คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้จึงชอบที่จะเลือกส่งโดยวิธีปิดหมายหรือหนังสือในที่ซึ่งมองเห็นได้ถนัดที่ประตูบ้านหรือสำนักงานของผู้รับหรือโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ก็ได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา8และถือว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวเมื่อจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินมีผลให้เป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนแล้ว เจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ถือว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันดังกล่าวเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์จึง ไม่ขาดอายุความ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1มี หนี้สินล้นพ้นตัวจำเลยที่2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนจึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ทั้งกรณีไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่2ล้มละลาย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ห้าง จำเลย ที่ 1 ค้างชำระ ค่าภาษี เงินได้ บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่ จ่าย ภาษีเงินได้ นิติบุคคล และ ภาษีการค้า ของ ปี 2517-2521เป็น เงิน เกินกว่า 500,000 บาท โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระค่าภาษี ดังกล่าว ให้ โจทก์ ภายใน 30 วัน โดย การ ประกาศ ทางหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น แต่ จำเลย ที่ 1 มิได้ ชำระ ภายใน กำหนด และมิได้ ยื่น อุทธรณ์ คัดค้าน การ ประเมิน จึง ถือได้ว่า หนี้ ภาษีอากรดังกล่าว เด็ดขาด และ เป็น หนี้ ภาษีอากร ค้าง จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 เป็น ส่วนตัวและ ไม่จำกัด จำนวน โจทก์ มี หนังสือ ทวงถาม จำเลย ทั้ง สอง ให้ ชำระหนี้สอง ครั้ง มี ระยะเวลา ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่า 30 วัน โดย วิธี ปิดประกาศจำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ ถือได้ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี หนี้สินล้นพ้นตัวขอให้ พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สอง เด็ดขาด และ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สองเป็น บุคคล ล้มละลาย
จำเลย ที่ 1 ไม่ยื่น คำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ยัง ไม่ได้ รับ แจ้ง การ ประเมินจาก โจทก์ ตาม ขั้นตอน ของ กฎหมาย จะ ถือว่า จำเลย ที่ 1 ทราบ การ ประเมินของ โจทก์ แล้ว ยัง ไม่ได้ โจทก์ ฟ้อง เมื่อ พ้น กำหนด 10 ปี นับแต่พ้น ระยะเวลา ยื่น แบบแสดงรายการ สำหรับ ระยะเวลา บัญชี ปี 2517 ฟ้องโจทก์จึง ขาดอายุความ การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ โจทก์ ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ไม่ถูกต้อง หนี้ ที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 มิใช่ เป็น หนี้ ที่มี จำนวน ไม่ น้อยกว่า 500,000 บาท จำเลย ที่ 1 ที่ 2 มิได้ มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ มี ทรัพย์สิน เพียงพอ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ได้
