คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาฉ้อโกงว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้อันเป็นเท็จทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและมอบเงินค่าบริการแก่จำเลยไปและฟ้องอีกข้อหาหนึ่งว่าจำเลยกระทำความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานการกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย

ย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกันโดย เรียก จำเลย ตามลำดับ สำนวน ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 341 พระราชบัญญัติ จัดหางาน และคุ้มครอง คนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และ ขอให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน คืน หรือ ใช้ เงิน จำนวน 80,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 83 และ พระราชบัญญัติ จัดหางาน และคุ้มครอง คนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ให้ เรียง กระทง ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ฉ้อโกง จำคุก คน ละ 1 ปีฐาน จัดหางาน ให้ คนหางาน เพื่อ ไป ทำงาน ต่างประเทศ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาตจำคุก คน ละ 3 ปี รวม จำคุก คน ละ 4 ปี และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันคืน หรือ ใช้ เงิน แก่ ผู้เสียหาย คน ละ 20,000 บาท
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ใน ข้อหาความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528คง จำคุก จำเลย ทั้ง สอง คน ละ 1 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ว่าการกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น ความผิด ฐาน จัดหางาน โดย ไม่ได้ รับ อนุญาตหรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว ตาม ฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง สำนวน บรรยาย ถึงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ การกระทำ ความผิด ทั้ง สอง ฐาน แยก กัน มา โดย ฐานฉ้อโกง โจทก์ บรรยาย ใน ข้อ ก. ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ได้ บังอาจ ร่วมกันหลอกลวง ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก สามารถ จัด ส่งผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ไป ทำงาน ยัง ประเทศ สิงคโปร์ ได้ อันเป็นเท็จ ความจริง แล้ว จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ไม่สามารถ จัด ส่ง ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ไป ทำงาน ที่ ประเทศ สิงคโปร์ ได้ จำเลย ทั้ง สอง กับพวก แสดง ข้อความ อันเป็นเท็จ ดังกล่าว เพื่อ หลอกลวง ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ให้ มอบ เงินค่า ติดต่อ จัดหางาน ค่า เดินทาง และ ค่าใช้จ่าย อื่น ๆ แก่ จำเลย ทั้ง สองกับพวก และ โดย การ หลอกลวง ของ จำเลย ทั้ง สอง กับพวก เป็นเหตุ ให้ ผู้เสียหายทั้ง สี่ หลงเชื่อ ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก สามารถ จัดหางาน ให้ ผู้เสียหายทั้ง สี่ ทำ ใน ประเทศ สิงคโปร์ ได้ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ จึง มอบ เงิน ค่าบริการ และ ค่าใช้จ่าย จำนวน คน ละ 20,000 บาท ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สองกับพวก ไป และ ฐาน จัดหางาน โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต โจทก์ บรรยายฟ้องใน ข้อ ข. ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก บังอาจ ร่วมกัน ประกอบ ธุรกิจ จัดหางานให้ แก่ คนงาน เพื่อ ไป ทำงาน ต่างประเทศ และ จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ได้ร่วมกัน จัดหางาน ให้ แก่ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ซึ่ง เป็น คนหางาน เพื่อไป ทำงาน ที่ ประเทศ สิงคโปร์ โดย จำเลย ทั้ง สอง กับพวก เรียก และ รับ ค่าบริการ เป็น เงิน ตอบแทน จาก ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ คน ละ 20,000 บาทโดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก นายทะเบียน จัดหางาน กลาง เห็นว่า ตามคำบรรยายฟ้อง โจทก์ ข้อ ก. แม้ จะ มี ข้อความ ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวกไม่สามารถ จัด ให้ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ได้ ทำงาน ใน ต่างประเทศ ตาม ที่จำเลย ทั้ง สอง กับพวก กล่าวอ้าง แต่ ก็ ไม่มี ข้อความ ใด ที่ แสดง ให้ เห็นว่าจำเลย ทั้ง สอง กับพวก ไม่มี เจตนา ประกอบ ธุรกิจ จัดหางาน ตาม ที่ บรรยาย ไว้ใน ข้อ ข. การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง ตาม ฟ้อง จึง เป็น ความผิด ฐาน จัดหางาน โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก ฟ้องโจทก์ใน ข้อหา ความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น
อนึ่ง คดี นี้ หลังจาก ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 มี คำพิพากษา แล้วจำเลย ทั้ง สอง ยื่นฎีกา ใน ข้อหา ร่วมกัน ฉ้อโกง ศาลชั้นต้น มี คำสั่งไม่รับ ฎีกา เนื่องจาก คดี ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง จำเลย ที่ 2ได้ อุทธรณ์ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ไม่รับ ฎีกา คดี ข้อหา ร่วมกัน ฉ้อโกงอยู่ ใน ระหว่าง อุทธรณ์ คำสั่ง ต่อมา วันที่ 25 พฤษภาคม 2537 โจทก์ ยื่นคำแถลง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน คืน หรือ ใช้ เงิน แก่ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่จึง ขอ ถอน คำร้องทุกข์ ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341เป็น ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็น ความผิดอัน ยอมความ ได้ เมื่อ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ถอน คำร้องทุกข์ สิทธิ นำ คดีอาญามา ฟ้อง ย่อม ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่งมาตรา 82 จำคุก คน ละ 3 ปี ปรับ คน ละ 60,000 บาท ปรากฏ ตาม คำแถลงของ โจทก์ ว่า ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ได้รับ เงิน คืน จน เป็น ที่ พอใจ แล้วและ ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ ได้ ถอน คำร้องทุกข์ ใน ข้อหา ฉ้อโกง จึง เป็นกรณี ที่ จำเลย ทั้ง สอง รู้สึก ความผิด และ พยายาม บรรเทา ผล ร้าย แห่ง ความผิดนั้น อันเป็น เหตุบรรเทาโทษ ลดโทษ ให้ จำเลย ทั้ง สอง คน ละ หนึ่ง ใน สามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก คน ละ 2 ปี ปรับ คน ละ 40,000 บาทไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ทั้ง สอง เคย รับโทษ จำคุก มา ก่อน จึง เห็นสมควร ให้โอกาส จำเลย ทั้ง สอง กลับ ตัว เป็น พลเมือง ดี โดย การ รอการลงโทษ จำคุกจำเลย ทั้ง สอง ให้ มี กำหนด คน ละ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30คำขอ อื่น ให้ยก และ ให้ จำหน่ายคดี สำหรับ ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

Share