คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเท่ากับจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตจึงยังมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของจำเลยจำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบมาตรา234จำเลยจะฎีกาคำสั่งที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ฎีกาไม่ได้เพราะได้ถึงที่สุดแล้วตามมาตรา230วรรคสามและจะแปลความในฎีกาของจำเลยเป็นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาก็ไม่ได้เพราะมิได้ทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกาตามมาตรา252

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ไป ยื่น คำร้องขอ ยกเลิก คำขอ ออกโฉนด ที่ดิน ส่วน ของ โจทก์ เลขที่ 700 ตำบล โรงช้าง อำเภอป่าโมก จังหวัด อ่างทอง และ ห้าม จำเลย กับ บริวาร เกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน โจทก์ อีกต่อไป ถ้า จำเลย ไม่ยื่น คำร้องขอ ยกเลิก คำขอ ออก โฉนด ที่ดิน ดังกล่าวให้ ถือ คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ อุทธรณ์ โดย อธิบดี ผู้พิพากษา ภาค 1 อนุญาต ให้ อุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ไป ยื่น คำร้องขอ ยกเลิก คำขอออก โฉนด ที่ดิน ส่วน ของ โจทก์ เลขที่ ดิน 700 ตำบล โรงช้าง อำเภอป่าโมก จังหวัด อ่างทอง ถ้า จำเลย ไม่ยื่น คำร้องขอ ยกเลิก คำขอ ออก โฉนด ที่ดินดังกล่าว ให้ ถือ คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลยคำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ฎีกา โดย ยื่น ต่อ ศาลชั้นต้น เมื่อ วันที่ 8 เมษายน 2537ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน วันเดียว กัน ว่า ไม่รับ ฎีกา เพราะ เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ต่อมา วันที่ 25 เมษายน 2537 จำเลย ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ถึงอธิบดี ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ ขอให้ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
อธิบดี ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ว่า จำเลย ยื่น คำร้องขออนุญาต ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง มา เกิน เจ็ด วัน นับแต่ วันที่ ทราบ ว่าศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 230 วรรคสาม , 247, 248จึง ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยก คำร้อง
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ จำเลย มี ว่า ที่ จำเลย ยื่น คำร้องขอ อนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อ วันที่ 25 เมษายน 2537 นั้น เป็น การ อุทธรณ์ คำสั่งไม่รับ ฎีกา หรือไม่ เห็นว่า จำเลย บรรยาย มา ใน คำร้อง ปรากฏ ชัด ว่าจำเลย ประสงค์ จะ ได้รับ อนุญาต เป็น หนังสือ จาก อธิบดี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ มี การ รับรอง ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ให้ แก่ จำเลย โดยจำเลย อ้าง เหตุผล มา ด้วย ว่า แม้ โจทก์ ก็ เคย ได้รับ อนุญาต ให้ อุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง จาก อธิบดี ผู้พิพากษา ภาค 1 มา แล้ว จึง เห็นว่าจำเลย มิได้ มี เจตนา ที่ จะ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้นที่ สั่ง ไม่รับ ฎีกา ของ จำเลย เมื่อ อธิบดี ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่งไม่อนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ฎีกา ของ จำเลย จึง ยัง มีผล เท่ากับศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ของ จำเลย นั่นเอง เมื่อ ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับ ฎีกา ของ จำเลย จำเลย ก็ ต้อง ทำ คำร้องอุทธรณ์ คำสั่งศาล ชั้นต้นไป ยัง ศาลฎีกา ภายใน กำหนด 15 วัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ประกอบ ด้วย มาตรา 234 แต่ ตาม ข้อเท็จจริง ปรากฏว่าศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ ฎีกา ใน วันที่ 8 เมษายน 2537 จำเลย หา ได้ อุทธรณ์คำสั่ง ที่ ไม่รับ ฎีกา ภายใน กำหนด 15 วัน ไม่ ฉะนั้น ที่ จำเลย มา ฎีกาคำสั่ง กรณี ที่ อธิบดี ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ ไม่อนุญาต ให้ ฎีกา ก็ ทำ ไม่ได้เพราะ คำสั่ง ของ อธิบดี ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ ได้ ถึงที่สุด แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 230 วรรคสาม และ จะ แปลความใน ฎีกา ของ จำเลย เป็น อุทธรณ์ คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ก็ ไม่ได้ เพราะจำเลย มิได้ ทำ เป็น คำร้องอุทธรณ์ คำสั่ง ที่ ไม่ยอม รับ ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252 ศาลฎีกา จึง ไม่มีอะไร ที่ ต้อง วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา จำเลย

Share