คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การละเว้นกระทำจะเป็นละเมิดต่อเมื่อเป็นการละเว้นกระทำในเมื่อมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลและความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการละเว้นดังกล่าว ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเงินพ.ศ.2528หมวด2ข้อ6มีว่า”ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้จัดเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงิน”จำเลยที่2ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจึงต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อ13คือทำหลักฐานรับจ่ายเงินรับผิดชอบเงินที่รับและจ่ายรับจ่ายเงินให้ถูกต้องตามหลักฐานการรับจ่ายทำงบแสดงยอดเงินรับจ่ายและคงเหลือเสนอต่อผู้มอบเงินไปจ่ายพร้อมทั้งส่งหลักฐานและเงินเหลือจ่ายคืนการที่จำเลยที่2ละเว้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับโดยไม่จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินดังกล่าวเป็นผลให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นนายทหารการเงินมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลการเบิกเงินการรับจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการบัญชีเบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปการกระทำของจำเลยที่2เป็นการละเว้นกระทำในเมื่อมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน 675,210 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ต้อง ร่วมรับผิด กับจำเลย ที่ 1 เนื่องจาก การ ยักยอก เงิน จำนวน ดังกล่าว มิได้ เป็น ผล โดยตรงมาจาก การ ที่ จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ แต่งตั้ง ผู้ ป้องกัน อันตราย แต่อย่างใดขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 675,210 บาท แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง(17 สิงหาคม 2532) เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ใน เบื้องต้น ว่า จังหวัด ทหารบก อุด ร (ส่วน แยก ที่ 1 สกลนคร ) เป็นส่วนราชการ หนึ่ง ของ โจทก์ ซึ่ง มี โรงพยาบาล ค่าย กฤษณ์สีวะรา สังกัด จังหวัด ทหารบก อุด ร (ส่วน แยก ที่ 1 สกลนคร ) ขึ้น ตรง อยู่ ด้วยระหว่าง ปี 2526 ถึง ปี 2531 พันเอก ภาณุ โกศลสิทธิ์ ดำรง ตำแหน่ง รองผู้บังคับการ จังหวัด ทหารบก อุด ร (ส่วน แยก ที่ 1 สกลนคร ) มีอำนาจสั่งจ่าย เงิน อำนวยการ และ สั่งการ เกี่ยวกับ การเงิน ของ จังหวัดทหารบก อุด ร (ส่วน แยก ที่ 1 สกลนคร ) ให้ เป็น ไป ตาม ระเบียบ ข้อบังคับของ โจทก์ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ช่วย ผู้บังคับการ มีอำนาจ สั่งจ่าย เงินแทน รองผู้บังคับการ ใน กรณี ที่ รองผู้บังคับการ ไม่สามารถ ปฏิบัติ หน้าที่ได้ และ จำเลย ที่ 1 เป็น นายทหาร การเงิน ตำแหน่ง หัวหน้า ฝ่าย การเงินมี หน้าที่ ควบคุม และ กำกับ ดูแล การ เบิกเงิน การ รับ จ่ายเงิน การ เก็บรักษา เงิน และ การบัญชี เมื่อ ระหว่าง วันที่ 8 มกราคม 2529 ถึง วันที่31 กรกฎาคม 2529 จำเลย ที่ 2 และ พันเอก ภาณุ ได้ สั่งจ่าย เงิน สวัสดิการ เกี่ยวกับ ค่ารักษาพยาบาล ให้ แก่ โรงพยาบาล ค่า ย กฤษณ์สีวะรา หลาย ครั้ง เป็น เงิน 764,180 บาท โดย จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ดำเนินการและ จำเลย ที่ 1 ได้ เบียดบัง เอา เงิน ดังกล่าว ไป เป็น ประโยชน์ ส่วนตัวโดย ละเมิด ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าจำเลย ที่ 2 ทำละเมิด ต่อ โจทก์ อัน จะ ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 รับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ เพียงใด ที่ โจทก์ อ้างว่าจำเลย ที่ 2 มี ตำแหน่ง เป็น ผู้ช่วย ผู้บังคับการ มีอำนาจ สั่งจ่าย เงินแทน รองผู้บังคับการ ใน กรณี รองผู้บังคับการ ไม่สามารถ ปฏิบัติ หน้าที่ ได้แต่ จำเลย ที่ 2 ละเว้น ไม่ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ข้อบังคับ กระทรวงกลาโหมว่าด้วย การเงิน พ.