คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้การยกให้ที่ดินพิพาทของ ก. และ ช. กับโจทก์ที่4และที่5จะไม่ได้จดทะเบียนแต่โจทก์ที่4และที่5ก็ได้เข้าครอบครองถือกรรมสิทธิ์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์การที่ ช.มอบอำนาจให้โจทก์ที่4และที่5ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในภายหลังเป็นเพียงไปจดทะเบียนให้สมบูรณ์ตามกฎหมายเพื่อใช้ยันบุคคลภายนอกเท่านั้นหาทำให้การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวต้องเสียไปแต่อย่างใดไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมและใหม่ต่างบัญญัติถึงทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาในส่วนนอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินบริคณห์และสินสมรสตามลำดับสินบริคณห์และสินสมรสตามกฎหมายใหม่จึงมีความหมายทำนองเดียวกันคือเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาการที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสถือว่าได้กล่าวอ้างถึงสินบริคณห์จึงรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าโจทก์มีสิทธิเพิกถอนการโอนและการจำนองโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยหรือไม่แล้วอุทธรณ์และฎีกาเรื่องสินบริคณห์นี้จึงเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นโจทก์จึงยกขึ้นมากล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 5 เป็น บุตร นาง ชื่อน สอดห่วง และ นาย กิ้ม แซ่อั้ง ระหว่าง ที่นา ง ชื่นและนางกิ้ม อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา มี สินสมรส เป็น ที่ดิน ส่วน ที่ โจทก์ ครอบครอง จำนวน 29 โฉนดรายละเอียด ปรากฏ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 1 ที่ดิน ดังกล่าวนาง ชื่น เป็น ผู้มีชื่อ ทาง ทะเบียน ถือ กรรมสิทธิ์ แทน นาย กิ้ม ปี 2515 นาย กิ้ม ถึงแก่กรรม มรดก ส่วน ของ นาย กิ้ม จึง ตกทอด แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ ปกครอง ที่ดิน มรดก ของ นาย กิ้ม ร่วมกัน มา ตลอด แต่ ยัง ไม่ได้ เปลี่ยน ชื่อ ทาง ทะเบียน ยัง คง มี ชื่อ นาง ชื่น เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทาง ทะเบียน แทน โจทก์ ขณะ มี ชีวิต อยู่ นาย กิ้ม และ นาง ชื่น ได้ ยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10711 ให้ โจทก์ ที่ 4 และ ยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1497 และ 16470 รวม 2 โฉนด ให้ โจทก์ ที่ 5 โจทก์ ที่ 4และ ที่ 5 ได้ ครอบครอง ทำกิน ใน ที่ดิน ดังกล่าว โดย ความสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ติดต่อ กัน มา เกิน 10 ปี โจทก์ ที่ 4และ ที่ 5 จึง ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ทั้ง สาม แปลง โดย การ ครอบครอง ตาม ผลของ กฎหมาย เมื่อ วันที่ 12 มกราคม 2526 จำเลย ที่ 15 ได้ ใช้ อุบายหลอก นาง ชื่น มอบอำนาจ ให้ ฟ้องโจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 กับพวก ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี ดัง ปรากฏ ตาม คดี หมายเลขดำ ที่ 151/2526 หมายเลขแดงที่ 413/2527 เพื่อ เรียก โฉนด คืน จาก โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 แล้ว ยัง ได้ใช้ อุบาย ขอ คุ้มครอง ชั่วคราว ฉุกเฉิน โดย ขอให้ ศาลแพ่ง ธนบุรี เรียกโฉนด ที่ดิน รวม 29 โฉนด ไป จาก โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 ต่อมา จำเลย ที่ 1ได้ สมคบ กับ จำเลย ที่ 15 โดย ให้ จำเลย ที่ 1 ฟ้อง จำเลย ที่ 15 รวมกับนาง ชื่น เป็น จำเลย ฐาน ผิดสัญญา กู้ยืม และ ค้ำประกัน ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี ตาม คดี หมายเลขดำ ที่ 2105/2526 หมายเลขแดง ที่ 1801/2526 แล้ว ยอมความ กัน จาก นั้น จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน คดี ดังกล่าว ได้ ทำ คำร้องขอ ยืม โฉนด จำนวน 29 ฉบับที่ โจทก์ นำ ไป วาง ไว้ ตาม คำสั่งศาลใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 413/2527 ของ ศาลแพ่ง ธนบุรี ไป จาก ศาลเพื่อ นำ ไป โอน ชำระหนี้ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ แล้ว โอน ใส่ ชื่อจำเลย ที่ 1 และ ได้ โอน ต่อไป ยัง จำเลย คนอื่น ๆ ดังนี้ โฉนด เลขที่ 16470โอน ไป เป็น ของ จำเลย ที่ 2 โฉนด เลขที่ 16492 โอน ไป เป็น ของ จำเลย ที่ 3โฉนด เลขที่ 16493 โอน ไป เป็น ของ จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5 โฉนด เลขที่16504 โอน ไป เป็น ของ จำเลย ที่ 6 โฉนด เลขที่ 10711 โอน ไป เป็นของ นาย ปรีชา แล้ว นาย ปรีชา โอน กลับมา เป็น ของ จำเลย ที่ 1โฉนด เลขที่ 16496-16498, 16505, 16511-16524 โอน ไป เป็น ของ จำเลยที่ 7 ถึง ที่ 11 โฉนด เลขที่ 16495 โอน ไป เป็น ของ จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11ต่อมา จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 ได้ โอน ไป เป็น ของ จำเลย ที่ 12 โฉนด เลขที่16506 และ 16507 โอน ไป เป็น ของ จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 ต่อมาโอน ไป เป็น ของ จำเลย ที่ 13 โฉนด เลขที่ 16494 และ 16509 โอน ไปเป็น ของ จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 ต่อมา ได้ จดทะเบียน จำนอง ต่อ จำเลย ที่ 14โฉนด เลขที่ 1497 โอน ไป ให้ บุคคลอื่น และ ต่อมา บุคคลอื่น โอน กลับมาเป็น ของ จำเลย ที่ 1 การ ที่ จำเลย ที่ 1 สมคบ กับ จำเลย ที่ 15 ดังกล่าวข้างต้น เป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต และ เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ทั้ง ห้า ขอให้ ศาล พิพากษา ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10711 เป็น กรรมสิทธิ์ของ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1497, 16470 เป็น กรรมสิทธิ์ของ โจทก์ ที่ 5 โดย การ ครอบครองปรปักษ์ และ ขอให้ เพิกถอน การ โอนที่ดิน โฉนด เลขที่ 16470, 16492-16498, 16504-16507, 16509,16511-16524 และ 1497 และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10711 มา เป็น ชื่อ ของนาง ชื่น สอดห่วง ถือ กรรมสิทธิ์ แทน โจทก์ ถ้า ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือ เอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สิบ ห้า
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 15 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า โจทก์ ทั้ง ห้าไม่ได้ เป็น บุตร ของ นาง ชื่น สอดห่วง และนายกิ้ม แซ่อั้ง ที่ดินพิพาท ตาม ฟ้อง มิใช่ สินสมรส ระหว่าง นาย กิ้มกับนางชื่น และ นาง ชื่น มิได้ ใส่ ชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ทั้งหมด แทน นาย กิ้ม หาก แต่ ว่า เป็น กรรมสิทธิ์ ของ นาง ชื่น เพียง คนเดียว นาง ชื่น ไม่เคย ยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10711, 1497 และ 16470 ให้ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5หาก โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5 เข้า ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าว จริง ก็ เป็นการ ครอบครอง โดย อาศัย สิทธิ ของ นาง ชื่น แม้ จะ นาน เท่าใด ก็ หา ได้ กรรมสิทธิ์ ไม่ จำเลย ไม่เคย ทราบ เรื่อง คดี ที่นา ง ชื่น ฟ้องโจทก์ ที่ ศาลจังหวัด นนทบุรี เพื่อ เรียก โฉนด ที่ดิน คืน จำเลย ที่ 1 ได้ ฟ้องจำเลย ที่ 15 กับ นาง ชื่น เป็น จำเลย ฐาน ผิดสัญญา กู้ยืม และ ค้ำประกัน ที่ ศาลแพ่ง ธนบุรี คดี หมายเลขดำ ที่ 2105/2526 หมายเลขแดง ที่1801/2526 เป็น การ ใช้ สิทธิ โดยสุจริต ต่อมา จำเลย ที่ 15 และ นาง ชื่น ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ชำระหนี้ เงินกู้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 หากไม่ชำระ นาง ชื่น ยอม โอน โฉนด ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ต่อมา จำเลย ที่ 15 และ นาง ชื่น ผิดสัญญา จำเลย ที่ 1 จึง ขอให้ ศาล เรียก โฉนด ที่ดินพิพาท จาก ศาลแพ่ง ธนบุรี