คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีข้อใดไว้แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดข้อนั้นเป็นประเด็นข้อพิพาทก็หาก่อให้เกิดมีประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาไม่ต้องถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าAdmiralและรูปประดิษฐ์สำหรับสินค้าจำพวกที่38โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าวโจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่โจทก์หาได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าไม่โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้ทั้งไม่อาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา29วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า อักษร โรมันคำ ว่า admiral โจทก์ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้าของ โจทก์ มา นาน แล้ว โดย ผลิต จำหน่าย ที่ ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ รวมทั้ง ประเทศ ต่าง ๆ เกือบ ทั่ว โลก ใน ประเทศ ไทย โจทก์ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ กับ สินค้า จำพวก ที่ 37 อัน ได้ แก่ กระเป๋าทุก ชนิด ต่อมา โจทก์ ยื่น จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ กับ สินค้าจำพวก ที่ 50 ใน บรรดา สินค้า ทั้งมวล ที่อยู่ ใน จำพวก นี้ ซึ่ง อยู่ ในระหว่าง การ ดำเนินการ จดทะเบียน และ จำพวก ที่ 38 อัน ได้ แก่ เสื้อผ้าต่าง ๆ และ ถุง เท้า นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ปฏิเสธ ไม่รับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เนื่องจาก เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ซึ่ง ได้รับ โอนมาจาก นาย บุญแสง ติยะอินทรศักดิ์ โดย นาย บุญแสง ทราบ ดี ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว แต่ นำ ไป ลอก เลียน แล้ว นำ ไปยื่น ขอ จดทะเบียน ต่อ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า โดย ไม่สุจริตจำเลย รับโอน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว มา ทั้งที่ ทราบ ว่า เป็นเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย การกระทำของ นาย บุญแสง และ จำเลย เป็น การ ลวง ขาย สินค้า ว่า เป็น ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ขาด ประโยชน์ ใน ทาง ทำ มา หา ได้ ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 193054 ดีกว่า ของ จำเลยตาม คำขอ เลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่ 54539 ให้ จำเลย เพิกถอน คำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่ 54539หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดงเจตนา ของ จำเลย ให้ ห้าม มิให้ จำเลย ขัดขวาง การ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 193054 ของ โจทก์ ห้าม จำเลยใช้ เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่ 54539กับ สินค้า ของ จำเลย และ ให้ จำเลย ทำลาย เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอเลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่ 54539 ซึ่ง ปรากฏ บน สินค้า จำเลยกับ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 50,000 บาท นับแต่ วันที่12 กันยายน 2526 ซึ่ง เป็น วันที่ จำเลย รับโอน เครื่องหมายการค้ามาจาก นาย บุญแสง จนกว่า จำเลย จะ เลิก ใช้ เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่ 54539
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย รับโอน เครื่องหมายการค้า มาจากนาย บุญแสง โดยสุจริต และ จำเลย ไม่ทราบ ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว นาย บุญแสง เป็น เจ้าของ ผู้ คิด ประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย โดยสุจริต โดย มิได้ ลอก เลียน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ นาย บุญแสง จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ไว้ กับ สินค้า จำพวก ที่ 38 ต่อ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้าซึ่ง นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า รับ จดทะเบียน ให้ เมื่อ วันที่18 พฤศจิกายน 2518 จำเลย จึง มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดีกว่าโจทก์ จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้า กับ สินค้า ของ จำเลย โดยชอบ ด้วยกฎหมาย ไม่เป็น การ ลวง ขาย ว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ จึง ไม่เป็นการกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ไม่เกิน เดือน ละ1,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ตามคำขอ เลขที่ 193054 ดีกว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ตาม คำขอเลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่ 54539 ให้ จำเลย เพิกถอน คำสั่ง ขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่ 54539 หากไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยห้าม มิให้ จำเลย ดำเนินการ ขัดขวาง การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าตาม คำขอ เลขที่ 193054 ของ โจทก์ ห้าม มิให้ จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้าตาม คำขอ เลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่ 54539 กับ สินค้า ของ จำเลยให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 3,000 บาท นับแต่ วันที่จำเลย รับโอน เครื่องหมายการค้า มาจาก นาย บุญแสง จนกว่า จำเลย จะ เลิก ใช้ เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 86274 ทะเบียน เลขที่54539 คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ไม่ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ นั้นจำเลย ไม่ได้ ให้การ สู้ คดี ไว้ แม้ ศาลชั้นต้น จะ กำหนด เป็น ประเด็นข้อพิพาท ก็ หา ก่อ ให้ เกิด มี ประเด็น ข้อพิพาท ขึ้น มา ไม่ ต้อง ถือว่า เป็นข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ จึงเป็น ฎีกา ที่ ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ข้อ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ได้ ทำละเมิด ต่อ โจทก์ และโจทก์ ไม่ได้ รับ ความเสียหาย นั้น เห็นว่า เมื่อ โจทก์ ยัง ไม่ได้ รับการ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า Admiral และ รูป ประดิษฐ์สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 38 โจทก์ ย่อม อยู่ ใน ฐานะ เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ที่ ไม่ได้ จดทะเบียน สำหรับ สินค้า จำพวก ดังกล่าว โจทก์ จะ เรียกค่าเสียหาย จาก จำเลย ได้ ต่อเมื่อ โจทก์ พิสูจน์ ได้ว่า จำเลย เอา สินค้าของ จำเลย ไป ลวง ขาย ว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ แต่ โจทก์ หา ได้ มี พยานหลักฐานใด มา แสดง ว่า จำเลย ได้ ทำการ ลวง ขาย สินค้า ไม่ โจทก์ จึง ไม่อาจเรียก ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474อันเป็น กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ เกิด ข้อพิพาท ได้ ทั้ง ไม่อาจ ฟ้องขอให้ห้าม จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 86274ทะเบียน เลขที่ 54539 ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง อันเป็น การ ฟ้อง เพื่อ ป้องกันการ ล่วง สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ที่ ไม่ได้ จดทะเบียน ได้ เพราะต้องห้าม ตาม มาตรา 29 วรรคแรก แห่ง พระราชบัญญัติ เดียว กันที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 3,000บาท กับ ห้าม มิให้ จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 86274ทะเบียน เลขที่ 54939 และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน นั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ที่ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ และ คำขอ ที่ ห้าม จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่86274 ทะเบียน เลขที่ 54939 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share