แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2ได้นำเข้าร่วมกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่3โดยได้ให้ประโยชน์แก่จำเลยที่3เป็นรายเที่ยวและให้ค่าต่อสัญญาเป็นรายปีถือได้ว่าจำเลยที่3และที่2ร่วมกันเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จำเลยที่1ทำละเมิดจำเลยที่3จึงต้องร่วมรับผิดด้วยหาจำต้องมีการแบ่งผลประโยชน์ในการประกอบกิจการไม่ ค่าขาดความสุขสำราญเพราะร่างกายพิการทำให้สังคมรังเกียจอับอายขายหน้าไม่ได้เล่นกีฬาไม่ได้สมรสเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา446ส่วนค่าสูญเสียความสามารถในการทำงานเป็นความเสียหายเพราะเสียความสามารถประกอบการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา444เป็นค่าเสียหายคนละอย่างไม่ซ้ำซ้อนและแม้ค่าขาดความสุขสำราญกับค่าทนทุกขเวทนาต่างก็เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินแต่ก็มิใช่ค่าเสียหายเดียวกันเพราะค่าขาดความสุขสำราญเป็นเรื่องการขาดหรือสูญเสียความสุขสำราญจากความรู้สึกที่ดีส่วนค่าทนทุกขเวทนาเป็นเรื่องการต้องทนยอมรับความเจ็บปวดหรือทรมานจึงแตกต่างกันไม่ซ้ำซ้อน
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถโดยสาร และ นำ ไปเข้าร่วม กิจการ เดินรถ ร่วม กับ จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้างของ จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ รถ พลิกคว่ำ ทำให้ โจทก์ ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส พิการ ทุพพลภาพตลอด ชีวิต ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ใน การ รักษา พยาบาล ต้อง บาดเจ็บทุกขเวทนา เสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการ งาน และ ขาด ความ สำราญตลอด ชีวิต ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน และ หรือ แทน กัน ชำระ เงิน3,120,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า เป็น เจ้าของ รถ และ เป็น นายจ้างของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ขับ รถ โดย ประมาณ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ บาดเจ็บแต่ ไม่ถึง ทุพพลภาพ เพราะ มี โอกาส รักษา ให้ หาย ตาม ปกติ ได้ โจทก์ เสียค่า พาหนะ ที่ ญาติ เดินทาง ไป รับ ตัว โจทก์ ไป โรงพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลค่า พาหนะ ที่ ญาติ เดินทาง ไป เฝ้า ปรนนิบัติ ค่าป่วยการ ญาติ ค่า เวชภัณฑ์ไป ตาม ฟ้อง จริง แต่ ที่ คิด ค่า เวชภัณฑ์ นับแต่ วันฟ้อง ไป จำนวน 30 ปีค่าจ้าง คน เฝ้า เพื่อ ช่วยเหลือ โจทก์ ค่า เดินทาง ไป โรงพยาบาลเป็น ฟ้องเคลือบคลุม เพราะ เป็น การ คาดคะเน ค่า ผ่าตัด เพื่อ เอา เหล็กที่ ดามกระดูก สันหลัง ออก ค่า ทุกขเวทนา ค่า สูญเสีย ความ สามารถ ใน การประกอบการ งาน เป็น การ เรียก ตาม อำเภอ ใจ ไม่แน่ นอน และ สูง เกิน ไปส่วน ค่า ขาด ความ สำราญ เป็น การ ซ้ำซ้อน กับ ค่า ทุกขเวทนา และ ค่า สูญเสียความ สามารถ ใน การ ประกอบการ งาน จึง ไม่มี สิทธิ ได้รับ ค่าเสียหาย ส่วน นี้จำเลย ที่ 2 เคย เสนอ จะ ชำระ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ จำนวน 500,000 บาทแล้ว แต่ โจทก์ ไม่ยินยอม ขอให้ ศาล พิพากษา จำเลย ที่ 2 รับผิด เพียง500,000 บาท
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า ใน การ เดินรถ ร่วม กับ จำเลย อื่น จำเลย ที่ 3มิได้ รับ ผลประโยชน์ จำเลย ที่ 1 มิใช่ ลูกจ้าง จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 3จึง ไม่ต้อง รับผิด ความเสียหาย มิได้ เกิดจาก ความประมาท ของ จำเลย ที่ 1ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ เรียกร้อง มา มิได้ ระบุ ว่า เสียหาย ส่วน ไหน เป็น เงินเท่าไร เป็น ฟ้อง ที เคลือบคลุม ก่อน ฟ้องโจทก์ ไม่เคย ทวงถาม ให้ จำเลย ที่ 3ใช้ ค่าเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน1,741,297 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน 961,297 บาท ให้ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 2 นำ รถยนต์โดยสาร เข้า เดินรถรับ ส่ง ผู้โดยสาร ร่วม กับ จำเลย ที่ 3 โดย จำเลย ที่ 2 ได้ ให้ ประโยชน์ แก่จำเลย ที่ 3 เป็น ราย เที่ยว และ ให้ ค่า ต่อ สัญญา เป็น รายปี ด้วย จึง ถือได้ว่า จำเลย ที่ 3 และ ที่ 2 ร่วมกัน เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 และต้อง ร่วมรับผิด ด้วย หา จำต้อง มี การ แบ่ง ผลประโยชน์ ใน การ ประกอบกิจการ กัน ไม่
สำหรับ ประเด็น เรื่อง ค่าเสียหาย จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกาว่า ค่า ขาด ความ สุข สำราญ นั้น เป็น การ ซ้ำ กับ ค่า ทน ทุกขเวทนา กับ ค่าที่ ต้อง สูญเสีย ความ สามารถ ใน การ ทำงาน โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ได้เห็นว่า ค่า ขาด ความ สุข สำราญ โจทก์ เรียก ค่าเสียหาย เพราะ ร่างกาย พิการทำให้ สังคม รังเกียจ อับอายขายหน้า ไม่ได้ เล่น กีฬา ไม่ได้ สมรสขาด ความ สุข สำราญ เป็น ค่าเสียหาย เกี่ยวกับ ความรู้สึก ทาง ด้าน จิตใจ เป็นความเสียหาย อัน มิใช่ ตัว เงิน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446ส่วน ค่า ที่ ต้อง สูญเสีย ความ สามารถ ใน การ ทำงาน เป็น ความเสียหาย เพราะเสีย ความ สามารถ ประกอบการ งาน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444 เป็น ค่าเสียหาย คน ละ อย่าง แตกต่าง กัน จึง ไม่ ซ้ำซ้อนและ แม้ ค่า ขาด ความ สุข สำราญ กับ ค่า ทน ทุกขเวทนา ต่าง ก็ เป็น ค่าเสียหายอัน มิใช่ ตัว เงิน แต่ ก็ มิใช่ ค่าเสียหาย เดียว กัน กล่าว คือ ค่า ขาดความ สุข สำราญ ตาม ที่ กล่าว มา แล้ว นั้น เป็น เรื่อง การ ขาด หรือ สูญเสียความ สุข สำราญ จาก ความรู้สึก ที่ ดี ส่วน ค่า ทน ทุกขเวทนา เป็น เรื่องการ ต้อง ทน ยอมรับ ความ เจ็บปวด หรือ ทรมาน จึง แตกต่าง กัน ไม่ ซ้ำซ้อน กัน
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น