คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2483

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กฎกระทรวงว่าด้วยวิธีจัดการและตั้งอัตราเก็บเงินอากรค่าน้ำตามความใน พรบ อากรค่าน้ำข้อ 2 (ง) และข้อ 2 (1)(2) ข้อ 23 (5) เครื่องมือที่ใช้จับสัตว์น้ำจะเป็นเครื่องมือประจำที่หรือไม่ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้เครื่องมือนั้น ๆ เป็นราย ๆ ไป ใช้เผือกลงกั้นขวางเต็มครองในเวลาน้ำลงแล้วเอาลอบดักตามช่องเผือกคอยกู้ลอบเอาปลาดังนี้เรียกว่าใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำประจำที่ตาม พรบ อากรค่าน้ำมาตรา 19 และกฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน พรบ นั้น ข้อ 23 (5) คำว่า ที่สาธารณประโยชน์ตามกฎกระทรวงข้อ 23 (5) หมายถึงที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายทั่วไป หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าที่สาธารณประโยชน์ ในกฎข้อ 2 (ง) และข้อ 2(2)(3) ไม่ ที่สาธารณประโยชน์ตามกฎกระทรวงข้อ 2 (ง) นั้นเป็นคำประกอบความในตอนต้นของวรรคนั้นคือแสดงว่าเป็นที่สาธารณไม่หวงห้ามการจับสัตว์น้ำ

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสมคบกันใช้เผือกและลอบอันเป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำประจำที่ลงกั้นทำการจับสัตว์น้ำประจำที่ลงกั้นทำการจับสัตว์น้ำในคลองหัวนาเกลืออันเป็นที่สาธารณประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พรบ อากรค่าน้ำ ร.ศ. ๑๒๐ ม. ๑๗ ๑๙ กฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน พรบ อากรค่าน้ำ ร.ศ. ๑๒๐ ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้อ ๒๓ (๕)
ศาลชั้นต้นเห็นว่าเครื่องมือที่จำเลยใช้จับสัตว์น้ำในเรื่องนี้ไม่ใช่เครื่องมือประจำที่จำเลยไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง โจทก์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า เครื่องมือที่ใช้จะว่าเป็นเครื่องมือประจำที่หรือไม่ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้เครื่องมือนั้น ๆ เป็นราย ๆ ไปในคดีนี้ เครื่องมือที่จำเลยใช้มีเผือกลงกั้นขวางเต็มคลองในเวลาน้ำลง แล้วเอาลอยดักตามช่องเผือก คอยกู้ลอบเอาปลาจนน้ำลงหมด ไม่มีปลาเข้าลอบแล้วก็ถอนเผือกเลิกจับปลาจากที่นั้น การใช้ดังนี้เป็นการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำประจำที่ตามกฎกระทรวงข้อ ๒๓ (๕) ทั้ง จำเลยได้เอาเครื่องมือประจำที่นี้ใข้ทำการจับปลาในที่สาธารณประโยชน์จำเลยมีความผิดตามโจทก์หาพิพากษากลับว่า จำเลยมีผิดตามพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ ร.ศ. ๑๒๐ ม. ๑๙ และกฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน ม . ๑๓ แห่ง พรบ อากรค่าน้ำข้อ ๒๓ (๕)
จำเลยฎีกาว่า
๑. เผือกและลอบไม่ใช่เครื่องมือจับสัตว์น้ำประจำที่ตามความมุ่งหมายแห่งกฎหมาย
๒. ที่ ๆ จำเลยจับสัตว์น้ำไม่ใช่ ที่สาธารณประโยชน์ตามกฎกระทรวงข้อ ๒๓ (๕)
ศาลฎีกาเห็นว่า
๑. เผือกหรือลอบจะเป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำประจำที่หรือไม่ แล้วแต่ลักษณและอาการที่ใช้จับสัตย์น้ำเป็นราย ๆ ไป และเห็นว่า โดยฉะเพราะในคดีนี้เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำประจำที่ดังศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัย
๒. คำว่า ” ที่สาธารณประโยชน์ ” ตามกฎข้อ ๒๓ (๕) นี้ หมายความถึงที่สาธารณประโยชน์ในกฎข้อ ๒ (ง) และข้อ ๒(๒) (๓) ไม่ คำว่า ” ที่สาธารณประโยชน์” ตามกฎข้อ ๒ (ง) นั้นเป็นคำประกบความในตอนต้นของวรรคนั้น คือ แสดงว่าเป็นที่สาธารณไม่หวงห้ามการจับสัตว์น้ำ ผิดแผกไปจากที่หวงห้ามไว้สำหรับรักษาพืชพันธ์สัตว์น้ำหรือที่ซึ่ง อนุญาตให้เอกชนประมูลจับสัตว์น้ำตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน ๆ นั้น จำเลยทำการจับน้ำนี้จึงเป็นที่สาธารณประโยชน์ ตามกฎข้อ ๒๓ (๕)
พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share