แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ค่าเสียหายเพราะร่างกายพิการทำให้สังคมรังเกียจอับอายขายหน้าไม่ได้เล่นกีฬาไม่ได้สมรสขาดความสุขสำราญเป็นเรื่องการขาดหรือสูญเสียความสุขความสำราญจากความรู้สึกที่ดีเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจส่วนค่าทนทุกขเวทนาเป็นเรื่องการต้องทนยอมรับความเจ็บปวดหรือทรมานซึ่งต่างก็เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินแต่ก็มิใช่ค่าเสียหายเดียวกันจึงไม่ซ้ำซ้อน
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3เมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม 2528 จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ ใน ทางการที่ จ้าง โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ รถ พลิกคว่ำ ทำให้ โจทก์ ซึ่ง โดยสารมา ใน รถ ดังกล่าว ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส พิการ ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ใน การ รักษา พยาบาล ต้อง บาดเจ็บ ทุกขเวทนาเสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการ งาน และ ขาด ความ สำราญ ตลอด ชีวิตขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน และ หรือ แทน กัน ชำระ เงิน 3,120,100บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า เป็น นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1ขับ รถ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ โจทก์ บาดเจ็บ แต่ ไม่ถึง ทุพพลภาพ เพราะมี โอกาส รักษา ให้ หาย ตาม ปกติ ได้ ขอให้ ศาล พิพากษา จำเลย ที่ 2 รับผิดเพียง 500,000 บาท
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 มิใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 3ความเสียหาย มิได้ เกิดจาก ความประมาท ของ จำเลย ที่ 1 ฟ้องโจทก์ ในเรื่อง ค่าเสียหาย เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน1,741,297 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ คำขอ นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระเงิน จำนวน 961,297 บาท ให้ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด จำเลย ที่ 3 ได้รับสัมปทาน เดินรถ รับ ส่ง ผู้โดยสาร ใน เส้นทาง ที่เกิดเหตุ จำเลย ที่ 2เป็น เจ้าของ รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ ซึ่ง จำเลย ที่ 2 นำเข้า เดินรถรับ ส่ง ผู้โดยสาร ใน เส้นทาง สัมปทาน ของ จำเลย ที่ 3 โดย จำเลย ที่ 2ให้ ประโยชน์ เป็น ค่าตอบแทน การ ใช้ เส้นทาง สัมปทาน ร่วม กับ จำเลย ที่ 3ตาม สัญญา ร่วม กิจการ เดินรถ เอกสาร หมาย ป.จ. 6 จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้างของ จำเลย ที่ 2 ขับ รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ ใน ทางการที่จ้าง ของจำเลย ที่ 2 โจทก์ เป็น ผู้โดยสาร มา ใน รถ คัน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1ขับ รถ คัน เกิดเหตุ โดยประมาท เลินเล่อ ทำให้ รถ พลิกคว่ำ โจทก์ ได้รับบาดเจ็บ สาหัส ทุพพลภาพ แต่ ยัง ไม่แน่ ชัด ว่า จะ ทุพพลภาพ ตลอด ชีวิต
