แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้ข้อตกลงที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินมิใช่การสละมรดกเพราะไม่ได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำที่ทำขึ้นเมื่อจำเลยไปขอโอนมรดกโดยให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียวถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินนั้นอีก โจทก์เพียงแต่เก็บผลไม้ในที่ดินมรดกโดยจำเลยซึ่งครอบครองและทำประโยชน์อยู่มิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ครอบครองที่ดินร่วมด้วยฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย แบ่ง ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ เลขที่ 900, 1246, 1015 และ 1016 ให้ โจทก์ ครึ่ง หนึ่งหาก แบ่ง ไม่ได้ หรือไม่ อาจ ตกลง กัน ได้ ให้ นำ ที่ดิน ขายทอดตลาด เอา เงินแบ่ง ให้ โจทก์ ครึ่ง หนึ่ง
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย แบ่ง ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การทำประโยชน์ เลขที่ 1015 ตำบล จอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัด ราชบุรี เนื้อที่ 16 ไร่ 50 ตารางวา ให้ โจทก์ ครึ่ง หนึ่ง โดย ให้ แบ่ง ระหว่างกันเอง ก่อน หาก ตกลง กัน ไม่ได้ ให้ ประมูล ระหว่าง กัน หรือ ขายทอดตลาดแบ่ง เงิน กัน คำขอ นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า โจทก์ และ จำเลย เป็น บุตร ของ นาง หยวก จันทร์ชิด หรือ จันทระชิต เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2531 นาง หยวก ถึง แก่ ความตาย ตาม สำเนา ภาพถ่าย มรณบัตร เอกสาร หมาย จ. 2 โดย ไม่ได้ทำ พินัยกรรม ไว้ ก่อน ถึงแก่ความตาย นาง หยวก เป็น เจ้าของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 4 ถึง จ. 7 ซึ่งที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 และ จ. 7 ติด จำนอง ธนาคาร กรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด และ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ตาม สำเนา หนังสือ สัญญาจำนอง เอกสาร หมาย จ. 8 และ จ. 9 ตามลำดับ ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 7 เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง หยวก ที่ ตก ได้ แก่ โจทก์ และ จำเลย
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ข้อ แรก มี ว่า โจทก์ ได้ สละ มรดก ที่ดิน ตามสำเนา ภาพถ่าย หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1016 ตำบล จอมบึง อำเภอ จอมบึง จังหวัด ราชบุรี เอกสาร หมาย จ. 6 หรือไม่ โจทก์ มี ตัว โจทก์ เบิกความ ว่า เมื่อ ปี 2533 จำเลย มา สอบถาม พยาน ว่า มี เงินจะ ไป ไถ่ถอน ที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 หรือ ยัง พยาน บอก ว่า ไม่มีเงิน จำเลย บอก ว่า จำเลย มี เงิน จะ ไถ่ถอน ที่ดิน ก่อน และ จะ แบ่ง ที่ดิน ให้โจทก์ ครึ่ง หนึ่ง พยาน ยินยอม ให้ จำเลย ไป ไถ่ถอน ที่ดิน จำเลย พา พยานไป ลงลายมือชื่อ ใน บันทึก ถ้อยคำ เอกสาร หมาย จ. 10 ที่ สำนักงาน ที่ดินอำเภอ จอมบึง โดย เข้าใจ ว่า เป็น การ ไถ่ถอน จำนอง และ ไม่ได้ อ่าน ข้อความ ต่อมา พยาน ไป ขอ แบ่ง ที่ดิน จาก จำเลย แต่ จำเลย ไม่ยอมแบ่ง ที่ดิน ให้ พยาน จึง คัดค้าน การ ขอรับ มรดก ที่ดิน ของ จำเลย จำเลย มี ตัวจำเลย เบิกความ ว่า เมื่อ นาง หยวก ถึงแก่ความตาย พยาน กับ โจทก์ ตกลง ไป ไถ่ถอน จำนอง แต่ โจทก์ ไม่มี เงิน จึง บอก พยาน ว่า ถ้า พยาน จะ ไป ไถ่ถอนจำนอง ก็ ให้ ไป ไถ่ถอน แล้ว โจทก์ จะ ยก ที่ดิน ให้ จำเลย โดย ไม่ ขอรับ มรดกที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 6 และ โจทก์ได้ ทำ บันทึก ไว้ ที่ สำนักงาน ที่ดิน อำเภอ จอมบึง ตาม บันทึก ถ้อยคำ เอกสาร หมาย จ. 10 เห็นว่า ถึง แม้ โจทก์ จะ มี นาง เชี้ยน จันทร์ชิต ภรรยา โจทก์ และ นาย พรหม ฟักเขียว ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ที่ 10 เป็น พยาน เบิกความ สนับสนุน แต่ นาย พรหม ก็ ไม่ทราบ ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย เกี่ยวกับ เรื่อง ที่ จำเลย ได้รับ ที่ดิน มรดก แล้ว จะ ต้องแบ่ง ให้ โจทก์ หรือไม่ นาย พรหม กลับ เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ถาม ค้าน เจือสม กับ พยาน จำเลย ว่า พยาน ทราบ ว่า โจทก์ ไม่มี เงิน ไถ่ถอน จำนองที่ดิน จึง ยก ที่ดิน ให้ จำเลย แล้ว ให้ จำเลย ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน เอง ส่วนจำเลย มี สิบตำรวจเอก อภัย สุบรรณพันธ์ เจ้าหน้าที่ สำนักงาน ที่ดิน อำเภอ จอมบึง ผู้บันทึก ถ้อยคำ เอกสาร หมาย จ. 10 เบิกความ สนับสนุน ว่า โจทก์ ให้ ถ้อยคำ ว่า จะ ไม่ ขอรับ มรดก พยาน จึง สอบถามโจทก์ ว่า มี ความ ประสงค์ ขอรับ มรดก หรือไม่ โจทก์ บอก ว่า ไม่ ขอรับ เพราะไม่ได้ ร่วม ชำระหนี้ กับ จำเลย ขอให้ จำเลย รับมรดก ไป เพียง คนเดียวพยาน จึง ทำ เป็น บันทึก ถ้อยคำ เอกสาร หมาย จ. 10 สิบตำรวจเอก อภัย เป็น พยาน คนกลาง ไม่มี ส่วนได้เสีย กับ ฝ่ายใด คำเบิกความ ของสิบตำรวจเอก อภัย จึง มีเหตุ ผล และ น้ำหนัก สนับสนุน คำเบิกความ ของ จำเลย ให้ น่าเชื่อ ถือ มาก ยิ่งขึ้น ว่า โจทก์ ได้ แสดง ความ ประสงค์ ให้ จำเลย เป็นผู้รับมรดก ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 6จริง มิฉะนั้น ต้อง ระบุ ให้ ชัดเจน ว่า เป็น การ ยินยอม ให้ จำเลย ลงชื่อรับโอน ที่ดิน ไป ก่อน โดย จะ ต้อง นำ มา แบ่ง กัน ใน ภายหลัง เพื่อ ป้องกัน มิให้เกิด ข้อโต้แย้ง ใน ภายหน้า ขึ้น ได้ พยานหลักฐาน ของ จำเลย มี น้ำหนักและ เหตุผล ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ตกลง ยินยอม ให้ จำเลย เป็น ผู้รับมรดก ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 6 เพราะจำเลย เป็น ผู้ออกเงิน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 6 จาก ธนาคารดัง ที่ จำเลย นำสืบ จริง แม้ ข้อตกลง ดังกล่าว มิใช่ เป็น เรื่อง การ สละ มรดกเพราะ การ สละ มรดก ต้อง แสดง เจตนา ชัดแจ้ง เป็น หนังสือ มอบ ให้ ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ ต้อง ทำ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ก็ ตาม แต่เมื่อ ข้อเท็จจริงได้ความ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า หลัก จาก นาง หยวก ถึงแก่ความตาย โจทก์ และ จำเลย ต่าง เข้า ไป ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 6 ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสาร หมาย จ. 6 จึง ตกเป็น ของ โจทก์ และ จำเลยร่วม กัน เมื่อโจทก์ ได้ แสดง ความ ประสงค์ ตาม บันทึก ถ้อยคำ เอกสาร หมาย จ. 10ให้ จำเลย เป็น เจ้าของ ที่ดิน แต่เพียง ผู้เดียว จึง ถือได้ว่า โจทก์ ได้แสดง เจตนา สละ สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 6 ให้ แก่ จำเลย และ จำเลย ตกลง รับ เอา แล้วโจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ขอ แบ่ง ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสารหมาย จ. 6 ใน ฐานะ ที่ เป็น ทรัพย์มรดก อีก
