คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539-2540/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์บรรยายฟ้องว่าช.คนขับรถยนต์ของจำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังโดยขับรถเข้าไปในช่องทางเดินรถคันที่โจทก์ที่3ขับเป็นเหตุให้รถชนกันเป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม. ฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์มี3คนและไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการหุ้นส่วนผู้จัดการคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิกระทำกิจการในนามห้างโจทก์ได้. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336เจ้าของทรัพย์สินนอกจากจะมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้แล้วยังมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายอีกด้วยเมื่อจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้.

ย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา รวมกัน โดย ให้เรียก โจทก์ ใน สำนวน คดี หลัง ว่า โจทก์ ที่ 3 โจทก์ ทั้ง สอง สำนวนฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม มอบอำนาจ ให้ นาย จำเริญ ศุภประเสริฐ ฟ้องคดี แทน โจทก์ ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ บรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน 2 บ – 8733 ซึ่งให้ โจทก์ ที่ 2 เช่าซื้อ ไป โจทก์ ที่ 3 เป็น ลูกจ้าง ของ โจทก์ ที่ 2จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ รถยนต์ บรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน น.ม.26852 ซึ่ง จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ เช่าซื้อ ไป เมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2523 นาย ชายใจหยุด ขับ รถยนต์ บรรทุก คัน หมายเลข ทะเบียน น.ม.26852 ของ จำเลยทั้ง สอง ด้วย ความ ประมาท เข้า ไป ใน ช่องทาง เดินรถ ของ รถยนต์ บรรทุกคัน หมายเลข ทะเบียน 2 บ – 8733 ซึ่ง โจทก์ ที่ 3 ขับ เป็น เหตุ ให้ รถทั้ง สอง คัน ชน กัน เสียหาย นาง สายลม อุทัยเก่า ภริยา โจทก์ ที่ 3ซึ่ง โดยสาร มา ใน รถ ที่ โจทก์ ที่ 3 ขับ ถึง แก่ ความตาย จำเลย ทั้งสอง ซึ่ง เป็น นายจ้าง ต้อง ร่วม รับผิด ใน ผล แห่ง การ ละเมิด ของ นายชาย ใจหยุด โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 เสีย ค่า ซ่อมรถ รถ เสื่อมสภาพ และขาด ประโยชน์ จาก การ ใช้ รถ รวม ทั้งสิ้น 340,000 บาท โจทก์ ที่ 3 เสียค่าใช้จ่าย ใน การ ปลงศพ นาง สายลม และ ค่า ขาดไร้อุปการะ รวม ทั้งสิ้น 30,690 บาท ขอ ให้ พิพากษา บังคับ จำเลย ทั้ง สอง สำนวน ร่วมกัน ชดใช้ค่าเสียหาย พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี จาก ต้นเงินทั้ง สอง จำนวน ดังกล่าว นับแต่ วัน ฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ทั้ง สอง สำนวน ขาดนัด ยื่น คำให้การ
จำเลย ที่ 2 ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ว่า นาย จำเริญ ศุภประเสริฐ ไม่ มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์ ทั้ง สาม ลายมือชื่อ ผู้มอบอำนาจ โจทก์ ที่2 ที่ 3 เป็น ลายมือชื่อ ปลอม ฟ้อง โจทก์ ขาด อายุความ และ เคลือบคลุมเดิม นาย ชาย ใจหยุด เคย เป็น ลูกจ้าง จำเลย ที่ 2 แต่ ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 2 เลิกจ้าง นาย ชาย แล้ว นาย ชาย ขับรถ คัน เกิดเหตุ โดยจำเลย ที่ 2 ไม่ ได้ รู้ เห็น ยินยอม โจทก์ ที่ 1 ไม่ มี อำนาจฟ้องเพราะ ขณะ เกิดเหตุ ได้ ให้ โจทก์ ที่ 2 เช่าซื้อ รถ ไป แล้ว เหตุเกิดเพราะ ความ ประมาท ของ โจทก์ ที่ 3 โจทก์ ที่ 3 ไม่ มี สิทธิ เรียกค่า ขาดไร้อุปการะ
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ขอ ถอน ฟ้อง จำเลย ที่ 1ศาลชั้นต้น อนุญาต โจทก์ ที่ 2 ถึง แก่ ความตาย ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้นาย ชาญ เกตุศิริ เข้า เป็น คู่ความ แทนที่
