คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่1โอนที่ดินน.ส.3เลขที่359และให้จำเลยที่2โอนที่ดินน.ส.3เลขที่517คืนสู่กองมรดกจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินทั้งสองแปลงระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่1เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่2โอนที่ดินน.ส.3เลขที่517คืนราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามราคาที่ดินแปลงนี้เท่านั้นและต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ในขณะฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเมื่อมีราคา40,000บาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ สมคบ กัน ฉ้อฉล ยักย้าย และปิดบัง ทรัพย์มรดก ที่ดิน เท่ากับ หรือ มาก กว่า ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สอง มีสิทธิ จะ ได้รับ โดย รู้ อยู่ ว่า ตน ทำให้ เสื่อม ประโยชน์ ของ โจทก์ ทั้ง สองและ ทายาท อื่น จำเลย ทั้ง สอง จึง ถูก กำจัด มิให้ ได้รับ มรดก เลย ขอให้พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง ถูก กำจัด มิให้ รับมรดก ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เลขที่517 และ 359 กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง จดทะเบียน โอน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลงดังกล่าว คืน สู่ กอง มรดก ของ เรืออากาศเอก นิมิตร หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ ดำเนินการ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ สมคบ กับ จำเลย ที่ 2ยักย้าย และ ปิดบัง ทรัพย์มรดก ฟ้องเคลือบคลุม คดี ขาดอายุความขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่เคย ยักยอก ทรัพย์มรดก ของเรืออากาศเอก นิมิตร จำเลย ที่ 2 เป็น เพียง ทายาท ผู้ได้รับ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ เนื่องจาก ไม่ได้ฟ้อง ขอ แบ่งปัน มรดก ภายใน 1 ปี นับแต่ เจ้ามรดก ถึงแก่กรรม ไม่ได้ ฟ้องขอ เพิกถอน การ ฉ้อฉล ภายใน 1 ปี นับแต่ มี การ ฉ้อฉล โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้บอกกล่าว ขอ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ทั้ง สอง ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 1 ศาลชั้นต้นอนุญาต
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นว่า ทุนทรัพย์ ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน50,000 บาท อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริงต้องห้าม อุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคหนึ่ง พิพากษายก อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า คดี โจทก์ ทั้ง สอง ในชั้นอุทธรณ์ มี ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน เท่าไรเห็นว่า ใน ศาลชั้นต้น โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดินน.ส. 3 เลขที่ 359 และ ให้ จำเลย ที่ 2 โอน ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 517 คืนสู่ กอง มรดก ของ เรืออากาศเอก นิมิตร ดับทุกข์รัฎฐ์ จึง เป็น คดี มี ทุนทรัพย์ ตาม ราคา ที่ดิน ดังกล่าว ทั้ง สอง แปลง ซึ่ง โจทก์ ตีราคา ที่ดินทั้ง สอง แปลง รวมกัน มา เป็น เงิน 90,000 บาท ใน ระหว่าง พิจารณา ของศาลชั้นต้น โจทก์ ทั้ง สอง ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 1 เนื่องจาก จำเลย ที่ 1ยอม โอน ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 359 บางส่วน ให้ โจทก์ ทั้ง สอง แล้ว เมื่อศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง จึง อุทธรณ์ ขอให้ จำเลย ที่ 2โอน ที่ดิน น.ส. 3 ที่ จำเลย ที่ 2 ได้รับ คือ ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 517เพียง แปลง เดียว เท่านั้น ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันใน ชั้นอุทธรณ์ จึง ต้อง ถือ ตาม ราคา ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 517 เท่านั้นและ จำนวน ทุนทรัพย์ หรือ ราคา ที่ดิน ที่พิพาท ต้อง ถือ ตาม จำนวน ทุนทรัพย์ ในขณะ ฟ้องคดี ต่อ ศาลชั้นต้น หาใช่ จะ ต้อง มา ตีราคา ที่ดินพิพาท ใน ขณะยื่น อุทธรณ์ อีก ไม่ ดังนั้น ราคา ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 359 และ 517รวมกัน เป็น เงิน 90,000 บาท ปรากฏ จาก คำฟ้อง ว่า ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่517 ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ มี ราคา 40,000 บาท จึง เป็น ราคาทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ เพียง40,000 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้าม อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริงตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ชอบแล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share