แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การนำบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3มาใช้บังคับเพื่อเป็นคุณนั้นต้องเป็นกรณีนำมาใช้บังคับแก่ความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำความผิดจะนำมาใช้บังคับแก่ความรับผิดตามสัญญาประกันซึ่งเป็นความผิดทางแพ่งหาได้ไม่โดยสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับกันได้โดยสมบูรณ์เพียงใดหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญานั้นและการฟ้องบังคับให้ผู้ประกันชำระเงินตามสัญญาดังกล่าวมิใช่การฟ้องเรียกเงินตามเช็คเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ10ปี จำเลยที่1ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกจับกุมในข้อหาออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คเป็นเงิน60,000บาทไปจากความควบคุมของโจทก์ในขณะที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ใช้บังคับโดยสัญญาว่าจะนำตัวผู้ต้องหาส่งให้โจทก์ตามกำหนดนัดถ้าผิดสัญญายินยอมใช้เงิน60,000บาทสัญญาประกันจึงชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับกันได้โดยสมบูรณ์เมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาจึงต้องรับผิดใช้เงิน60,000บาทให้แก่โจทก์โดยบทบัญญัติเรื่องประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534ไม่อาจนำมาใช้บังคับได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 17 ตุลาคม 2532 จำเลย ทั้ง สองได้ ยื่น คำร้องขอ ประกันตัว นาง เปรมปรีย์ มาสกรานต์ ผู้ต้องหา ว่า กระทำผิด ฐาน ออก เช็ค โดย เจตนา จะ ไม่ให้ มี การ ใช้ เงิน ตามเช็ค ไป จากความ ควบคุม ของ โจทก์ โดย จำเลย ที่ 2 ได้ ทำ สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหากับ โจทก์ ตาม สำเนา สัญญาประกัน เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 ทั้งนี้โดย จำเลย ที่ 1 ได้ มอบ ให้ จำเลย ที่ 2 นำ หลักทรัพย์ ที่ดิน ตาม สำเนาโฉนด ที่ดิน เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 1 ของ จำเลย ที่ 1 มา เป็น หลักประกันใน การ ประกันตัว ผู้ต้องหา นั้น โดย จำเลย ทั้ง สอง สัญญา ว่า จะ ส่งตัว ผู้ต้องหา ให้ โจทก์ ตาม ที่ โจทก์ ได้ กำหนด นัด ทุกครั้ง ถ้า จำเลยทั้ง สอง ผิดสัญญา ไม่นำ ตัว ผู้ต้องหา ส่ง ให้ โจทก์ ตาม กำหนด นัด จำเลยทั้ง สอง ยินยอม ใช้ เงิน จำนวน 60,000 บาท แก่ โจทก์ ต่อมา วันที่22 ธันวาคม 2532 โจทก์ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง นำตัว ผู้ต้องหาส่ง ให้ โจทก์ ใน วันที่ 28 ธันวาคม 2532 เวลา 9 นาฬิกา จำเลย ทั้ง สองทราบ กำหนด นัด แล้ว แต่ ไม่นำ ตัว ผู้ต้องหา ส่ง ให้ โจทก์ ใน วัน เวลา ดังกล่าวจำเลย ทั้ง สอง จึง ผิดสัญญา ประกัน และ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ใช้ เงิน จำนวน60,000 บาท ตาม สัญญา แก่ โจทก์ โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง นำ เงินจำนวน ดังกล่าว ชำระ ให้ โจทก์ แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ชำระ จำเลย ทั้ง สองจึง ผิดนัด ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงินจำนวน 60,000 บาท นับแต่ วันที่ ผิดนัด คือ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 9,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน 69,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี จาก ต้นเงิน 60,000 บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหาไป จาก โจทก์ ใน ฐานะ ส่วนตัว จำเลย ที่ 1 มิได้ ทำ สัญญา หรือ ยินยอมร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้องบังคับ ให้จำเลย ที่ 1 รับผิด ต่อ โจทก์ และ หาก จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาประกัน ตามเอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 กับ โจทก์ แทน จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 2ก็ ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ ส่วนตัว จำเลย