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สอง เด็ดขาดตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน เป็น นิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วนจำกัด มี จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ ภาษีของ โจทก์ ตรวจสอบ พบ ว่า จำเลย ที่ 1 เสีย ภาษี ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงาน ประเมิน ของ โจทก์ ได้ ทำการ ไต่สวน แล้ว เห็นว่า จำเลย ที่ 1จะ ต้อง เสีย ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่ จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีการค้า เพิ่ม รวมเป็น เงิน 862,276.84 บาท ปรากฏ ตามรายงาน การ ตรวจสอบ ภาษีอากร เอกสาร หมาย จ. 11 เจ้าพนักงาน ประเมินของ โจทก์ ได้ ออก แบบ แจ้ง การ ประเมิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 ส่ง ให้จำเลย ที่ 1 ทาง ไปรษณีย์ ลงทะเบียน ตอบรับ แต่ ได้รับ แจ้ง ว่าเจ้าหน้าที่ ไปรษณีย์ ได้ นำ ไป ส่ง ณ ภูมิลำเนา ของ จำเลย ที่ 1 แล้วแต่ไม่พบ และ ไม่มี ผู้รับ โจทก์ จึง จัดการ ส่ง แบบ แจ้ง การ ประเมิน ดังกล่าวให้ จำเลย ทราบ โดย วิธี โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ท้องที่ ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1มิได้ ชำระ ภาษีอากร ประเมิน ตาม แบบ แจ้ง การ ประเมิน และ มิได้ อุทธรณ์การ ประเมิน แต่อย่างใด
สำหรับ ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 นั้น แม้จำเลย ที่ 2 จะ ฎีกา ยืด ยาว หลาย ประการ แต่ พอ สรุป เป็น ปัญหา ต้อง วินิจฉัยได้ 3 ข้อ ดังนี้ คือ หนี้ ภาษีอากร ที่ โจทก์ อ้าง เป็น มูลฟ้อง คดี นี้เป็น หนี้ จำนวน แน่นอน และ มี จำนวน เกินกว่า ห้า แสน บาท หรือไม่ คดี ของโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ และ จำเลย ที่ 2 มี หนี้สินล้นพ้นตัว หรือไม่สำหรับ ปัญหา ข้อ แรก ที่ ว่า หนี้ ภาษีอากร ที่ โจทก์ อ้าง เป็น มูลฟ้อง คดี นี้เป็น หนี้ จำนวน แน่นอน และ มี จำนวน เกินกว่า ห้า แสน บาท หรือไม่ซึ่ง จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 ยัง ไม่ได้ รับ แจ้ง การ ประเมินภาษี จาก โจทก์ และ เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ คำนวณ ภาษีอากร ประเมิน ไม่ถูกต้องนั้น ศาลฎีกา พิจารณา แล้ว เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 บัญญัติ ว่า”หมายเรียก หรือ หนังสือ อื่น ซึ่ง มี ถึง บุคคล ใด ตาม ลักษณะ นี้จะ ให้ นำ ไป ส่ง ใน เวลา กลางวัน ระหว่าง พระอาทิตย์ ขึ้น และ พระอาทิตย์ ตกหรือ จะ ส่ง โดย ทาง ไปรษณีย์ ลงทะเบียน ก็ ได้
ถ้า ให้ นำ ไป ส่ง เมื่อ ผู้ส่ง ไม่พบ ผู้รับ จะ ส่ง ให้ แก่ บุคคล ใดซึ่ง บรรลุนิติภาวะ แล้ว และ อยู่ ใน บ้าน หรือ สำนักงาน ของ ผู้รับ ก็ ได้
ถ้า ไม่สามารถ จะ ส่งหมาย หรือ หนังสือ อื่น ตาม วิธี ดังกล่าว ข้างต้นจะ ส่ง โดย วิธี ปิด หมาย หรือ หนังสือ ใน ที่ ซึ่ง มองเห็น ได้ ถนัด ที่ ประตู บ้านหรือ สำนักงาน ของ ผู้รับ หรือ โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ท้องที่ ก็ ได้เมื่อ ได้ ส่งหมาย หรือ หนังสือ ตาม วิธี ดังกล่าว ข้างต้น ให้ ถือว่าเป็น อัน ได้รับ แล้ว ” ดังนั้น เมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ก่อน ที่โจทก์ จะ ส่ง แบบ แจ้ง การ ประเมิน ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน ค่าภาษีอากรจำนวน 862,276.84 บาท โดย วิธี โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ท้องที่ นั้นโจทก์ ได้ ส่ง แบบ แจ้ง การ ประเมิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียน ตอบรับ แล้ว แต่ ส่ง ไม่ได้ เจ้าหน้าที่ ไปรษณีย์ ผู้นำส่งรายงาน ว่า ไม่มี ผู้รับ กรณี เช่นนี้ นับ ว่า เป็น กรณี ที่ ไม่สามารถ จะ ส่งตาม วิธีการ ที่ บัญญัติ ไว้ ใน วรรคหนึ่ง แห่ง บท กฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้น ได้โจทก์ จึง ชอบ ที่ จะ เลือก ส่ง ตาม วิธีการ ใด วิธีการ หนึ่ง ใน สอง