แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ความผิดฐานมีและเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่แยกได้จึงเป็นความผิดหลายกรรม ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางน้ำหนัก1.26กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา106ทวิเพราะประกาศดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยและศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี จำเลยที่1มีอายุเพียง18ปี2เดือนกำลังศึกษาอยู่และเคยมีความประพฤติดีมีภาระต้องช่วยเหลือครอบครัวไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนและเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองมีเพียง18เม็ดน้ำหนัก1.26กรัมสมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษแต่กำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติและลงโทษปรับ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เวลา กลางคืนก่อน เที่ยง จำเลย ทั้ง สอง กับพวก อีก 1 คน ร่วมกัน กระทำผิด ต่อ กฎหมายหลายบท หลายกรรม ต่างกัน กล่าว คือ จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ดังกล่าว ร่วมกันมี เมทแอมเฟตามีน อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จำนวน 18 เม็ด น้ำหนัก1.26 กรัม ไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต และ เกิน ปริมาณ ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ได้ ประกาศ กำหนด ไว้ อันเป็น การฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย และ ร่วมกัน เสพ เมทแอมเฟตามีน อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์โดย นำ มา บด เป็น ผง ใส่ ใน กระดาษ ฟรอย ด์จุด ไฟ ลน เป็น ควัน แล้ว ผลัด เปลี่ยนหมุนเวียน กัน สูดควัน เข้า สู่ ร่างกาย โดย ใช้ กรวย พลาสติก เป็น อุปกรณ์การ เสพ ทั้งนี้ โดย ฝ่าฝืน กฎหมาย เหตุ เกิด ที่ แขวง บางด้วน เขต ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงาน จับ จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ได้ พร้อม ด้วย เมทแอมเฟตามีน กรวย พลาสติก สำหรับ เสพ 1 อันกระดาษ ฟรอย ด์ 1 อัน ซึ่ง มี คราบ เมทแอมเฟตามีน ติด อยู่ แต่ มี จำนวน น้อยและ ไฟ แช็ก 1 อัน ซึ่ง เป็น อุปกรณ์ ใน การ เสพ วัตถุ ออกฤทธิ์ เป็น ของกลางเมทแอมเฟตามีน ของกลาง หมด ไป ใน การ ตรวจ พิสูจน์ ก่อน คดี นี้ จำเลย ที่ 2เคย ต้อง คำพิพากษาถึงที่สุด ให้ ลงโทษ จำคุก มี กำหนด 8 ปี ฐาน ชิงทรัพย์โดย มี อาวุธปืน ตาม คำพิพากษา คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 4276/2533ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง ได้ กระทำ ใน ขณะ อายุ เกิน 17 ปี และ กลับมา กระทำความผิด คดี นี้ อีก ภายใน เวลา 5 ปี นับแต่ วัน พ้นโทษ มา แล้ว ขอให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4, 5, 6 (7 ทวิ ), 62, 62 ตรี , 106, 106 ทวิ , 106 ตรีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 92 ริบของกลาง และ เพิ่มโทษจำเลย ที่ 2 ตาม กฎหมาย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพ และ จำเลย ที่ 2 รับ ว่า เคย ต้องโทษและ พ้นโทษ จริง ตาม ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 6 (7 ทวิ ),62 วรรคหนึ่ง , 62 ตรี , 106 ทวิ , 106 ตรี การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สองเป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน ให้ ลงโทษ ทุกกรรม เป็น กระทง ความผิดไป ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลย ที่ 1 อายุ 19 ปีลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 หนึ่ง ใน สาม แล้วฐาน มี วัตถุ ออกฤทธิ์ ไว้ ใน ครอบครอง จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 4 ปี8 เดือน จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 7 ปี ฐาน เสพ วัตถุ ออกฤทธิ์ โดย ฝ่าฝืนกฎหมาย จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 8 เดือน จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด1 ปี รวม จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 5 ปี 4 เดือน รวม จำคุก จำเลย ที่ 2มี กำหนด 8 ปี เพิ่มโทษ จำเลย ที่ 2 หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 เป็น โทษ จำคุก 10 ปี 8 เดือน จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา นับ ว่า เป็นเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คง จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ มี กำหนด2 ปี 8 เดือน จำคุก จำเลย ที่ 2 ไว้ มี กำหนด 5 ปี 4 เดือนและ ริบของกลาง