ทั้ง สอง มิได้ ผิดสัญญาประกัน เพราะ ผู้ต้องหา ได้ ตกลง ประนีประนอม ยอมความ กับ ผู้เสียหายแล้ว และ ผู้เสียหาย ไม่ติดใจ ดำเนินคดี กับ ผู้ต้องหา อีก ต่อไปจำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่มี นิติสัมพันธ์ ที่ จะ ต้อง นำ ผู้ต้องหา มา มอบ ให้ โจทก์หาก จำเลย ผิดสัญญา ประกัน ก็ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพียง 20,000 บาทเนื่องจาก พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 บัญญัติ เป็น คุณ แก่ จำเลย โดย ระบุ ว่า ใน การ ปล่อย ตัว ชั่วคราวผู้ต้องหา ใน คดี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ นั้น ให้ ใช้ หลักประกันตัว ผู้ต้องหา เพียง จำนวน หนึ่ง ใน สาม ของ จำนวนเงิน ตามเช็ค เท่านั้นฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ แล้ว เพราะ โจทก์ ไม่ได้ ฟ้อง ภายใน กำหนด 1 ปีนับแต่ วันที่ จำเลย ทั้ง สอง ผิดสัญญา คือ ตั้งแต่ วันที่ 22 ธันวาคม 2533ทั้ง ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 ก็ เป็น ฟ้องเคลือบคลุม เพราะ ไม่ได้บรรยาย ให้ แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ว่า จำเลย ที่ 2 มี นิติสัมพันธ์กับ โจทก์ และ จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ ใด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น คู่สัญญา กับ โจทก์ส่วน จำเลย ที่ 2 มิได้ เป็น คู่สัญญา และ พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงินจำนวน 60,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ โดย ดอกเบี้ยคำนวณ ถึง วันฟ้อง ไม่เกิน 9,000 บาท ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า คดี นี้ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลย ที่ 1ฎีกา เฉพาะ ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐานใน สำนวน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ที่ เป็น ยุติ แล้ว ว่าเมื่อ วันที่ 17 ตุลาคม 2532 จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาประกัน ตัวนาง เปรมปรีย์ มาสกรานต์ ผู้ต้องหา ใน คดี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่ง ต้อง หา ว่าออก เช็ค สั่งจ่าย เงิน จำนวน 60,000 บาท โดย เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มี การใช้ เงิน ตามเช็ค ไป จาก ความ ควบคุม ของ โจทก์ ตาม สัญญาประกัน เอกสาร หมาย จ. 6โดย สัญญา ว่า จะ ส่งตัว ผู้ต้องหา ให้ ตาม กำหนด นัด ของ โจทก์ หาก ผิดสัญญายอม ใช้ เงิน จำนวน 60,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา จำเลย ที่ 1ผิดสัญญา ประกัน ไม่นำ ตัว ผู้ต้องหา ส่ง ให้ โจทก์ ตาม กำหนด วัน เวลา นัด
พิเคราะห์ แล้ว ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ว่าจำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ใช้ เงิน ให้ โจทก์ เพียง 20,000 บาท คือหนึ่ง ใน สาม ของ จำนวน ของ ยอดเงิน ที่ ระบุ สั่งจ่าย ใน เช็ค เพราะ หลังจากจำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหา แล้ว ได้ มี พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ออก ใช้ โดยพระราชบัญญัติ ดังกล่าว บัญญัติ ว่าการ ประกันตัว ผู้ต้องหา ใน คดี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ นั้น ให้ ใช้ หลักประกัน เพียง หนึ่ง ใน สาม ของ จำนวนเงินตามเช็ค เท่านั้น จึง ต้อง ใช้ กฎหมาย ดังกล่าว ซึ่ง เป็น กฎหมาย ที่ เป็นคุณ แก่ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ได้ ประกันตัว ผู้ต้องหา ใน คดี ดังกล่าว โดย ต้องลด หลักประกัน ตัว ผู้ต้องหา ลง เหลือ เพียง หนึ่ง ใน สาม ของ จำนวนเงินตามเช็ค ตาม กฎหมาย ที่ เป็น คุณ โดย ปริยาย นั้น เห็นว่า ความรับผิดของ จำเลย ที่ 1 ต่อ โจทก์ ใน คดี นี้ เกิดขึ้น จาก สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหาตาม สัญญาประกัน เอกสาร หมาย จ. 6 ที่ จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำ ไว้ กับ โจทก์สัญญา ดังกล่าว มีผล บังคับ กัน ได้ โดย