สำหรับ ใน ประเด็น เรื่อง ค่าเสียหาย นั้น โจทก์ ฎีกา ขอให้ ศาลกำหนด ค่าเสียหาย เพิ่มขึ้น ส่วน จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่าค่า ขาด ความ สุข สำราญ ตาม ฟ้อง ข้อ 3.10 นั้น เป็น การ ซ้ำ กับ ค่า ทนทุกขเวทนา ตาม ฟ้อง ข้อ 3.8 กับ ค่า ที่ ต้อง สูญเสีย ความ สามารถ ใน การทำงาน ตาม ฟ้อง ข้อ 3.9 โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ได้ ศาลฎีกา จะ ได้ วินิจฉัยฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ก่อน เห็นว่า ค่าเสียหาย ตาม ฟ้องข้อ 3.10 โจทก์ เรียก ค่าเสียหาย เพราะ ร่างกาย พิการ ทำให้ สังคม รังเกียจอับอายขายหน้า ไม่ได้ เล่น กีฬา ไม่ได้ สมรส ขาด ความ สุข สำราญ เป็นค่าเสียหาย เกี่ยวกับ ความรู้สึก ทาง ด้าน จิตใจ เป็น ความเสียหาย อันมิใช่ ตัว เงิน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ส่วนค่าเสียหาย ตาม ฟ้อง ข้อ 3.9 เป็น ความเสียหาย เพราะ เสีย ความ สามารถประกอบการ งาน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 เป็นค่าเสียหาย คน ละ อย่าง แตกต่าง กัน จึง ไม่ ซ้ำซ้อน และ แม้ ค่าเสียหายตาม ข้อ 3.10 กับ ค่า ทน ทุกขเวทนา ตาม ฟ้อง ข้อ 3.8 ต่าง ก็ เป็น ค่าเสียหายอัน มิใช่ ตัว เงิน แต่ ก็ มิใช่ ค่าเสียหาย เดียว กัน กล่าว คือ ค่าเสียหายตาม ฟ้อง ข้อ 3.10 ตาม ที่ กล่าว มา แล้ว นั้น เป็น เรื่อง การ ขาด หรือสูญเสีย ความ สุข สำราญ จาก ความรู้สึก ที่ ดี ส่วน ค่าเสียหาย ตาม ฟ้องข้อ 3.8 เป็น เรื่อง การ ต้อง ทน ยอมรับ ความ เจ็บปวด หรือ ทรมาน จึง แตกต่างกัน ไม่ ซ้ำซ้อน กัน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ประเด็น ตาม ฎีกา โจทก์ ที่ ขอให้ กำหนด ค่าเสียหาย ให้ เพิ่มขึ้นนั้น ประการ แรก เกี่ยวกับ ค่าใช้จ่าย ที่ ญาติ ไป เฝ้า ปรนนิบัติ และค่าจ้าง นางพยาบาล เฝ้า เห็นว่า ค่าใช้จ่าย ใน ส่วน นี้ โจทก์ ไม่มีหลักฐาน มา แสดง จึง เป็น การ นำสืบ ค่าเสียหาย ไม่ ชัดแจ้ง ศาลล่าง ทั้ง สองกำหนด ให้ 2,700 บาท เหมาะสม แล้ว ประการ ต่อมา เป็น เรื่อง ค่า ทน ทุกขเวทนากับ ค่า ขาด ความ สุข สำราญ ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ เท่ากับ ศาลชั้นต้นคือ อย่าง ละ 50,000 บาท เป็น เงิน 100,000 บาท แต่ โจทก์ ฎีกา ขอให้กำหนด ให้ สำหรับ อย่าง แรก 200,000 บาท และ อย่าง หลัง 400,000 บาทรวม 600,000 บาท ตาม ฟ้อง ศาลฎีกา เห็นว่า จำนวน ตาม ที่ ศาลล่างทั้ง สอง กำหนด มา นั้น เหมาะสม แล้ว ส่วน ค่า เวชภัณ ฑ์ที่ ต้อง ใช้ ใน การดำรงชีพ ต่อไป ค่า คน เฝ้า ปรนนิบัติ กับ ค่า เสีย ความ สามารถ ใน การ ทำงานนั้น ศาลชั้นต้น กำหนด ค่า เวชภัณ ฑ์ที่ จะ ต้อง ใช้ ใน การ ดำรงชีพ แต่ละ วันนับ จาก วันฟ้อง ต่อไป ให้ ปี ละ 3,000 บาท เป็น เวลา 20 ปี ค่า คน เฝ้าปรนนิบัติ นับ จาก วันฟ้อง ต่อไป ให้ ปี ละ 15,000 บาท เป็น เวลา 20 ปีกับ ค่า เสีย ความ สามารถ ใน การ ทำงาน กำหนด ให้ เดือน ละ 5,000 บาท เป็น