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ชดใช้ ค่า ซ่อมรถ และ ค่าเสื่อมราคา รถ ให้ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 เป็น เงิน 195,000 บาท ค่าขาดประโยชน์ จาก การ ใช้ รถ ให้ โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 20,000 บาทค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ที่ 3 เป็น เงิน 30,690 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี ใน ต้นเงิน แต่ ละ ยอด นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ
จำเลย ที่ 2 ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 2 ทั้ง สอง สำนวน ฎีกา
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า ฟ้อง โจทก์ เคลือบคลุม ไม่ บรรยายให้ แจ้งชัด ว่า จุด ชน อยู่ ตรง กิโลเมตร เท่าไร ของ ถนน คน ขับรถ ของโจทก์ ขับ ด้วย อัตรา ความเร็ว เท่าใด ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ได้บรรยาย ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 3 ขับ รถยนต์ จาก จังหวัด ฉะเชิงเทรามุ่งหน้า ไป ทาง เขต มีนบุรี กรุงเทพมหานคร ครั้น ถึง เขต มีนบุรี ซึ่งเป็น ที่เกิดเหตุ นาย ชาย ใจหยุด ขับ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 จากเขต มีนบุรี มุ่งหน้า ไป จังหวัด ฉะเชิงเทรา ด้วย ความ ประมาท ปราศจากความ ระมัดระวัง กล่าวคือ นาย ชาย ขับรถ เข้า ไป ใน ช่องทาง เดินรถ ของรถ คัน ที่ โจทก์ ที่ 3 ขับ เป็น เหตุ ให้ รถ ชนกัน เช่นนี้ เห็นว่าคำฟ้อง ของ โจทก์ ได้ แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพ แห่ง ข้อหา และข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อหา พอ ที่ จำเลย จะ เข้าใจ ได้แล้ว จำเลย เอง ก็ ให้การ ต่อสู้ คดี ว่า คน ขับรถ ของ โจทก์ ที่ 2เพียง ฝ่ายเดียว ที่ ประมาท ขับ แซง รถยนต์ บรรทุก ด้วยกัน ล่วงล้ำเข้า มา ใน เส้นทาง เดินรถ ของ จำเลย ที่ 2 จึง เกิด ชนกัน ฟ้อง ของโจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่ กล่าว รายละเอียด ว่าซ่อม อะไร บ้าง คำฟ้อง ส่วน นี้ จึง เคลือบคลุม ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่าจำเลย มิได้ ยก ข้อนี้ ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา จึงไม่ รับ ฟัง วินิจฉัย ให้
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า การ มอบอำนาจ ของ โจทก์ ที่ 1 ให้นาย จำเริญ ศุภประเสริฐ ฟ้อง คดี แทน ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย เพราะหุ้นส่วน ผู้จัดการ อื่นๆ มิได้ รู้เห็น ยินยอม ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่าตาม หนังสือ รับรอง สำนักทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กรุงเทพมหานคร เอกสารหมาย จ.6 ระบุ ว่า หุ้นส่วน ผู้จัดการ ห้าง โจทก์ ที่ 1 มี 3 คน คือนาย อุดม อุดมมะนะ นาย นิพนธ์ อุดมมะนะ และ นาย ประเสริฐ และ ไม่ มีข้อจำกัด อำนาจ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ฉะนั้น หุ้นส่วน ผู้จัดการ คนใดคนหนึ่ง ย่อม มี สิทธิ กระทำ กิจการ ในนาม ของ ห้าง โจทก์ ที่ 1 ได้การ ที่ นาย นิพนธ์ อุดมมะนะ มอบอำนาจ ให้ นาย จำเริญ ศุภประเสริฐ ฟ้องคดี นี้ ตาม เอกสาร หมาย จ.4 จึง เป็น การ ชอบ แล้ว
ใน ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น เพียง เจ้าของทรัพย์ ไม่ มี สิทธิ ฟ้อง ใน มูล ละเมิด ได้ นั้น ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เจ้าของ ทรัพย์สินนอกจาก จะ มี สิทธิ ติดตาม เอา คืน ซึ่ง ทรัพย์สิน ของ ตน จาก บุคคลผู้ ไม่ มี สิทธิ จะ ยึดถือ ไว้ แล้ว ยัง มี สิทธิ ขัดขวาง มิให้ผู้อื่น สอด เข้า เกี่ยวข้อง กับ ทรัพย์สิน นั้น โดย มิชอบ ด้วย กฎหมายอีก ด้วย เมื่อ จำเลย กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 ผู้ เป็น เจ้าของทรัพย์สิน โจทก์ ที่ 1 จึง ย่อม มี สิทธิ ฟ้อง คดี ได้
พิพากษา ยืน

Share