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ ขอให้ ลงโทษ สถาน เบา และ ขอให้ รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ จำเลย ที่ 1หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 แล้ว ฐาน มี วัตถุ ออกฤทธิ์ไว้ ใน ครอบครอง จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 3 ปี 4 เดือน จำคุก จำเลยที่ 2 มี กำหนด 5 ปี รวมกับ โทษ จำคุก ใน ความผิด ฐาน เสพ วัตถุ ออกฤทธิ์ แล้วเป็น จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 4 ปี จำคุก จำเลย ที่ 2 ไว้ 6 ปี เพิ่มโทษจำเลย ที่ 2 หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็น จำคุกจำเลย ที่ 2 มี กำหนด 8 ปี ลดโทษ ให้ จำเลย ทั้ง สอง คน ละ กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คง ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 2 ปีจำคุก จำเลย ที่ 2 ไว้ 4 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า การกระทำ ความผิดของ จำเลย ที่ 1 เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท นั้น เห็นว่า การกระทำความผิด ของ จำเลย ที่ 1 โดย การ มี และ การ เสพ เมทแอมเฟตามีน ดังกล่าวเป็น การกระทำ ที่ อาจ แยก ได้ว่า มีไว้ ใน ครอบครอง ตอนหนึ่ง และ เสพอีก ตอนหนึ่ง จึง เป็น การกระทำ หลาย คราว อันเป็น ความผิด หลายกรรมหา เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ไม่ ฎีกาจำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น แต่เมื่อ ปรากฏว่า ใน ระหว่าง พิจารณารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ได้ ออก ประกาศกระทรวง สาธารณสุขฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538) เรื่อง กำหนด ปริมาณ การ มีไว้ ใน ครอบครองหรือ ใช้ ประโยชน์ ซึ่ง วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 1 หรือ ประเภท 2ตาม ความใน พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518ให้ยก เลิก ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ. 2536)เรื่อง กำหนด ปริมาณ การ มีไว้ ใน ครอบครอง หรือ ใช้ ประโยชน์ ซึ่งวัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 1 หรือ ประเภท 2 ตาม ความใน พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ลงวันที่ 19 มกราคม 2536และ กำหนด การ มีไว้ ใน ครอบครอง หรือ ใช้ ประโยชน์ ซึ่ง วัตถุ ออกฤทธิ์ ในประเภท 1 หรือ ประเภท 2 เมื่อ คำนวณ ปริมาณ เป็น สาร บริสุทธิ์ แล้วสำหรับ เมทแอมเฟตามีน ต้อง ไม่เกิน ปริมาณ 0.500 กรัม เมื่อ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏ ว่า เมทแอมเฟตามีน ของกลาง น้ำหนัก 1.26 กรัม คำนวณ เป็นสาร บริสุทธิ์ ได้ ปริมาณ เกินกว่า ที่ รัฐมนตรี กำหนด หรือไม่ จำเลย ทั้ง สองจึง ไม่มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะ ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538) เป็น คุณ แก่ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3จำเลย ทั้ง สอง คง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อ จิตและ ประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง , 106 วรรคหนึ่ง และ ศาลฎีกามีอำนาจ พิพากษา ถึง จำเลย ที่ 2 ซึ่ง มิได้ ฎีกา ด้วย เพราะ เป็นเหตุใน ลักษณะคดี ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213, 225คดี คง มี ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ขอให้ ลงโทษสถาน เบา และ รอการลงโทษ เห็นว่า เมทแอมเฟตามีน ที่ จำเลย มีไว้ ในครอบครอง มี เพียง 18 เม็ด น้ำหนัก 1.26 กรัม ขณะ กระทำ ความผิดจำเลย ที่ 1 มี อายุ เพียง 18 ปี 2 เดือน กำลัง ศึกษา เล่าเรียน อยู่ใน โรงเรียน ศึกษา ผู้ใหญ่ มี ภาระ ต้อง ช่วยเหลือ ครอบครัว โดย จำเลย ที่ 1เคย มี ความประพฤติ ดี และ ไม่เคย รับโทษ จำคุก มา ก่อน จึง เห็นสมควรให้ โอกาส จำเลย ที่ 1 กลับ ตัว เป็น พลเมือง ดี ต่อไป โดย รอการลงโทษแต่ ให้ กำหนด เงื่อนไข คุม ความประพฤติ จำเลย ที่ 1 ไว้ และ ลงโทษ ปรับอีก สถาน หนึ่ง ฎีกา จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ,106 วรรคหนึ่ง ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ จำเลย ที่ 1 หนึ่ง ใน สาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 แล้ว ฐาน มี วัตถุ ออกฤทธิ์ ไว้ ใน ครอบครองจำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 8 เดือน และ ปรับ 20,000 บาท ฐาน เสพวัตถุ ออกฤทธิ์ จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 8 เดือน และ ปรับ 14,000 บาทรวม จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 16 เดือน และ ปรับ 34,000 บาท จำเลย ที่ 2ฐาน มี วัตถุ ออกฤทธิ์ ไว้ ใน ครอบครอง จำคุก 1 ปี ฐาน เสพ วัตถุ ออกฤทธิ์จำคุก 1 ปี รวม จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 2 ปี เพิ่มโทษ จำเลย ที่ 2หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็น จำคุก จำเลย ที่ 2มี กำหนด 2 ปี 8 เดือน ลดโทษ ให้ จำเลย ทั้ง สอง คน ละ กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 8 เดือนและ ปรับ 17,000 บาท จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 1 ปี 4 เดือนโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ให้ จำเลย ที่ 1 ไป รายงาน ตัว ต่อพนักงานคุมประพฤติ ทุก กำหนด 2 เดือน ต่อ ครั้ง ภายใน กำหนด ที่ ศาลรอการลงโทษ ไว้ หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์