คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ที่1ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินชำระราคาแล้วบางส่วนจำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อแบ่งแยกโฉนดเสร็จต่อมาโจทก์ที่1ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินรายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ที่2โดยโจทก์ที่1ตกลงโอนเฉพาะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่1ตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยให้แก่โจทก์ที่2ส่วนหนี้ของโจทก์ที่1ที่จะต้องชำระราคาส่วนที่เหลือยังคงอยู่กับโจทก์ที่1ตามเดิมดังนี้สิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โดยสภาพย่อมเปิดช่องให้โอนกันได้ไม่เป็นการเฉพาะตัวหรือมีกฎหมายห้ามโอนแต่ประการใดกรณีนี้โจทก์ที่1ยังคงเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระค่าที่ดินให้จำเลยและจำเลยก็ยังคงเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่ไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350โจทก์ที่1มีสิทธิโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ที่2ได้เมื่อการโอนได้ทำเป็นหนังสือและโจทก์ที่1ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306แล้วโจทก์ทั้งสองจึงร่วมกันฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่2ได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 ได้ ทำ สัญญา จะ ซื้อ ที่ดิน ส่วนหนึ่งของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 7025 จาก จำเลย ใน ราคา 500,000 บาท สัญญาว่า จะ จด ทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ เมื่อ แบ่งแยก โฉนด แล้ว จำเลยได้ แบ่งแยก ที่ดิน จะ ขาย ออก เป็น โฉนด เลขที่ 17834 แล้ว โจทก์ ที่1 ได้ เข้า ถม ดิน ชำระ ราคา ให้ จำเลย แล้ว รวม 250,000 บาท แต่สามี ของ โจทก์ ที่ 1 ยัง ไม่ ได้ รับ อนุมัติ ให้ แปลง สัญชาติโจทก์ ที่ 1 จึง ไม่ อาจ ถือ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ได้ จึง ขาย ให้ แก่โจทก์ ที่ 2 พร้อม กับ โอน สิทธิ เรียกร้อง ใน ส่วน ที่ จำเลย จะ ต้องโอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 โดย โจทก์ ที่ 1ต้อง ชำระ ค่า ที่ดิน ที่เหลือ อีก 250,000 บาท โจทก์ ที่ 1 แจ้ง ให้จำเลย โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน แก่ โจทก์ ที่ 2 แต่ จำเลย ปฏิเสธ ไม่ยอม โอน ปรากฏ ว่า จำเลย ได้ นำ ที่ดิน ทั้งแปลง ไป จำนอง ผู้อื่นไว้ ก่อน จะ แบ่งแยก ส่วน ที่ จะ ขาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น การผิด สัญญา ขอ ให้ บังคับ จำเลย ไป จด ทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 17834 ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 โดย ปลอด จำนอง และ ให้ จำเลยเป็น ผู้ออก ค่าธรรมเนียม การ จด ทะเบียน การโอน ให้ จำเลย ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 250,000 บาท โดย หัก จาก เงินที่ โจทก์ ที่ 1 จะ ต้อง ชำระ แก่ จำเลย หาก จำเลย ไม่ ปฏิบัติ ตาม ให้ถือ เอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การ แสดง เจตนา แทน การ จด ทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ โดย ให้ จำเลย นำ โฉนด เลขที่ 17834 มา มอบ ต่อ ศาลภายใน 15 วัน และ ให้ จำเลย ใช้ ค่าธรรมเนียม การ จด ทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ ตาม ระเบียบ ของ กรมที่ดิน
จำเลย ให้การ ว่า การ ที่ โจทก์ ที่ 1 ทำ สัญญา ขาย ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ ที่ 2 จำเลย ไม่ ทราบ และ ไม่ มี ส่วน ผูกพัน ด้วย จำเลย ไม่ เคยได้ รับ หนังสือ บอกกล่าว เรื่อง โจทก์ ที่ 1 ขาย ที่ดิน ต่อ ให้โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่ มี หน้าที่ ต้อง ไป จด ทะเบียน โอน ขาย ที่ดินให้ โจทก์ ที่ 2