ใน คดี หมายเลขดำ ที่ 151/2526หมายเลขแดง ที่ 413/2527 และ โอน ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 1 แล้ว จำเลย ที่ 1ได้ โอน ขาย ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 13 โดยสุจริต เสีย ค่าตอบแทน และจดทะเบียน สิทธิ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย สำหรับ จำเลย ที่ 14 ซึ่ง เป็นธนาคารพาณิชย์ ได้รับ จำนอง ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 16494 และ 16509จาก จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 เพื่อ เป็น ประกันหนี้ เบิกเงินเกินบัญชีของ จำเลย ที่ 9 การ รับ จำนอง ดังกล่าว จำเลย ที่ 14 ได้ กระทำ โดยสุจริตเสีย ค่าตอบแทน และ จดทะเบียน โดยสุจริต จำเลย ที่ 1 ได้ ส่ง คืน โฉนดเลขที่ 10711, 1497 และ 16492 ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี แล้ว ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 2 ศาลชั้นต้น อนุญาตและ โจทก์ ที่ 2 ถึงแก่กรรม นางสาว อรุณี บำรุงสุข ทายาท ของ โจทก์ ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง ห้า อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง ห้า ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น รับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาท มี โฉนด ตาม ฟ้องโจทก์ รวม 29 โฉนด มี ชื่อ นาง ชื่น สอดห่วง เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ เดิม โฉนด ที่ดิน ทั้ง 19 โฉนด โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 เป็น ผู้ เก็บรักษา ไว้ นาง ชื่น ได้ มอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 15 ฟ้องโจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี เรียก โฉนด คืน ตาม คดีหมายเลขดำ ที่ 151/2526 หมายเลขแดง ที่ 413/2527 ระหว่าง การ พิจารณาคดี ดังกล่าว จำเลย ที่ 15 ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ให้ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน รวม 30 โฉนด ต่อ ศาล ต่อมา จำเลย ที่ 15 และ นาง ชื่น ถูก จำเลย ที่ 1 ฟ้อง เรียกเงิน กู้ยืม ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี ตาม คดี หมายเลขดำที่ 2105/2526 หมายเลขแดง ที่ 1801/2526 แล้ว จำเลย ที่ 15 และนาง ชื่น ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ที่ 1 โดย ยอม ชำระหนี้ ให้ จำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 3,000,000 บาท โดย จะ ชำระ ให้ เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน หาก ผิดนัด นาง ชื่น ยอม โอน ที่ดินพิพาท 29 แปลง กับ ที่ดิน แปลง อื่น อีก รวม 33 โฉนด ให้ จำเลย ที่ 1 หลังจาก ศาล พิพากษาตามยอม แล้ว จำเลย ที่ 15 และ นาง ชื่น ผิดนัด จำเลย ที่ 1 ได้ ขอ ยืม โฉนด ที่ดินพิพาท 29 โฉนด ใน คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 151/2526 ไป จากศาล และ ไป โอน ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 1 ถือ กรรมสิทธิ์ และ ใน วันเดียว กันก็ จดทะเบียน โอน ขาย ต่อ ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 และ จำเลย ที่ 7 ถึง ที่13 รวม 28 โฉนด สำหรับ โฉนด ที่ดินพิพาท อีก แปลง หนึ่ง โอน ขาย ต่อให้ จำเลย ที่ 6 โดยตรง ส่วน จำเลย ที่ 14 ได้รับ จำนอง ที่ดินพิพาทบาง แปลง จาก จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ข้อ แรก ของ โจทก์ ว่า โจทก์ ที่ 4 ได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท โฉนดเลขที่ 10711 และ โจทก์ ที่ 5 ได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่1497 และ 16470 จน ได้ กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ พยานหลักฐานที่ โจทก์ นำสืบ มา จึง มี น้ำหนัก และ เหตุผล ซึ่ง จำเลย ก็ ไม่นำ สืบ ปฏิเสธให้ เห็น เป็น อย่างอื่น ข้อเท็จจริง จึง รับฟัง ได้ว่า นาย กิ้ม และ นาง ชื่น ได้ ยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10711 