คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษจำนวนเท่าใดทั้งมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้จำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวจำนวนเท่าใดจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้การที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมเจ้าท่าจึงไม่ถูกต้องแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามเนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน เท ทิ้ง ปล่อย สิ่ง ปฏิกูลน้ำมัน เคมีภัณฑ์ และ ไขมัน ปน กับ น้ำมัน ลง ใน แม่น้ำ เจ้าพระยา อันเป็นทาง สัญจร ที่ ประชาชน ใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน เป็นเหตุ ให้ เกิด ความ สกปรกเป็น พิษ ต่อ สิ่ง มี ชีวิต หรือ ต่อ สิ่งแวดล้อม และ เป็น อันตราย ต่อ การเดิน เรือ ใน แม่น้ำ โดย มิได้ รับ อนุญาต และ ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย ขอให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 119,119 ทวิ , 204 พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2535 มาตรา 27, 28, 42 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 90
จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติการ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 119, 119 ทวิ , 204ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็นกรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 119 ทวิ อันเป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ปรับ 60,000 บาท จำเลย ที่ 2จำคุก 6 เดือน จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คง ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ปรับ 30,000 บาท จำเลย ที่ 2จำคุก 3 เดือน เมื่อ คำนึง ถึง เจตนารมณ์ ของ บทบัญญัติ มาตรา 119 ทวิแห่ง พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย ดังกล่าว เห็น ได้ว่า นอกจากจะ ได้ กำหนด บทลงโทษ แล้ว ผู้กระทำผิด ตาม มาตรา นี้ ยัง จะ ต้อง ชดใช้ เงินค่าใช้จ่าย ที่ ต้อง เสีย ไป ใน การ แก้ไข สิ่ง เป็น พิษ หรือ ชดใช้ ค่าเสียหายเหล่านั้น ด้วย เมื่อ พิเคราะห์ ถึง รายงาน การ สืบเสาะ และ พินิจ เกี่ยวกับจำเลย ทั้ง สอง ของ พนักงานคุมประพฤติ ประกอบ แล้ว จึง เห็นสมควรให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ กรมเจ้าท่า ซึ่ง เป็นเจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจ หน้าที่ บังคับ การ ให้ เป็น ไป ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว เป็น จำนวนเงิน 1,000,000 บาท ตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น การ ทำลาย ระบบ นิเวศน์วิทยา ซึ่ง เป็นสิ่งแวดล้อม ที่ มี ความ สำคัญ ต่อ การ ดำรง ชีวิต ของ ประชาชน กรณี จึง ไม่มีเหตุสมควร รอการลงโทษ จำคุก ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ส่วน จำเลย ที่ 1หาก ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ ขอให้ ลงโทษ และ กำหนด ค่าเสียหาย ใน สถาน เบากับ ให้ รอการลงโทษ จำเลย ที่ 2
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า ตาม วัน เวลาและ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง กระทำผิด ตาม ฟ้อง จริงปัญหา แรก ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ว่า โทษ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 กำหนด ไว้เหมาะสม หรือไม่ เห็นว่า ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ในน่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 119, 119 ทวิ , 204 เป็น ความผิดที่ ทำให้ เป็น พิษ ต่อ สิ่ง ที่ มี ชีวิต และ สิ่งแวดล้อม เป็น อันตราย ต่อ การเดิน เรือ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วางโทษ จำเลย ที่ 1 ปรับ 60,000 บาทนั้น เหมาะสม กับ พฤติการณ์ แล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 1 ส่วน นี้ ฟังไม่ขึ้นส่วน จำเลย ที่ 2 ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วางโทษ จำคุก 6 เดือน โดย ไม่ รอการ ลงโทษ จำคุก ให้ จำเลย ที่ 2 นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ตาม รายงาน การสืบเสาะ และ พินิจ ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เพียง พนักงาน รักษาความปลอดภัย ของ จำเลย ที่ 1 ได้ มา ช่วย ทำงาน ใน หน้าที่ พิเศษ ทั้งไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 2 เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน ประกอบ กับ โทษที่ วาง ไว้ สำหรับ จำเลย ที่ 2 เป็น โทษ จำคุก ระยะ สั้น หาก รอการลงโทษจำคุก เพื่อ ให้ โอกาส จำเลย ที่ 2 ประพฤติ ตน เป็น พลเมือง ดี ต่อไปย่อม จะ เป็น ผล ดี ยิ่งกว่า ลงโทษ จำคุก ไป เสีย ทีเดียว ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองพิพากษา ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 2 โดย ไม่รอการลงโทษ จำคุก ให้ นั้นศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ที่ 2 ฟังขึ้น บางส่วน แต่ เพื่อ ให้จำเลย ที่ 2 หลา บจำ เห็นสมควร ลงโทษ ปรับ ด้วย
ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ กรมเจ้าท่า เป็น เงิน 1,000,000 บาทสูง เกิน ไป จาก ความ เป็น จริง นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ มิได้ บรรยายฟ้องมา ว่า กรมเจ้าท่า ได้เสีย ค่าใช้จ่าย ที่ ต้อง เสีย ไป ใน การ แก้ไข สิ่งเป็น พิษ เป็น จำนวน เท่าใด อีก ทั้ง มิได้ ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย ส่วน นี้ จำนวน เท่าใด และ ข้อเท็จจริง ก็ ไม่ปรากฏ ว่ากรมเจ้าท่า ได้เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ แก้ไข สิ่ง เป็น พิษ เป็น จำนวนเท่าใด จึง ไม่อาจ กำหนด ค่าเสียหาย ส่วน นี้ ให้ แก่ กรมเจ้าท่า ได้แม้ ปัญหา ข้อ นี้ จำเลย ทั้ง สอง จะ มิได้ ฎีกา ขึ้น มา ก็ ตาม เนื่องจาก เป็นปัญหา เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้การ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนด ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่กรมเจ้าท่า จึง ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ไม่จำต้อง วินิจฉัยฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 กำหนด ให้ ใช้ ค่าเสียหายแก่ กรมเจ้าท่า สูง เกิน ความ เป็น จริง หรือไม่ อีก ต่อไป ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ปรับ จำเลย ที่ 2 เป็น เงิน 60,000 บาทอีก สถาน หนึ่ง ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคง ปรับ 30,000 บาท โทษ จำคุก จำเลย ที่ 2 ให้ รอการลงโทษ ไว้มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และ ให้ยก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ใน ส่วน ที่ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหายให้ แก่ กรมเจ้าท่า ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจ หน้าที่ บังคับ การ ให้เป็น ไป ตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าว เป็น จำนวนเงิน 1,000,000 บาทนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share