แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง ขอจัดการมรดก
++ (ชั้นร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา) ++
++
++
++ กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2521 หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10798/2520ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ 40 ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2355/2525 หมายเลขแดงที่ 10941/2530ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ 1) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 หรือเอกสารหมาย ค.1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8104/2529 ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25ธันวาคม 2527 ของผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ 1 ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม2521 มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 8151, 43796,43797 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ 1535/21.22 จำนวน 2 คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2536 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2540 ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 10941/2530 ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.1ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
ย่อยาว
กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๘ แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๒๑ หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๗๙๘/๒๕๒๐ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ ๔๐ ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ ๑ ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ ๑ เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ ๑ และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ ๑ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ ๑ เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ ๒ ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ ๒ เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ ๒ ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ ๑ ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ ๒เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ ๒ ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ ๑เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ ๒ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๓๕๕/๒๕๒๕ หมายเลขแดงที่ ๑๐๙๔๑/๒๕๓๐ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ ๑) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๗ตามเอกสารหมาย จ.๖ หรือเอกสารหมาย ค.๑ ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๘๑๐๔/๒๕๒๙ ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ ๒๕ธันวาคม ๒๕๒๗ ของผู้คัดค้านที่ ๑ ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ ๑ ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม๒๕๒๑ มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๗๒๗ ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ ๑ ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ ๑ จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ ๑ ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ ๘๑๕๑, ๔๓๗๙๖,๔๓๗๙๗ ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ ๑๕๓๕/๒๑.๒๒ จำนวน ๒ คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ ๑ เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ ๑ จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ ๑ ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๖ ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ ๑ ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม๒๕๔๐ ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔๒ จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ ๑ ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๑๐๙๔๑/๒๕๓๐ ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๗ตามเอกสารหมาย จ.๖ ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.๑ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๔๓/๒๕๓๖ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ ๑ ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ ๑ ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.