เวลา20 ปี รวมเป็น เงิน ก้อน เป็น เงิน รวม 1,560,000 บาท แต่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ให้ โจทก์ น้อยลง โดย ให้ อัตรา ค่าเสียหาย ต่อ ปี หรือ ต่อ เดือนเท่าที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ แต่ คิด คำนวณ ให้ เพียง 10 ปี รวมเป็นเงิน ก้อน 780,000 บาท โจทก์ ฎีกา ขอให้ ศาล กำหนด ให้ ตาม ฟ้อง ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เกิดเหตุ เมื่อ เดือน สิงหาคม 2528 ขณะที่ โจทก์ มี อายุ 29 ปีโจทก์ สำเร็จ ชั้น ปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต ทำงาน ที่ ชุมนุม สหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศ ไทย ตั้งแต่ ปี 2524 ได้ ออกจาก งาน เพราะ เหตุทุพพลภาพ ครั้งนี้ เงินเดือน ครั้งสุดท้าย เดือน ละ 5,030 บาท เห็น ได้ว่า ระยะเวลา ที่ โจทก์ จะ มี ชีวิต อยู่ ต่อไป นั้น ยาว นาน และ หาก ไม่ทุพพลภาพ โจทก์ ก็ จะ มี โอกาส ที่ จะ เจริญ ก้าวหน้า ทั้ง ใน ทาง หน้าที่การงาน และ รายได้ อีก ศาลฎีกา เห็นว่า ค่า เวชภัณ ฑ์นั้น โจทก์ ขอ มาใน ฟ้อง ปี ละ 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ ปี ละ 3,000 บาท เหมาะสมแล้ว ส่วน ค่า คน เฝ้า ปรนนิบัติ โจทก์ ขอ มา ปี ละ 15,000 บาท และ ค่า เสียความ สามารถ ใน การ ทำงาน โจทก์ ขอ มา เดือน ละ 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์ ก็กำหนด ให้ ตาม ที่ โจทก์ ขอ แล้ว ส่วน ที่ โจทก์ ขอให้ ใช้ เป็น เวลา 30 ปีนั้น เห็นว่า สูง เกิน ไป เพราะ เงิน ที่ โจทก์ จะ ได้ ไป นี้ เป็น เงิน ก้อนจำนวน รวมทั้งหมด เกือบ สอง ล้าน บาท แม้ จะ หัก ออก บางส่วน เพื่อ เป็นค่าใช้จ่าย นับแต่ วันฟ้อง มา ถึง วัน พิพากษาคดี ก็ จะ ยัง เหลือ เงิน ก้อน ใหญ่พอสมควร หาก นำ ไป ฝาก ธนาคาร ก็ จะ ได้ ดอกเบี้ย เป็น รายเดือน สูง กว่าค่าเสียหาย รายเดือน ที่ โจทก์ ขอ มา ใน คำฟ้อง ไม่ว่า อัตรา ดอกเบี้ยจะ ลด ต่ำ ลง เพียงใด และ จะ เป็น เวลา นาน กว่า 30 ปี เสีย อีก แต่ ที่ศาลอุทธรณ์ คิด คำนวณ ให้ เพียง 10 ปี เป็น เงิน ก้อน 780,000 บาทเมื่อ รวมกับ ค่าเสียหาย อื่น แล้ว จะ เป็น เงิน รวม 961,297 บาท นั้นก็ ต่ำ เกิน ไป เพราะ แม้ จะ นำ ไป ฝาก ธนาคาร และ นำ ดอกเบี้ย มา ใช้ ได้ ก็ ต้องหัก ค่าใช้จ่าย นับแต่ วันฟ้อง มา จน ถึง วัน พิพากษาคดี เสีย ก่อน ซึ่งเป็น เวลา เกือบ 8 ปี ย่อม จะ เหลือ เงิน อยู่ เพียง ไม่มาก นัก จะ ฝากธนาคาร นำ ดอกเบี้ย มา ใช้ จ่าย ลำพัง แต่ ดอกเบี้ย ก็ จะ ไม่พอ ต้อง ใช้เงินต้น ด้วย ประกอบ กับ สภาวะ เงินเฟ้อ หรือ ค่า ของ เงิน ตก ต่ำ ลง ไปไม่ นาน นัก ก็ จะ หมด ไป ศาลฎีกา เห็นว่า ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ ตาม ที่ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ โดย คิด คำนวณ ให้ 20 ปี เป็น เงิน รวม 1,560,000บาท เหมาะสม แก่ พฤติการณ์ แห่ง คดี คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ใน ส่วน นี้ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น