แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบิดายอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นบุตรอายุเพียง 15 ปี ขับขี่รถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะออกไปตามถนนสาธารณะอันเป็นการเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดกับจำเลยที่ 1
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ ขับขี่รถยนต์ได้ขับขี่รถยนต์ซึ่งไฟหน้ารถด้านขวาไม่ติดของจำเลยที่ 2 บิดา โดยจำเลยมี……..ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่เฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 3 ที่ 5 ขับโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ทำให้โจทก์เสียหลัก จำเลยที่ 3 ที่ 5 เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 5 ตามลำดับ ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่า เหตุที่เกิดไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 5 จำเลยที่ 2 เคยว่ากล่าวตักเตือนไม่ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์อยู่เสมอ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6
จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ด้วย
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าเหตุเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 วินิจฉัยปัญหาข้อกฎมหายว่า การที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบิดายอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นบุตรอายุเพียง 15 ปี ขับขี่รถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะออกไปตามถนนสาธารณะอันเป็นการเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดกับจำเลยที่ 1 ฯลฯ
พิพากษาแล้วเป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฯลฯ