คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

บ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ฉ. จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ ฉ. ร่วมกันเมื่อ ฉ. อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแม้โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไปความยินยอมของ ฉ. ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360วรรคหนึ่งการที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน บ้าน เลขที่ 18/1-3ซึ่ง ปลูก อยู่ บน ที่ดิน ที่ โจทก์ เช่า มาจาก กรมการศาสนา เมื่อ ปี 2531จำเลย ได้ เข้า มา อยู่อาศัย ใน บ้าน ดังกล่าว ใน ส่วน หลัง ซึ่ง เป็น ชั้นล่างของ บ้าน โจทก์ ไม่ประสงค์ จะ ให้ จำเลย อยู่อาศัย ต่อไป อีก จึง แจ้ง ให้จำเลย พร้อม บริวาร ออก ไป จาก บ้าน แต่ จำเลย ไม่ยอม ออก ขอให้ บังคับจำเลย พร้อม บริวาร ออกจาก บ้าน เลขที่ 18/1-3 และ ชำระ ค่าเสียหาย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มิได้ อาศัย อยู่ ใน บ้าน เลขที่ 18/1-3แต่ อาศัย อยู่ ใน บ้าน เลขที่ 18/1 โดย อาศัย สิทธิ ของ นาง แฉล้ม พันธุ์น้อย มารดา จำเลย โจทก์ มิได้ มี ส่วน เกี่ยวข้อง หรือ มี กรรมสิทธิ์ ใน บ้าน เลขที่ ดังกล่าว แต่อย่างใด โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องและ เรียก ค่าเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ และ จำเลย แถลงรับ ข้อเท็จจริง เป็น ที่ ยุติ ว่า บ้าน พิพาทเลขที่ 18/1-3 ตาม ฟ้อง กับ บ้าน เลขที่ 18/1 ตาม คำให้การ เป็น บ้านหลัง เดียว กัน จำเลย เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ โจทก์ กับนาง แฉล้ม พันธุ์น้อย ซึ่ง ได้ จดทะเบียนสมรส กัน เมื่อ ปี 2488ใน ระหว่าง สมรส โจทก์ ได้ กู้ยืม เงิน จาก ประชา สงเคราะห์ จังหวัด เชียงใหม่ก่อสร้าง บ้าน พิพาท นาง แฉล้ม พันธุ์น้อย มารดา จำเลย ได้ยิน ยอม ให้ จำเลย อยู่อาศัย ใน บ้าน พิพาท แล้ว คู่ความ แถลง ไม่ติดใจ สืบพยาน โดย ขอให้ศาล วินิจฉัย เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า จำเลย มีสิทธิ อาศัย อยู่ใน บ้าน พิพาท หรือไม่
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ว่า บ้าน พิพาทเป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ กับ นาง แฉล้ม พันธุ์น้อย ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า เมื่อ บ้าน พิพาท เป็น สินสมรส จึง เป็น กรรมสิทธิ์รวม ระหว่าง โจทก์ กับนาง แฉล้ม การ ที่ นาง แฉล้ม ยินยอม ให้ จำเลย อาศัย อยู่ ใน บ้าน พิพาท โดย โจทก์ ไม่ยินยอม ด้วย จึง เป็น การ ขัด สิทธิ โจทก์ ย่อม ทำ ไม่ได้เห็นว่า สินสมรส คือ ทรัพย์สิน ที่ สามี ภริยา มี ส่วน เป็น เจ้าของร่วม กันบ้าน พิพาท จึง เป็น ของ โจทก์ และ นาง แฉล้ม ร่วมกัน กรณี ดังกล่าว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง บัญญัติ ว่า”เจ้าของรวม คนหนึ่ง ๆ มีสิทธิ ใช้ ทรัพย์สิน ได้ แต่ การ ใช้ นั้น ต้องไม่ ขัด ต่อ สิทธิ แห่ง เจ้าของรวม คนอื่น ๆ ” ฉะนั้น เมื่อ นาง แฉล้ม ได้ยิน ยอม ให้ จำเลย ซึ่ง เป็น บุตร อาศัย อยู่ ใน บ้าน พิพาท แล้ว แม้ โจทก์ซึ่ง เป็น เจ้าของรวม ไม่ยินยอม ให้ จำเลย อาศัย อยู่ ต่อไป ความ ยินยอมของ นาง แฉล้ม ก็ ไม่เป็น การ ขัด ต่อ สิทธิ ของ โจทก์ นาง แฉล้ม ยัง คง มีสิทธิ ที่ จะ ยินยอม ให้ จำเลย อยู่อาศัย ต่อไป ได้ การ ที่ จำเลยไม่ยอม ออก ไป จาก บ้าน พิพาท จึง ไม่เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าของรวม ไม่มี สิทธิ ฟ้องขับไล่ จำเลย ได้
พิพากษายืน

Share