วิธี ตาม ที่บัญญัติ ไว้ ใน วรรคสาม คือ ส่ง โดย วิธี ปิด หมาย หรือ หนังสือ ใน ที่ ซึ่งมองเห็น ได้ ถนัด ที่ ประตู บ้าน หรือ สำนักงาน ของ ผู้รับ หรือ ส่ง โดย วิธีโฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ ท้องที่ ก็ ได้ ดังนั้น การ ที่ โจทก์ ลง โฆษณาแบบ แจ้ง การ ประเมิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 ใน หนังสือพิมพ์ ท้องที่จึง ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้รับ แบบ แจ้ง การ ประเมิน ดังกล่าว ตาม ความใน วรรคท้าย แห่ง บท กฎหมาย ดังกล่าว แล้ว และ เมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความต่อไป ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ อุทธรณ์ การ ประเมิน ไว้ ซึ่ง มีผล ให้หนี้ ภาษีอากร ตาม ฟ้อง เป็น หนี้ เด็ดขาด และ มี จำนวน แน่นอน เกินกว่าห้า แสน บาท ขึ้น ไป จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของห้าง จำเลย ที่ 1 จะ กลับมา ปฏิเสธ ว่า หนี้ ดังกล่าว ไม่ชอบ หรือ จำนวน หนี้ไม่ถูกต้อง อีก หาได้ไม่
สำหรับ ปัญหา วินิจฉัย ข้อ สอง ที่ ว่า คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความแล้ว หรือไม่ ซึ่ง จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า อายุความ ฟ้องร้อง ดำเนินคดีเริ่ม นับ ตั้งแต่ วันที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ได้ ทำการ ประเมิน ภาษี ไว้คือ วันที่ 19 กันยายน 2527 หาก นับ ถึง วันฟ้อง จะ เป็น เวลา เกินกว่าสิบ ปี คดี ของ โจทก์ จึง ขาดอายุความ แล้ว นั้น เห็นว่า เจ้าพนักงานประเมิน ได้ กำหนด ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน ค่าภาษีอากร ตาม ที่ ประเมินแก่ โจทก์ ภายใน กำหนด 30 วัน นับแต่ วันที่ ได้รับ แจ้ง การ ประเมินคดี นี้ โจทก์ ได้ ส่ง แบบ แจ้ง การ ประเมิน ให้ จำเลย ที่ 1 ทราบ โดย วิธี โฆษณาใน หนังสือพิมพ์ ท้องที่ เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่ง ถือได้ว่าจำเลย ที่ 1 ได้รับ แบบ แจ้ง การ ประเมิน ภาษี ใน วันที่ ได้ ลง โฆษณาใน หนังสือพิมพ์ อายุความ จึง เริ่มต้น เมื่อ ครบ กำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ จำเลย ที่ 1 ได้รับ แบบ แจ้ง การ ประเมิน ภาษีอากร ซึ่ง เมื่อ คำนวณถึง วันฟ้อง แล้ว ยัง ไม่เกิน 10 ปี คดี ของ โจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ
ส่วน ปัญหา วินิจฉัย ข้อ สุดท้าย ที่ ว่า จำเลย ที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือไม่ นั้น เมื่อ คดี สำหรับ จำเลย ที่ 1 เป็น อัน ยุติไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ ภาษีอากร ค้าง แก่โจทก์ จำนวน 862,276.84 บาท และ จำเลย ที่ 1 มี หนี้สินล้นพ้นตัวไม่มี ทรัพย์สิน ใด ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ได้ จำเลย ที่ 2 หุ้นส่วน ผู้จัดการของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ต้อง รับผิด ใน บรรดา หนี้ ของ จำเลย ที่ 1 โดย ไม่จำกัดจำนวน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070, 1077 และ มาตรา 1080จึง ไม่อาจ ต่อสู้ ว่า ตน มี ทรัพย์สิน พอ ที่ จะ ชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ 1หรือ มิใช่ เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว ได้ ทั้ง กรณี ไม่มี เหตุ ที่ ไม่ควรให้ จำเลย ที่ 2 ล้มละลาย คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ที่ ให้ พิทักษ์ทรัพย์จำเลย ที่ 2 เด็ดขาด ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 2 ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share