คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ที่2ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันลักหรือใช้จ้างวานผู้อื่นลักเอาต้นฉบับเอกสารใบตราส่งของโจทก์ที่1ซึ่งโจทก์ที่2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนแล้วจำเลยที่1ปลอมลายมือชื่อและประทับตราปลอมของโจทก์ที่1บนใบตราส่งดังกล่าวเพื่อขอรับหนังสือใบสั่งให้ส่งมอบสินค้าปลอมหนังสือคำร้องขอแก้ไขบัญชีสินค้าหนังสือโอนกรรมสิทธิ์สินค้าบัญชีราคาสินค้าบัญชีแจ้งรายการบรรจุหีบห่อแล้วใช้เอกสารปลอมดังกล่าวยื่นต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเพื่อให้หลงเชื่อว่าโจทก์ที่1ขอให้แก้ใบตราส่งจากโจทก์ที่1มาเป็นจำเลยที่1เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองฟังได้ว่าโจทก์ที่1ผู้รับสินค้าตามใบตราส่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายจึงเป็นผู้เสียหายส่วนโจทก์ที่2ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ที่1มิได้รับความเสียหายเป็นพิเศษอย่างใดไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องและเมื่อมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการโดยโจทก์ที่2ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ที่1ต่อไปโจทก์ที่2จึงไม่มีอำนาจฎีกาแทนโจทก์ที่1ส่วน ศ. และ ค. นั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ที่1ถอนจากการเป็นทนายความได้ย่อมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจฎีกาในคดีได้

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334, 335(7), (11) วรรคสอง , 188, 264, 265, 268, 137, 83,84, 90, 91 พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 16
ระหว่าง ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง โจทก์ ที่ 1 ได้ เปลี่ยน ตัวกรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง ได้ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ใหม่ และ ยื่น คำร้องขอ ถอนฟ้อง และ ถอน ทนายความ เดิม ทุกคนของ โจทก์ ที่ 1 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ โจทก์ ที่ 1 ถอนฟ้อง และถอน ทนายความ เดิม ของ โจทก์ ที่ 1 ให้ จำหน่ายคดี ใน ส่วน ของ โจทก์ ที่ 1ออกจาก สารบบความ
ใน ส่วน คดี ของ โจทก์ ที่ 2 ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ ให้งด การ ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ที่ 2 อุทธรณ์
โจทก์ ที่ 1 โดย กรรมการ เดิม โจทก์ ที่ 2นาย ศักดิ์ เวชประสิทธิ์ และ นาย คเณศ เขมฤกษ์อำพล อุทธรณ์ คำสั่ง ที่ อนุญาต ให้ ถอนฟ้อง และ ถอน ทนายความ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ที่ 2 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์อนุญาต ให้ ฎีกา
โจทก์ ที่ 1 โดย กรรมการ เดิม โจทก์ ที่ 2นาย ศักดิ์ เวชประสิทธิ์ และ นาย คเณศ เขมฤกษ์อำพล ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “สำหรับ ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 2 ฉบับ ลงวันที่ 6มิถุนายน 2537 ซึ่ง โจทก์ ที่ 2 ได้รับ อนุญาต ให้ ฎีกา นั้น เห็นว่าโจทก์ ที่ 2 บรรยาย คำฟ้อง กล่าวหา ว่า โจทก์ ที่ 2 เป็น กรรมการ ผู้จัดการผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์ ที่ 1 จำเลย ทั้ง สาม กับพวก ร่วมกัน ลัก หรือใช้ จ้าง วาน ผู้อื่น ลัก เอา ต้นฉบับ เอกสาร ใบตราส่ง ของ โจทก์ ที่ 1แล้ว จำเลย ที่ 1 ทำการ ปลอม ลายมือชื่อ และ ประทับตรา ยาง ปลอมของ โจทก์ ที่ 1 บน ใบตราส่ง