คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2487

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในคดีอาญาสาลมีอำนาดเรียกพยานหลักถานได้ ๆ มาสืบเพื่อประกอบการวินิฉัยไนเวลาได้ ๆ +พิพากสาได้
คดีที่จำเลยวิกลจริตขึ้นพายหลังสาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทจำเลยเส็ดแล้ว แต่ยังไม่ตัดสินสาลมีอำนาดสั่งจำหน่ายคดีเสีย+คราวและไห้สั่งจำเลยไปหยู่ในความดูแลรักสาของข้าหลวงประจำจังหวัดได้

ย่อยาว

คดีนี้สาลชั้นต้นพิจารนาสืบพยานโจทเส็ดแล้วและสืบพยานจำเลยได้ ๕ ปาก ทนายจำเลยแถลงว่าหมดพยานแล้ว แต่จำเลยมีอาการไม่ค่อยเต็มเต็ง อาดเปนคนวิกลจริต ขอไห้สาลสั่งตัวจำเลยไปไห้โรงพยาบาลโรคจิตตรวจเสียก่อนที่จะตัดสินสาลชั้นต้นเห็ฯอาการกริยาของจำเลยผิดปรกติ จึงสั่งไปไห้แพทย์ตรวด แล้วเรียกนายแพทย์เข้าเบิกฝามเปนพยานสาลนายแพทย์ลงความเห้ฯว่า จำเลยเปนโนคจิตซามหยู่ไนลักสนะของโรควิกลสจริต
สาลชั้นต้นเห็นว่า คดียังหยู่ไนระหว่างพิจารนามีเหตุควนเชื่อว่า จำเลยเปนผู้วิกลจริตไม่สามารถต่อสู้คดีได้ จึงไห้งดการพิจารนาคดีไว้จนกว่าจำเลยจะหายวิกลจริตหรือสามารถต่อสู้คดีได้ และไห้จำหน่ายคดีเสียชั่วคราว ส่วนตัวจำเลยไห้ส่งไปหยู่ไนความดูแลรักสาของข้าหลวงประจำจังหวัด
โจทอุธรน์ เสาลอุธรน์ห็นว่า สาลสืบพยานโจทจำเลยเส็ดแล้ว จะถือว่าคดียังหยู่ไนระหว่างพิจารนาตามประมาวนกดหมายวิธีพิจารนาความอาญามาตรา ๑๔ ไม่ได้ และมาตรา ๑๔ ก็มิได้บัญญัติไห้สาลงดการพิพากสา และตามประมวนกดหมายวิธีพิจารนาความแพ่งมาตรา ๑๘๗ ตอนต้น ถือได้ว่าการพิจารนาคดีนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ไห้สาลชั้นต้นตัดสินไปตามรูปความ
จำเลยดีกา สาลดีกาเห็นว่า การพิจารนาคดีอาญานั้นสาลมีอำนาดที่จะเรียกพยานหลักถานได ๆ มาสืบเพื่อประกอบการวินิฉัยไนเวลาได้ ๆ ก่อนพิพากสาได้ตามประมวนกดหมายวิธีพิจารนาความอาญามาตรา ๒๒๘ ส่วนวิธีพิจารนาความแพ่ง ม.๑๘๗ ที่ว่าเมื่อได้สืบพยานและคู่ความได้แถลงการน์เส็ดแล้วไห้ถือว่าการพิจารนาเปนอันสิ้นสุดนั้น ก็ได้มีข้อความยกเว้นไว้เปนทำนองเดียวกันต่อไปว่าตราบไดที่ยังมิได้มีคำพิพากสาสาลอาดทำการพิจารนาต่อไปอีกได้ตามที่เห็นสมควร การพิจารนาคดีอาญาจึงต่างกับการพิจารนาคดีแพ่งฉเพาะข้อที่ว่าไม่มีบทบัญญัติไนประมวนกดหมายวิธีพิจารนาความอาญา ได้ถือว่าการพิจารนาเปนอันสิ้นสุดลงเมื่อได และเห็นว่าจะนำม.๑๘๗ วิธีพิจารนาความแพ่งมาอนุโลมไช้ไม่ได้ เพราะความมุ่งหมายแห่งการพิจารนาความอาญานั้นประสงค์จะเปิดโอกาสไห้ทุกฝ่ายดำเนินกะบวนพิจารนาได้โดยเสรี ฉะนั้นการพิจารนาคดีอาญาจึงต้องมีความหมายตามหลักทั่วไป คือการดำเนินคดีทั้งหมดไนสาลก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจำหน่ายคดีโดยคำพิพากสาหรือคำสั่งตามนัยแห่งมาตรา ๑(๘) วิธีพิจารนาความแพ่ง จึงพิพากสากลับคำพิพากสาสาลอุธรน์ไห้ดำเนินการไปตามคำสั่งสาลชั้นต้น

Share