สมบูรณ์ เพียงใด หรือไม่ ย่อม ต้องพิจารณา จาก กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ ทำ สัญญา นั้น เมื่อ ได้ความ ว่านาง เปรมปรีย์ ผู้ต้องหา ถูกจับ กุม ใน ข้อหา ออก เช็ค โดย มี เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มี การ ใช้ เงิน ตามเช็ค เป็น เงิน 60,000 บาท ซึ่ง ตามบทบัญญัติ แห่ง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 ข้อ 1 อันเป็น กฎหมาย ที่ ใช้บังคับ ใน ขณะ เกิดเหตุ คดี นี้ ได้ ระบุ ให้ พนักงานสอบสวน มีอำนาจ สั่งปล่อย ชั่วคราว โดย มี ประกัน หรือ หลักประกัน ไม่เกิน จำนวนเงิน ตามเช็คที่ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหา ไป จาก ความ ควบคุม ของ โจทก์ตาม สัญญาประกัน เอกสาร หมาย จ. 6 โดย สัญญา ว่า จะ นำตัว ผู้ต้องหาส่ง ให้ โจทก์ ตาม กำหนด นัด ถ้า ผิดสัญญา ยินยอม ใช้ เงิน 60,000 บาทซึ่ง ไม่เกิน จำนวนเงิน ตามเช็ค ที่ ผู้ต้องหา สั่งจ่าย สัญญาประกันเอกสาร หมาย จ. 6 จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ ทำ สัญญา นั้นและ มีผล บังคับ กัน ได้ โดย สมบูรณ์ ดังนั้น เมื่อ จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญาไม่นำ ผู้ต้องหา ส่ง ให้ โจทก์ ตาม กำหนด นัด จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง รับผิดใช้ เงิน จำนวน 60,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ แม้ หลังจาก ที่ จำเลย ที่ 1ได้ ทำ สัญญาประกัน เอกสาร หมาย จ. 6 กับ โจทก์ ดังกล่าว แล้ว ได้ มีพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534ออก มา ใช้ บังคับ โดย พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ได้ ยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515ซึ่ง บัญญัติ ให้ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือ ศาล สั่ง ปล่อย ชั่วคราวผู้ต้องหา หรือ จำเลย ใน คดี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าว โดย มีประกัน แต่ ไม่มี หลักประกัน หรือ มี ประกัน และ หลักประกัน ไม่เกินหนึ่ง ใน สาม ของ จำนวนเงิน ตามเช็ค ก็ ไม่อาจ นำ บทบัญญัติ ของ พระราชบัญญัติดังกล่าว มา ใช้ บังคับ ให้ ความรับผิด ของ จำเลย ที่ 1 ตาม สัญญาประกันเอกสาร หมาย จ. 6 ลดลง เหลือ เพียง ไม่เกิน หนึ่ง ใน สาม ของ จำนวนเงินตามเช็ค คือ ไม่เกิน 20,000 บาท ใน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญาไม่นำ ตัว ผู้ต้องหา ส่ง ให้ โจทก์ ตาม กำหนด นัด ตาม ที่ จำเลย ที่ 1ฎีกา นั้น ได้ เพราะ การ ที่ จะ นำ บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 มา ใช้ บังคับ ใน ฐานะ กฎหมาย ที่ เป็น คุณ ได้ นั้น จะ ต้อง เป็น กรณีที่ นำ มา ใช้ บังคับ แก่ ความรับผิด ทางอาญา ของ ผู้กระทำ ความผิด เท่านั้นจะ นำ มา ใช้ บังคับ แก่ ความรับผิด ของ จำเลย ตาม สัญญาประกัน ซึ่ง เป็นความรับผิด ทางแพ่ง หาได้ไม่ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ต่อไป ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ เพราะ มูลหนี้คดี นี้ เกิดจาก การ ผิดสัญญา ประกัน ผู้ต้องหา เกี่ยวกับ ความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค การ ฟ้อง ให้ ชำระ เงิน ตามเช็ค มี อายุความ เพียง 1 ปีการ ผิดสัญญา ประกัน ผู้ต้องหา ก็ ต้อง ถือ อายุความ 1 ปี เช่นเดียวกันมิใช่ มี อายุความ 10 ปี นั้น เห็นว่า การ ฟ้องบังคับ ให้ ผู้ประกันชำระ เงิน ตาม สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหา ใน คดี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มิใช่ เป็น การ ฟ้อง เรียกเงินตามเช็ค จึง ไม่อยู่ ใน บังคับ ของ อายุความ ใน การ ฟ้อง เรียกเงิน ตามเช็คเมื่อ การ ฟ้องบังคับ ให้ ผู้ประกัน ใช้ เงิน ตาม สัญญาประกัน ตัว ผู้ต้องหาไม่มี กฎหมาย บัญญัติ อายุความ ไว้ โดยเฉพาะ จึง มี กำหนด อายุความ 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30ที่ ได้ ตรวจ ชำระ ใหม่ ) ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น อีก เช่นกัน ”
พิพากษายืน