฝ่ายบริหาร จึง ไม่มี สิทธิ ได้รับ ค่าชดเชย ตาม ข้อ 45 และ47 แห่ง ระเบียบ คณะกรรมการ รัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ ฯ เอกสาร หมายจล. 8 การ ที่ โจทก์ เรียกร้อง สิทธิ ประโยชน์ โจทก์ จะ ถือ สิทธิ ความ เป็นพนักงาน ตาม มาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติ คุณสมบัติ มาตรฐาน สำหรับ กรรมการและ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 หาได้ไม่ เพราะ บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว ใช้ สำหรับ พิจารณา ว่า คุณสมบัติ ขั้น มาตรฐาน และลักษณะ ต้องห้าม ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มี อย่างไร เท่านั้น โจทก์ เคยเป็น พนักงาน ของ จำเลย ตั้งแต่ ปี 2523 ถึง วันที่ 10 สิงหาคม 2533 จำเลยได้ มี คำสั่ง ให้ โจทก์ ลาออก พ้น จาก การ เป็น พนักงาน ตาม เอกสาร หมาย จล. 9โจทก์ ได้รับ แต่งตั้ง ให้ เป็น ผู้อำนวยการ ตั้งแต่ วันที่ 10 สิงหาคม2533 ถึง วันที่ 1 ตุลาคม 2537 จำเลย มี คำสั่ง ให้ โจทก์ พ้น จาก ตำแหน่งเพราะ มี อายุ ครบ หก สิบ ปี บริบูรณ์ ตาม คำสั่ง ของ จำเลย เอกสาร หมายจล. 9 ระยะเวลา ทำงาน ของ โจทก์ สอง ช่วง ดังกล่าว ได้ ขาดตอน จาก กันจึง ไม่อาจ นับเวลา ทำงาน ติดต่อ กัน เพื่อ ให้ โจทก์ มี สถานะ เป็น พนักงานของ จำเลย ได้ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ได้รับ ค่าชดเชย ตาม ระเบียบ เกี่ยวกับมาตรฐาน ของ สิทธิ ประโยชน์ ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45และ 47 อีก ด้วย และ ถือไม่ได้ว่า เป็น การ เปลี่ยนแปลง สภาพ การจ้างโดย โจทก์ มิได้ ให้ ความ ยินยอม เพราะ สิทธิ ประโยชน์ ของ โจทก์ นี้ จะ ได้รับหรือไม่ เพียงใด ย่อม เป็น ไป ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย และ ระเบียบข้อบังคับ ของ หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ นั้น เมื่อ พระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ออก ใช้ บังคับ ใน ขณะที่ โจทก์ ออกจากงาน ของ จำเลย ซึ่ง เป็น รัฐวิสาหกิจ กรณี จึง มิใช่ เป็น กฎหมาย ย้อนหลังตัด สิทธิ ประโยชน์ ของ โจทก์ อย่างไร ก็ ดี เมื่อ โจทก์ พ้น จาก ตำแหน่งผู้อำนวยการ ของ จำเลย โจทก์ ก็ ได้รับ เงินบำเหน็จ ตาม ข้อบังคับของ จำเลย ว่าด้วย กองทุน บำเหน็จ พ.ศ. 2521 ครบถ้วน แล้ว ข้อ อุทธรณ์อื่น ของ โจทก์ ไม่เป็น สาระ อันควร ได้รับ การ วินิจฉัย เพราะ ไม่ทำ ให้ ผล ของคดี เปลี่ยนแปลง ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยอุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share