ปัญหา ต่อไป มี ว่าคดี โจทก์ เกี่ยวกับ ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การทำประโยชน์ เลขที่ 900 และ 1246 เอกสาร หมาย จ. 4 และ จ. 5 ขาดอายุความหรือไม่ สำหรับ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมายจ. 5 ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม ที่ โจทก์ จำเลย นำสืบ รับ กัน ว่า หลังจากนาง หยวก ถึงแก่ความตาย จำเลย เป็น ผู้ทำ ประโยชน์ ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ส่วน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 4 โจทก์นำสืบ ว่า หลังจาก นาง หยวก ถึงแก่ความตาย โจทก์ เก็บ มะขา มและ น้อย หน่า ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว โดย โจทก์ มี นาง เชี้ยน นายพรหม นายจิต พวงทอง และ นาย วาล พวงทอง พยานโจทก์ เบิกความ สนับสนุน จำเลย เบิกความ ว่า นาง หยวก ยก ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 4 ให้ พยาน ก่อน ที่นา ง หยวก จะ ถึงแก่ความตาย พยาน จึง ครอบครอง ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ตลอดมา และ จำเลย มี นาง เต็ม นานคง และ นาย บัว โพธิล้อม เจ้าของ ที่ดิน ข้างเคียง มา เบิกความ สนับสนุน ว่า จำเลย ปลูก มัน สำปะ หลัง และ ข้าวโพด ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าวมา ตลอด โดย โจทก์ ไม่เคย เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว เลยเห็นว่า โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 4 ร่วม กับ จำเลย นั้น คง มีแต่ คำเบิกความ ของ โจทก์ เพียง ปาก เดียว โดย นาย พรหม และ นาย จิต พยานโจทก์ มิได้ รู้เห็น แท้จริง คง ได้รับ คำบอกเล่า จาก ตัว โจทก์ อีกต่อ หนึ่ง ข้อเท็จจริง ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ ได้ ครอบครอง ที่ดิน แปลงดังกล่าว ข้อเท็จจริง ได้ความ แต่เพียง ว่า โจทก์ เก็บ มะขา มและ น้อย หน่าใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว การ ที่ จำเลย มิได้ หวงห้าม มิให้ โจทก์ เก็บ มะขา มและ น้อย หน่า ดังกล่าว ยัง ไม่อาจ ถือว่า จำเลย ยอมรับ ว่า โจทก์ ได้ ครอบครองที่ดิน แปลง ดังกล่าว ร่วม ด้วย และ โจทก์ เบิกความ รับ ว่า จำเลย เป็นผู้ครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว จริง ซึ่ง จำเลย อ้างว่านาง หยวก ยก ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ จำเลย แล้ว แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ครอบครอง ที่ดิน แปลง ดังกล่าว เพื่อ ตนเอง หาใช่ ครอบครองแทน โจทก์ ไม่โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ พ้น กำหนด หนึ่ง ปี นับแต่ นาง หยวก เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดี โจทก์ สำหรับ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 900 และ 1246 เอกสาร หมาย จ. 4 และ จ. 5 จึง ขาดอายุความฟ้องร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ไม่จำต้องวินิจฉัย ใน ปัญหา ที่ ว่า นาง หยวก ยก ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำ ประโยชน์ เลขที่ 900 และ 1246 ให้ จำเลย หรือไม่ อีก ต่อไป ที่ ศาลล่างทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ทุก ข้อ ฟังไม่ ขึ้น ”
พิพากษายืน