คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2477

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

อย่างไรเรียกว่าหนังสือราชการใบเบิกล่องที่เจ้าพนักงาออกให้นั้นเป็นหนังสือราชการ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ม.27-99 ใบเบิกล่องตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บังคับให้ นำไปแสดงก็ดี แต่ถ้าผู้นำไปแสดงแสดงแทนรายการสินค้าแล้ว และเป็นเท็จขึ้นก็ต้องมีความผิด ปลอมหนังสือ ขูดแก้รายการสินค้าในใบเบิกล่องแล้วนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่แทนรายการสินค้านั้นมีผิดฐานปลอมหนังสือ

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสมคบกันกระทำความผิด
(๑) จำเลยเป็นเจ้าของแลนายเรือได้บรรทุกน้ำตาลซึ่งจะต้องเสียภาษีผ่านด่านศุลกากรเข้ามา
(๒) จำเลยได้ขูดแก้รายการสินค้าออกเสียจากเอกสารใบสั่งปล่อยอันเป็นหนังสือราชการของเจ้าพนักงานตรังกานู
(๓) จำเลยได้นำเอกสารปลอมดั่งกล่าวแล้วมานำแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร เจ้าพนักงานศุลกากรหลงเชื่อว่าเป็นหนังสือที่แท้จริง จึงขอให้ลงโทษ
ศาลเดิมตัดสินว่าจำเลยที่ ๑ แลที่ ๓ มีผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.๒๔๖๙ ม.๒๗-๓๑-๙๙ แลกฎหมายอาชญามาตรา ๑๑๘-๒๒๒-๒๒๗ แต่เป็นความผิดวาระเดียวกันตาม ม.๗๐ ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร จำคุกคนละ ๖ เดือนปรับคนละ ๒๐๐๐ บาท ส่วนจำเลยที่ ๒ มีผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ม.๒๗ ให้ปรับ ๑๐๐๐ บาทแลให้ริบเรือกับน้ำตาลเสี
ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลเดิมว่าจำเลยที่ ๑ แลที่ ๓ มีผิดฐานใช้หนังสือราชการซึ่งรู้สึกว่าเป็นหนังสือปลอมตาม ม.๒๒๔ ด้วย ส่วนจำเลยที่ ๓ ไม่ผิดตาม ม.๑๑๘ ส่วนกำหนดโทษที่วางนั้นชอบแล้ว นอกนั้นยืนตาม
จำเลยฎีกาว่า
(๑) ที่ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่าจำเลยปลอมหนังสือราชการนั้นเป็นการวินิจฉัยตามอำเภอใจไม่มีพะยานอ้างอิง
(๒) พ.ร.บ.ศุลกากรไม่มีมาตราใดบังคับให้นายเรือแสดงใบเบิกล่องต่อด่านภาษีแลว่าใบเบิกล่องเป็นเสมือนใบเสร็จแสดงว่าได้ชำระเงินค่าเบิกล่องแล้ว
ศาลฎีกาเห็นว่ตามข้อ ๑ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบด้วยเหตุผลแล้ว ส่วนข้อ ๒ เห็นว่าแม้ พ.ร.บ.ศุลกากรจะไม่ได้บังคับว่าให้ส่งต่อเจ้าพนักงานด่านภาษีก็ดี เมื่อจำเลยนำมายื่นต่อเจ้าพนักงานแทนรายการสินค้าเพื่อแสดงว่าได้บรรทุกสินค้ามาอย่างไร แลเมื่อใบเบิกลองเป็นหนังสือปลอมจำเลยจึงต้องรับผิด จึงพิพากษาให้ยกฎีกาจำเลย

Share