ดังกล่าว เพื่อ ขอรับ หนังสือ ใบ สั่งให้ ส่งมอบ สินค้า ทำการ ปลอม หนังสือ คำร้องขอ แก้ไข บัญชี สินค้าทำการ ปลอม หนังสือ โอน กรรมสิทธิ์ สินค้า ทำการ ปลอม บัญชี ราคา สินค้าทำการ ปลอม บัญชี แจ้ง รายการ บรรจุ หีบ ห่อ ซึ่ง เป็น เอกสารสิทธิ แล้วใช้ หนังสือ เอกสารสิทธิ ปลอม ดังกล่าว ยื่น ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เพื่อ ให้ หลงเชื่อ ว่า โจทก์ ที่ 1 ขอให้ แก้ ใบตราส่งจาก โจทก์ ที่ 1 มา เป็น จำเลย ที่ 1 เพื่อ โอน กรรมสิทธิ์ สินค้า และส่งมอบ สินค้า ให้ จำเลย ที่ 1 การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม กับพวกเป็นเหตุ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น คำฟ้อง ที่ ฟังได้ ว่าผู้รับ สินค้า ตาม ใบตราส่ง คือ โจทก์ ที่ 1 มิใช่ โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ที่ 1เป็น ผู้ได้รับ ความเสียหาย จาก การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม โดยตรงโจทก์ ที่ 1 จึง เป็น ผู้เสียหาย คดี นี้ โจทก์ ที่ 2 ฟ้องคดี ใน ฐานะผู้ถือหุ้น ของ โจทก์ ที่ 1 และ ใน ฐานะ กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทนโจทก์ ที่ 1 โดย ไม่ปรากฏ ว่า ได้รับ ความเสียหาย เป็น พิเศษ แต่อย่างใดแม้ จะ ได้รับ ผล กระทบ ใน ฐานะ ผู้ถือหุ้น ก็ ตาม โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับ ความเสียหาย จาก การกระทำ ความผิด อาญา ฐาน ใด ฐาน หนึ่งตาม คำฟ้อง ที่ จะ ถือได้ว่า โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้เสียหาย ใน คดี นี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โจทก์ ที่ 2 ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลยทั้ง สาม ฎีกา โจทก์ ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 1 โดย กรรมการ เดิม โจทก์ ที่ 2นาย ศักดิ์ เวชประสิทธิ์ และ นาย คเณศ เขมฤกษ์อำพล ฉบับ ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2537 นั้น เห็นว่า เมื่อ โจทก์ ที่ 2 กรรมการ เดิม ไม่ใช่กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์ ที่ 1 ตาม กฎหมาย อีก ต่อไป แล้วเพราะ กรรมการ ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์ ที่ 1 ได้ มี การ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ใหม่ โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่มี อำนาจ ฎีกา แทน โจทก์ ที่ 1 และโจทก์ ที่ 2 ก็ ไม่ใช่ ผู้เสียหาย ตาม ที่ ได้ วินิจฉัย แล้ว จึง ไม่มี อำนาจฎีกา ส่วน นาย ศักดิ์และนายคเณศ นั้น เมื่อ ตัวความ คือ โจทก์ ที่ 1 ขอ ถอน ออกจาก การ เป็น ทนายความ ซึ่ง เป็น สิทธิ โดยชอบ ธรรม ของ ตัวความ และศาล อนุญาต แล้ว ย่อม มีผล ใน ทันที นาย ศักดิ์และนายคเณศ จึง ไม่ใช่ ทนายความ ของ โจทก์ ที่ 1 ใน คดี นี้ อีก ต่อไป จึง ถือว่า นาย ศักดิ์ และ นาย คเณศ ย่อม ไม่ใช่ ผู้ได้รับ ความเสียหาย จาก คำสั่ง อนุญาต ให้ ถอน ทนายความ จึง ไม่มี อำนาจ ฎีกา ใน คดี นี้ ได้ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งรับ ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 1 โดย กรรมการ เดิม โจทก์ ที่ 2 นาย ศักดิ์ และ นาย คเณศ มา นั้น ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้ ”
พิพากษายืน สำหรับ ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 2 และ ยก ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 1โดย กรรมการ เดิม โจทก์ ที่ 2 นาย ศักดิ์ เวชประสิทธิ์ และ นาย คเณศ เขมฤกษ์อำพล

Share