แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลงชื่อสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าย่อมพอเข้าใจว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าและจำเลยสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายนั้นเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5) ข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน รายการวันที่และจำนวนเงินที่ลงในเช็คนั้นจำเลยหาจำต้องเขียนลงไว้ในเช็คด้วยลายมือของจำเลยไม่หากข้อความถูกต้องตรงกับเจตนาของจำเลยในการออกเช็คนั้นและจำเลยลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายก็เป็นการออกเช็คที่สมบูรณ์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้อง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 จำคุก 6 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า คำฟ้อง ของ โจทก์ ชอบ ด้วย ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) หรือไม่ เห็นว่า การ บรรยายฟ้อง ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ที่ บัญญัติ ว่า ผู้ใด ออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ ที่ มี อยู่ จริง และบังคับ ได้ ตาม กฎหมาย นั้น ไม่จำเป็น ต้อง ใช้ คำ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าวทุก ถ้อยคำ คดี นี้ โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ลงชื่อ สั่งจ่าย เช็คตาม ฟ้อง มอบ ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ ชำระหนี้ ค่าสินค้า ย่อม พอ เข้าใจ ได้ว่าจำเลย เป็น หนี้ โจทก์ ตาม สัญญาซื้อขาย สินค้า และ จำเลย สั่งจ่าย เช็คดังกล่าว เพื่อ ชำระหนี้ ค่าสินค้า ตาม สัญญาซื้อขาย นั้น จึง เป็น การบรรยาย ข้อเท็จจริง เพื่อ แสดง ว่า จำเลย ออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย แล้ว เป็น คำฟ้อง ที่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2วินิจฉัย ว่า คำฟ้อง ของ โจทก์ ไม่ชอบ ด้วย บท กฎหมาย ดังกล่าวจึง พิพากษายก ฟ้อง ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้นส่วน ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ไม่ได้ ออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ ที่ มีอยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย เนื่องจาก จำเลย ไม่ได้ เป็น หนี้ค่าซื้อ ข้าวโพด จาก โจทก์ จำนวน 324,000 บาท และ โจทก์ นำสืบ ไม่ได้ว่า รายการ วันที่ และ จำนวนเงิน ที่ ลง ใน เช็ค เป็น ลายมือ ของ จำเลย นั้นศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัยไป โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ใหม่ปัญหา ดังกล่าว นี้ เห็นว่า รายการ วันที่ และ จำนวนเงิน ที่ ลง ใน เช็ค นั้นจำเลย หา จำต้อง เขียน ลง ไว้ ใน เช็ค ด้วย ลายมือ ของ จำเลย ไม่จำเลย อาจ ให้ บุคคลอื่น เขียน หรือ พิมพ์ ข้อความ ดังกล่าว ให้ ก็ ได้หาก ข้อความ ถูกต้อง ตรง กับ เจตนา ของ จำเลย ใน การ ออก เช็ค นั้น และจำเลย ลงลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย แล้ว ก็ เป็น การ ออก เช็ค ที่ สมบูรณ์และ ใน ข้อ นี้ พยานหลักฐาน ของ จำเลย ไม่ เพียงพอ ที่ จะ หักล้างพยานหลักฐาน ของ โจทก์ ได้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่าจำเลย ได้ ซื้อ ข้าวโพด จาก โจทก์ คิด เป็น เงิน 324,000 บาท อันเป็นหนี้ ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย และ จำเลย ออก เช็คพิพาทซึ่ง ได้ มี การ กรอก ข้อความ ครบถ้วน แล้ว มอบ ให้ แก่ โจทก์ เพื่อชำระหนี้ ดังกล่าว ต่อมา เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด เงิน ใน บัญชี ของ จำเลยมี ไม่พอ จ่ายเงิน ตามเช็ค จน ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงินตามเช็ค นั้น การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ตาม ฟ้อง ที่ ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษ จำเลย ชอบแล้ว ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น