ตำบล ราษฎร์นิยม (ไทรใหญ่) อำเภอ ไทรน้อย (บางบัวทอง) จังหวัด นนทบุรี ให้ โจทก์ ที่ 4 เมื่อ ปี 2508 และ ยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1497 และ 16470 ตำบล บางบัวทอง อำเภอ บางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี ให้ โจทก์ ที่ 5 เมื่อ ปี 2499 แม้ การ ยกให้ ที่ดินพิพาท ดังกล่าว จะ ไม่ได้ จดทะเบียน ก็ ตาม แต่ โจทก์ ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับ การ ให้ ได้ เข้า ครอบครอง ถือ กรรมสิทธิ์ โดย ความสงบ และโดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ เป็น เวลา เกินกว่า 10 ปี แล้วโจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5 ย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ดังกล่าว โดยการ ครอบครองปรปักษ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ส่วน ที่นา ง ชื่น มอบอำนาจ ให้ โจทก์ ที่ 4 ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10711 และ มอบอำนาจ ให้ โจทก์ ที่ 5 ไป จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1497 และ 16470 เมื่อ วันที่ 10พฤศจิกายน 2523 นั้น เห็นว่า เป็น เพียง ไป จดทะเบียน ให้ สมบูรณ์ตาม กฎหมาย เพื่อ ใช้ ยัน บุคคลภายนอก เท่านั้น หา ทำให้ การ ได้ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาท ดังกล่าว ของ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5 โดย การ ครอบครองปรปักษ์ต้อง เสีย ไป แต่อย่างใด ไม่
ปัญหา สุดท้าย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี ว่า โจทก์ มีสิทธิ เพิกถอน การ โอนและ การ จำนอง โฉนด ที่ดินพิพาท ของ จำเลย หรือไม่ โจทก์ นำสืบ ว่าหลังจาก นาง ชื่น ยก ที่ดิน ให้ แก่ ลูก ๆ ดัง วินิจฉัย มา แล้ว ปรากฏว่า นาย เหล็ง สุนทรธรรมรัตน์ ซึ่ง เป็น บุตร คนหนึ่ง ของ นาง ชื่น กับ นาย กิ้ม ไม่พอ ใจ ได้ พา นาง ชื่น ซึ่ง อยู่ กับ โจทก์ ที่ 1 ไป อยู่ กับ นาย เหล็ง ที่ กรุงเทพมหานคร แล้ว นาย เหล็ง ใช้ จำเลย ที่ 15ไป ขอ โฉนด ที่ดิน จาก โจทก์ ที่ 1 อ้างว่า นาง ชื่น ให้ มา เอา โฉนด ที่ดิน คืน โจทก์ ที่ 1 บอก ว่า โฉนด ที่ดิน ไม่อยู่ กับ โจทก์ ที่ 1 ต่อมา เดือนธันวาคม 2523 นาง ชื่น ฟ้องโจทก์ ที่ 1 เป็น จำเลย เรียก โฉนด ที่ดิน คืน จาก โจทก์ ที่ 1 ต่อ ศาลจังหวัด นนทบุรี ระหว่าง พิจารณา คดี นาง ชื่น ถอนฟ้อง ปี 2524 นาง ชื่น ฟ้องโจทก์ ที่ 4 เป็น จำเลย คดีอาญา ต่อ ศาลจังหวัด นนทบุรี ข้อหา ยักยอก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 10711 แต่ศาลจังหวัด นนทบุรี พิพากษายก ฟ้อง คดีถึงที่สุด แล้ว ตาม คดี หมายเลขแดงที่ 1776/2524 และ นาง ชื่น ยัง ฟ้องโจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5 กับพวก เป็น จำเลย คดีอาญา ต่อ ศาลจังหวัด นนทบุรี ข้อหา ยักยอก โฉนด หลาย โฉนด รวมทั้ง โฉนด ที่ดิน เลขที่ 1497 และ 16470 ด้วย แต่ ศาลจังหวัด นนทบุรีพิพากษายก ฟ้อง เช่นเดียวกัน คดีถึงที่สุด แล้ว ตาม คดี หมายเลขแดง ที่2043/2524 และ ใน ปี 2524 นาง ชื่น ฟ้องโจทก์ ที่ 1 เป็น จำเลย คดีอาญา ต่อ ศาลจังหวัด นนทบุรี ข้อหา ฉ้อโกง ปลอมเอกสาร และ ใช้เอกสารปลอม ศาลจังหวัด นนทบุรี พิพากษายก ฟ้อง นาง ชื่น อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน คดีถึงที่สุด แล้ว ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 1809/2525หลังจาก ศาล พิพากษายก ฟ้องคดี ที่นา ง ชื่น ฟ้องโจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 5ทุก คดี ดังกล่าว แล้ว ปี 2526 จำเลย ที่ 15 ได้ ทำ หลักฐาน ว่า ตน ได้รับมอบ อำนาจ จาก นาง ชื่น ให้ ฟ้อง นาง สุจินต์ ลิ้มพิพัฒน์ โจทก์ ที่ 2ถึง ที่ 5 ใน คดี นี้ เป็น จำเลย ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี เรียก โฉนด ที่ดินดังกล่าว คืน ตาม คดี หมายเลขดำ ที่ 151/2526 และ ได้ ยื่น คำขอ ใช้ วิธีการชั่วคราว ก่อน พิพากษา ใน เหตุ ฉุกเฉิน ให้ จำเลย (คือ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 