ศ. 2528 โดย ไม่ จัด ให้ มี ผู้ ป้องกัน อันตราย ใน กรณี ที่มี การ ไป รับ จ่ายเงิน นอก บริเวณ สำนักงาน การเงิน และ เงิน ที่ รับ จ่ายเป็น เงินสด มี จำนวน เกินกว่า 30,000 บาท ไม่ จัด เจ้าหน้าที่ รับ จ่ายเงินลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย เช็ค โดย ไม่มี เอกสาร ประกอบ และ ไม่ ตรวจสอบการ ปฏิบัติงาน ด้าน การเงิน ของ จำเลย ที่ 1 ให้ ละเอียด ถี่ถ้วนอันเป็น การกระทำ โดย ความประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1เบียดบัง เอา เงิน ของ โจทก์ ไป โดย ละเมิด นั้น เห็นว่า โดยปกติ การ ละเว้นกระทำ ไม่ ถือว่า เป็น การกระทำ อัน จะ เป็น ละเมิด เว้นแต่ เป็น การ ละเว้นกระทำ ใน เมื่อ มี หน้าที่ ต้อง กระทำ เพื่อ ป้องกัน ผล นั้น จึง จะ ถือได้ว่าเป็น การกระทำ อัน จะ เป็น ละเมิด กรณี จำเลย ที่ 2 ละเว้น ไม่ปฏิบัติ ตามหน้าที่ โดยประมาท เลินเล่อ ซึ่ง จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ นั้น ก็ จะ ต้องได้ความ ด้วย ว่า ความเสียหาย เป็น ผล โดยตรง จาก การ ละเว้น กระทำ ของจำเลย ที่ 2 ซึ่ง เกี่ยวกับ เหตุ ที่ ว่า จำเลย ที่ 2 ละเว้น กระทำ โดยไม่ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ข้อบังคับ กระทรวงกลาโหม ว่าด้วย การเงินพ.ศ. 2528 จน เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1 เบียดบัง เอา เงิน ของ โจทก์ ไป นั้นตาม ข้อบังคับ กระทรวงกลาโหม ว่าด้วย การเงิน พ.ศ. 2528 หมวด 2ว่าด้วย หน้าที่ และ ความรับผิด ชอบ ข้อ 6 มี ว่า “ผู้มีอำนาจ สั่งจ่ายเงิน มี หน้าที่ และ ความรับผิด ชอบ ดังนี้ 6.9 จัด เจ้าหน้าที่ รับจ่ายเงิน ” ฉะนั้น ตาม ข้อบังคับ ดังกล่าว จำเลย ที่ 2 ผู้มีอำนาจสั่งจ่าย เงิน จะ ต้อง จัด ให้ มี เจ้าหน้าที่ รับ จ่ายเงิน ขึ้น เจ้าหน้าที่รับ จ่ายเงิน มี หน้าที่ และ ความรับผิด ชอบ ตาม ข้อบังคับ ดังกล่าว ข้อ 13คือ ทำ หลักฐาน รับ จ่ายเงิน รับผิดชอบ เงิน ที่ รับ และ จ่าย รับ จ่ายเงินให้ ถูกต้อง ตาม หลักฐาน การ รับ จ่าย ทำ งบ แสดง ยอดเงิน รับ จ่าย และคงเหลือ เสนอ ต่อ ผู้ มอบ เงิน ไป จ่าย พร้อม ทั้ง ส่ง หลักฐาน และ เงิน เหลือจ่าย คืน ซึ่ง หาก จำเลย ที่ 2 ผู้มีอำนาจ สั่งจ่าย เงิน จัด ให้ มีเจ้าหน้าที่ รับ จ่ายเงิน ขึ้น โอกาส ที่ จำเลย ที่ 1 จะ เบียดบัง เอา เงินของ โจทก์ ไป ก็ จะ ไม่มี หรือ ยาก ขึ้น จำเลย ที่ 2 จะ อ้าง ทางปฏิบัติที่ ไม่เคย จัด ให้ มี เจ้าหน้าที่ รับ จ่ายเงิน ซึ่ง ผิด ข้อบังคับ มา ปฏิเสธความรับผิด ของ ตน หาได้ไม่ การ ที่ จำเลย ที่ 2 ละเว้น ไม่ปฏิบัติ ตามข้อบังคับ ดังกล่าว โดยประมาท เลินเล่อ จึง เป็น ผล โดยตรง ให้ จำเลย ที่ 1เบียดบัง เอา เงิน ของ โจทก์ ไป การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 เป็น การ ละเว้นกระทำ ใน เมื่อ มี หน้าที่ ต้อง กระทำ เพื่อ ป้องกัน ผล นั้น จึง เป็น การกระทำละเมิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 รับผิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ คดี ไม่ต้อง วินิจฉัย ถึง เหตุอื่น ที่โจทก์ อ้างว่า จำเลย ที่ 2 ละเมิด ต่อ โจทก์ อีก ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองพิพากษายก ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็นของ ศาลฎีกา ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 รับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน จำนวน 591,533 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ

Share