5)นำ เอา โฉนด ที่ดิน รวม 30 โฉนด มา วาง ต่อ ศาล ครั้ง ต่อมา จำเลย ที่ 1ได้ ฟ้อง จำเลย ที่ 15 กับ นาง ชื่น เป็น จำเลย ฐาน ผิดสัญญา กู้เงิน และ ค้ำประกัน ที่ ศาลแพ่ง ธนบุรี และ ได้ มี การ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความกัน ศาลแพ่ง ธนบุรี ได้ พิพากษา ตามยอม แล้ว ปรากฏ ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1801/2526 จาก นั้น จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน คดี ดังกล่าว ได้ทำ คำร้องขอ ยืม โฉนด ที่ดิน ทั้ง 29 โฉนด ที่ โจทก์ คดี นี้ นำ ไป วาง ต่อศาล อ้างว่า เพื่อ นำ ไป ปฏิบัติ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความศาลแพ่ง ธนบุรี มี คำสั่ง ใน วันเดียว กัน นั้น ว่า “เพื่อ ความสะดวก รวดเร็วให้ โจทก์ (จำเลย ที่ 1 คดี นี้ ) ยืม โฉนด ตาม คำร้อง ไป จัดการ ได้เสร็จ แล้ว ให้ รีบ ส่ง คืน โดย ด่วน ด้วย ” ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ หนังสือยืนยัน ไว้ ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี ว่า จะ รีบ ส่ง คืน โดย เร็ว จาก นั้น วันที่1 พฤศจิกายน 2526 จำเลย ที่ 1 ได้ นำ โฉนด ที่ดิน รวม 28 โฉนดไป จดทะเบียน โอน ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์และ ใน วันเดียว กัน นั้น ได้ โอน ขาย ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 13 ทั้ง 28โฉนด และ โอน ขาย ให้ จำเลย ที่ 6 จำนวน 1 โฉนด ใน วันที่ 13 ธันวาคม 2526แล้ว จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 ได้ นำ ที่ดิน บาง โฉนด ไป จำนอง ไว้ แก่ จำเลยที่ 14 โจทก์ เคย ขอให้ ศาลแพ่ง ธนบุรี มี คำสั่ง ให้ จำเลย ที่ 1 นำ โฉนดที่ดิน ทั้ง 29 โฉนด มา คืน เมื่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี มี หมาย ตาม คำขอ จำเลยที่ 1 ก็ ไม่ปฏิบัติ ตาม ศาลแพ่ง ธนบุรี ได้ นัด พร้อม หลาย ครั้ง ใน ที่สุดจำเลย ที่ 1 ได้ ส่ง โฉนด ที่ดิน คืน ศาล เพียง 3 โฉนด คือ โฉนด ที่ดินที่ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5 ได้ กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ฝ่ายจำเลย ทั้ง สิบ ห้า นำสืบ โต้แย้ง ว่า การ โอน ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ นาง ชื่น เป็น การ โอน ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ และ คำพิพากษา ตามยอม จึง เป็น การ โอน โดยสุจริต จำเลย ที่ 1 ย่อม มีอำนาจ ขาย ต่อไป ยัง จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 13 ได้ และ จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11ก็ มีอำนาจ นำ ไป จำนอง ไว้ แก่ จำเลย ที่ 14 ได้ จำเลย ทั้งหมด กระทำการ โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน โดยชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว จาก พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ และ จำเลย นำสืบ มา ศาลฎีกา ได้ พิจารณา ประกอบกับ พยานหลักฐาน ทั้งปวง แห่ง คดี แล้ว เห็นว่า พฤติการณ์ ของนาย เหล็ง จำเลย ที่ 15 และ จำเลย ที่ 1 มี เจตนา ไม่สุจริต มา แต่ แรก โดย เพียร พยายาม ร่วมกัน จะ รวบรวม เอา ทรัพย์สิน ทั้งหมด ของ นาย กิ้ม นาง ชื่น บิดา มารดา ของ โจทก์ ทั้ง ห้า ไป เป็น ของ ตน โดย หลอกลวง นาง ชื่น ซึ่ง มี อายุ ถึง 95 ปี แล้ว สติสัมปชัญญะ ย่อม เสื่อม ไป ตาม วัย สังขา รให้ฟ้องโจทก์ ทั้ง คดีแพ่ง และ คดีอาญา ซึ่ง ศาล ก็ ได้ ยกฟ้อง ไป ทุก คดีแม้ แต่ ที่ดิน ที่ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5 ได้ กรรมสิทธิ์ มา โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ก็ ให้ นาง ชื่น ฟ้อง เอาคืน จาก โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5 โดย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 15 ก็ รู้ ดี ดัง จะ เห็น ได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ นำ เอา โฉนดที่ดิน ทั้ง สาม โฉนด มา คืน ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี นอกจาก นี้ ข้อเท็จจริง ก็รับฟัง ได้ว่า นาง ชื่น เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย กิ้ม โดย โจทก์ ทั้ง ห้า นำสืบ ให้ เห็น ประจักษ์ ว่า นาง ชื่น และ นาย กิ้ม เป็น สามี ภริยา กัน ก่อน ใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เมื่อ จำเลยทั้ง สิบ ห้า ไม่มี พยานหลักฐาน ใด ๆ มา หักล้าง ดังนั้น ที่ดินพิพาท ตามโฉนด เลขที่ 16492, 16493, 16494, 16495, 16496, 16497, 16498,16504, 16505, 16506, 16507, 16509, 16511, 16512, 16513, 16514,16515, 16516, 16517, 16518, 16519, 16520, 16521, 16522, 16523 และ16524 จึง เป็น สินสมรส ระหว่าง นาย กิ้ม กับ นาง ชื่น ซึ่ง ยัง มิได้ แบ่งแยก ที่ดินพิพาท ตาม โฉนด ดังกล่าว ใน ส่วน ของ นาย กิ้ม บิดา โจทก์ ทั้ง ห้า จึง เป็น มรดก ตกทอด แก่ บรรดา ทายาท และ ถือว่า ทายาท ทุกคนครอบครอง ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ร่วมกัน ยัง มิได้ มี การ แบ่งปัน บรรดาทายาท ทั้งหลาย ของ นาย กิ้ม อยู่ ใน ฐานะ อัน จะ ให้ จดทะเบียน สิทธิ เพื่อ โอน มรดก ที่ดิน ส่วน ของ นาย กิ้ม ได้ อยู่ ก่อน ข้อ ที่ จำเลย แก้ ฎีกา ว่า ศาลชั้นต้น ไม่ได้ กำหนด ประเด็น เรื่อง ที่ดิน ตาม ฟ้อง เป็น สินบริคณห์และ เป็น มรดก ของ นาย กิ้ม ที่ โจทก์ ทั้ง ห้า มีสิทธิ รับมรดก หรือไม่ ซึ่ง โจทก์ ก็ ไม่ได้ โต้แย้ง คัดค้าน ไว้ จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ มี การ พิจารณาหรือ ยกขึ้น ว่ากล่าว กัน ใน ศาลชั้นต้น โจทก์ จะ ยกขึ้น มากล่าว อ้างใน ชั้นฎีกา ไม่ได้ นั้น เห็นว่า ประเด็น ข้อพิพาท คดี นี้ มี ว่า โจทก์ มีสิทธิ เพิกถอน การ โอน และ การ จำนอง โฉนด ที่ดินพิพาท ของ จำเลย หรือไม่ซึ่ง ต้อง วินิจฉัย ถึง ที่ดินพิพาท ว่า เป็น สินบริคณห์ ระหว่าง นาย กิ้ม และ นาง ชื่น หรือไม่ เพราะ หาก ที่ดินพิพาท เป็น สินบริคณห์ ระหว่าง นาย กิ้ม และ นาง ชื่น ที่ดินพิพาท ใน ส่วน ของ นาย กิ้ม ย่อม เป็น มรดก ตกทอด แก่ ทายาท ที่ จำเลย จะ ไป จดทะเบียน การ โอน เป็น ทาง เสียเปรียบแก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ทายาท ผู้ อยู่ ใน ฐานะ อัน จะ ให้ จดทะเบียน สิทธิได้ อยู่ ก่อน หาได้ไม่ ข้อ วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท เป็น สินบริคณห์ หรือไม่จึง รวม อยู่ ใน ประเด็น ข้อพิพาท ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ว่า โจทก์ มีสิทธิเพิกถอน การ โอน และ การ จำนอง โฉนด ที่ดินพิพาท ของ จำเลย หรือไม่ แล้วและ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ กล่าวอ้าง แต่เพียง ว่า ที่ดินพิพาท 29 โฉนด เป็น สินสมรส โดย ไม่ได้ กล่าว ว่า เป็น สินบริคณห์ แต่อย่างใด ข้อเท็จจริง ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น สินบริคณห์ จึง เป็น ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ มิได้ ยกขึ้น ว่ากล่าว กัน มา แล้วใน ศาลชั้นต้น นั้น เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5เดิม บัญญัติ ถึง ทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภริยา ใน มาตรา 1462 ว่าทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภริยา นอกจาก ที่ ได้ แยก ไว้ เป็น สินส่วนตัว ย่อมเป็น สินบริคณห์ และ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใหม่ก็ บัญญัติ ถึง ทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภริยา ไว้ เช่นกัน ใน มาตรา 1470 ว่าทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภริยา นอกจาก ที่ ได้ แยก ไว้ เป็น สินส่วนตัวย่อม เป็น สินสมรส จึง เห็น ได้ว่า สินบริคณห์ ตาม กฎหมาย เดิม และสินสมรส ตาม กฎหมาย ใหม่ มี ความหมาย ใน ทำนอง เดียว กัน โดย ต่าง ก็ เป็นทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภริยา นั่นเอง การ ที่ โจทก์ ฟ้อง กล่าวอ้าง ว่า ที่ดินพิพาท เป็น สินสมรส ระหว่าง นาย กิ้ม และ นาง ชื่น จึง เป็น การ กล่าวอ้าง ถึง ทรัพย์สิน ระหว่าง ที่นาย กิ้ม และ นาง ชื่น เป็น สามี ภริยา ถือ ได้ว่า ฟ้องโจทก์ ได้ กล่าวอ้าง ถึง สินบริคณห์ แล้ว ฟ้องอุทธรณ์ และ ฟ้องฎีกา ของ โจทก์ ที่ กล่าว ถึง ทรัพย์สิน ระหว่าง นาย กิ้ม และ นาง ชื่น เป็น สินบริคณห์ จึง เป็น ข้อ ที่ ได้ว่า กล่าว กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้นและ ศาลฎีกา ยัง เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 15และ นาง ชื่น เป็น จำเลย ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี ให้ จำเลย ที่ 15 ใน ฐานะ ผู้กู้ และ นาง ชื่น ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ร่วมกัน รับผิด ใช้ เงิน ที่ จำเลย ที่ 15 กู้ ไป จาก จำเลย ที่ 1 จำนวน 3,000,000 บาท เป็น เรื่อง ที่จำเลย ที่ 1 นาย เหล็ง และ จำเลย ที่ 15 ร่วม สมคบ กัน โดยมิชอบ โดยเฉพาะ โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1 เกี่ยว ดองกับ นาย เหล็ง โดย บุตร ของ จำเลย ที่ 1 แต่งงาน กับ บุตร ของ นาย เหล็ง จำเลย ที่ 1ไม่ได้ ประกอบ อาชีพ อะไร ฐานะ ของ จำเลย ที่ 1 ไม่ดี การ ซื้อ ของ กินของ ใช้ ยัง ต้อง ซื้อ เงิน เชื่อ ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ก็ ไม่ได้ นำสืบ โต้แย้งเป็น อย่างอื่น จึง ไม่ น่าเชื่อ ว่า จำเลย ที่ 1 จะ อยู่ ใน ฐานะ ให้ จำเลยที่ 15 กู้เงิน ได้ ถึง 3,000,000 บาท และ จำเลย ที่ 15 ก็ ไม่มี ความจำเป็น อะไร จะ ต้อง กู้เงิน เป็น จำนวน มาก ถึง ขนาด นั้น ประกอบ กับ เมื่อจำเลย ที่ 1 ยื่นฟ้อง จำเลย ที่ 15 และ นาง ชื่น แทนที่ จำเลย ที่ 15และ นาง ชื่น จะ ให้การ ปฏิเสธ เพื่อ รักษา ผลประโยชน์ กอง มรดก ของ นาย กิ้ม ไว้ กลับ ยื่นคำให้การ รับ ว่า จำเลย ที่ 15 ได้ กู้เงิน จำเลย ที่ 1 จริง โดย นาง ชื่น เป็น ผู้ค้ำประกัน และ ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน โดย ยอม ชำระ เงิน ให้ ภายใน วันที่ 14 ตุลาคม2526 หาก ไม่ชำระ ยอม โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14542, 16470,16471, 16492-16498, 16404, 16505-16507, 16509-16524อำเภอ บางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี และ โฉนด เลขที่ 1497,10711, 14524 อำเภอ ไทรน้อย (บางบัวทอง) จังหวัด นนทบุรี รวม เนื้อที่ 90 ไร่ ให้ จำเลย ที่ 1 ศาลแพ่ง ธนบุรี ได้ พิพากษา ตามยอมปรากฏ ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 1801/2526 และ การ ที่ ได้ มี การ ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน ครั้งนี้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 15 เป็นผู้ดำเนินการ เอง ทั้งสิ้น นาง ชื่น ไม่มี ส่วน รู้เห็น ด้วย หลังจาก ได้ มี คำพิพากษา ตามยอม ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 1801/2526 ดังกล่าวจำเลย ที่ 15 ก็ ฟ้องโจทก์ เรียก โฉนด ที่ดิน คืน ตาม คดี หมายเลขดำที่ 151/2526 อ้างว่า นาง ชื่น ได้ มอบอำนาจ ให้ ฟ้อง แล้ว ดำเนินการ วางแผน การ ให้ โจทก์ นำ โฉนด ที่ดินพิพาท ทั้ง 29 โฉนด มา วาง ต่อ ศาล แล้วหลอกลวง ศาล ยืม โฉนด ที่ดิน ไป เมื่อ ได้ โฉนด ที่ดิน แล้ว จำเลย ที่ 1 ก็จัดการ จดทะเบียน โอน โฉนด ที่ดินพิพาท 29 โฉนด เป็น ชื่อ ของ จำเลย ที่ 1และ รวบรัด จดทะเบียน โอน ขาย ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 จำเลย ที่ 7ถึง ที่ 13 โดย กระทำ วันเดียว จน เสร็จ จึง เป็น การ ผิดปกติ และ แสดงให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 5 และ จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 13 ร่วม รู้เห็นกับ การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 15 ด้วย ยิ่งกว่า นั้น การ ที่ศาลแพ่ง ธนบุรี อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 ยืม โฉนด ที่ดินพิพาท 29 โฉนด ไป ก็มี เงื่อนไข ให้ ส่ง คืน แสดง ว่า ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 นำ ไป จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ให้ จำเลย อื่น ๆ ต่อไป เพราะ คดี ยัง อยู่ ระหว่าง การพิจารณา คดี ของ ศาล และ เมื่อ จำเลย ที่ 1 ทำการ โอน ที่ดิน โดย ซื้อ ขาย กันเสร็จ คง คืน ที่ดินพิพาท เพียง 3 โฉนด ที่ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 5 ได้กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ต่อ ศาล ดัง ที่ ได้ วินิจฉัย มา จาก นั้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลย ที่ 15 ก็ ยื่น คำร้องขอ ถอนฟ้องคดี หมายเลขดำ ที่ 151/2526 พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 15 ส่อ ให้ เห็นว่าจำเลย ที่ 15 ฟ้องคดี ดังกล่าว โดย มี เจตนา เพียง เพื่อ ต้องการ เอา โฉนดที่ดินพิพาท ไป จาก โจทก์ ทั้ง ห้า เพื่อ ให้ จำเลย ที่ 1 นำ ไป จำหน่าย จ่าย โอนเป็น ประโยชน์ แก่ จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 5 และ จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 13การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 5 จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 13และ จำเลย ที่ 15 จึง เป็น การ ฉ้อฉล โจทก์ ทั้ง ห้า ซึ่ง อยู่ ใน ฐานะ อัน จะ ให้จดทะเบียน สิทธิ ใน ที่ดินพิพาท ตาม ฟ้อง ได้ อยู่ ก่อน ข้อเท็จจริง จึงรับฟัง ได้ว่า จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 5 และ จำเลย ที่ 7 ถึงที่ 13 รับโอน ที่ดินพิพาท โดย ไม่สุจริต โจทก์ ทั้ง ห้า ย่อม มีอำนาจ ฟ้องขอให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม ฟ้อง ได้ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย สำหรับจำเลย ที่ 6 และ ที่ 14 ปรากฏว่า จำเลย ที่ 6 ซื้อ ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่16504 จาก จำเลย ที่ 1 โดย จดทะเบียน ซื้อ ขาย เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม2526 ส่วน จำเลย ที่ 14 รับ จำนอง ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 16494 และ16509 โดย จดทะเบียน จำนอง เมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2526 ซึ่ง เป็นเวลา หลาย วัน ภายหลัง จาก ที่ จำเลย ที่ 1 กับพวก ดังกล่าว กระทำการฉ้อฉล โจทก์ ดัง ได้ วินิจฉัย ไว้ ข้างต้น พฤติการณ์ แห่ง คดี ยัง ไม่พอ ฟังว่า จำเลย ที่ 6 และ ที่ 14 ร่วม รู้เห็น กับ การกระทำ จอง จำเลย ที่ 1และ พวก ดังกล่าว จึง ถือว่า จำเลย ที่ 6 รับโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทโฉนด เลขที่ 16504 และ จำเลย ที่ 14 รับ จำนอง ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่16494 กับ 16509 โดยสุจริต โจทก์ ทั้ง ห้า จึง ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ และ จำนอง ใน ที่ดินพิพาท ทั้ง สาม แปลง นี้ ไม่ได้ฎีกา ของ โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 14 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10711 ตำบล ราษฎร์นิยม (ไทรใหญ่) อำเภอ ไทรน้อย (บางบัวทอง) จังหวัด นนทบุรี เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 4 ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1497 และ 16470 ตำบล บางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 5 โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่16470, 16492-16498, 16505-16507, 16509, 16511-16524 และ1497 ตำบล บางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10711 ตำบล ราษฎร์นิยม (ไทรใหญ่) อำเภอไทรน้อย (บางบัวทอง) จังหวัด นนทบุรี และ จดทะเบียน กลับ ไป เป็น ชื่อ นาง ชื่น สอดห่วง หาก จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 5 จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 13และ จำเลย ที่ 15 ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ โจทก์ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาลแทน การแสดง เจตนา นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share