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า โจทก์ ที่ 1 มี สิทธิ โอน สิทธิเรียกร้อง ตาม สัญญา จะ ซื้อ จะ ขาย ให้ โจทก์ ที่ 2 ได้ และ โจทก์ที่ 1 ได้ โอน สิทธิ เรียกร้อง ดังกล่าว ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ได้ มีหนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย จด ทะเบียน โอนที่ดิน พิพาท ให้ โจทก์ ที่ 2 โดย ปลอด จำนอง และ ให้ จำเลย รับ เงินจาก โจทก์ ที่ 1 จำนวน 250,000 บาท หาก จำเลย ไม่ อาจ โอน โดย ปลอดจำนอง ได้ ให้ จำเลย โอน โดย ติด จำนอง เฉพาะส่วน แล้ว ให้ โจทก์เอา ค่า ที่ดิน ที่ เหลือ อยู่ 250,000 บาท เป็น ค่าไถ่ ถอนจำนองถ้า ยัง ไม่ พอให้ โจทก์ ที่ 2 ใช้ ไปก่อน แล้ว บังคับ เอา จาก จำเลยพร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันไถ่ ถอนจำนองจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ถ้า จำเลย ไม่ ไป โอน ให้ ถือ เอา คำพิพากษาแสดง เจตนา แทน โดย ให้ จำเลย เอา โฉนด ที่ แบ่งแยก แล้ว มา วาง ศาลเพื่อ ให้ โจทก์ ไป ดำเนินการ เอง โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้เสียค่าธรรมเนียม ใน การ จด ทะเบียน โอน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า กรณี ระหว่าง โจทก์ ทั้งสอง และ จำเลย เป็นเรื่อง แปลงหนี้ โดย เปลี่ยนตัว เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ต้อง ทำ สัญญา ต่อกันระหว่าง โจทก์ ที่ 2 กับ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 350 เมื่อ ไม่ มี สัญญา ต่อกัน โจทก์ ที่ 2 ย่อม ไม่ มีนิติสัมพันธ์ กับ จำเลย ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง บังคับ จำเลย ให้ โอน ขายที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ได้ และ จะ บังคับ จำเลย ให้ โอน ขายที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ก็ ไม่ ได้ เพราะ ไม่ ใช่ ความ ประสงค์ของ โจทก์ พิพากษากลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง มี สามี เป็น คนต่างด้าวได้ ทำ สัญญา จะ ซื้อ ที่ดิน บางส่วน จาก จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้จัดสรรที่ดิน ขาย เนื้อที่ ประมาณ 330 ตารางวา ราคา 500,000 บาท จำเลย จะจด ทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ ให้ เมื่อ แบ่งแยก โฉนด เสร็จ โจทก์ ที่1 ได้ เข้า ถม ที่ดิน และ จ่าย ค่า ที่ดิน รวมทั้ง มัดจำ ให้ จำเลยไป แล้ว 250,000 บาท คง ค้าง ชำระ อยู่ 250,000 บาท เมื่อ จัดการแบ่งแยก โฉนด เสร็จ จำเลย นัด โจทก์ ไป จด ทะเบียน การ โอน ณสำนักงานที่ดิน แต่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไม่ ยอม โอน ให้ เพราะ จำเลยที่ 1 มี สามี เป็น คนต่างด้าว ต่อมา โจทก์ ที่ 1 ได้ ทำ หนังสือสัญญา จะ ขาย ที่ดิน รายเดียว กันนี้ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ที่ 1 ได้ แจ้ง ให้จำเลย ทราบ ว่า ได้ โอน สิทธิ เรียกร้อง ตาม สัญญาจะ ซื้อ ขาย ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 แล้วพร้อมกับ นัด ให้ จำเลย ไป โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ที่ 2 แต่ จำเลยไม่ ไป โอน ให้ อ้าง ว่า ไม่ ได้ ตกลง ยินยอม ให้ โอน สิทธิ เรียกร้องให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 แล้ว ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ที่ โจทก์ฎีกา ว่า การ โอน สิทธิ เรียกร้อง ของ โจทก์ ที่ 1 ตาม สัญญา จะ ซื้อขาย ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 มี ผล บังคับได้ และ ไม่ เป็น การ แปลงหนี้ ใหม่ นั้น เห็นว่า ตาม สัญญา จะซื้อ ขาย ที่ดิน ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ โจทก์ ที่ 2 นั้น ข้อ 5และ ข้อ 3 มี ความ ว่า ถ้า โจทก์ ที่ 1 ไม่ สามารถ รับ โอน ที่ดินจาก จำเลย ได้ เพราะ สามี โจทก์ ที่ 1 เป็น คนต่างด้าว ให้ ถือ ว่าการ ซื้อ ขาย ตาม สัญญา นั้น เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ ที่ 1 โอน สิทธิเรียกร้อง ที่ มี ต่อ จำเลย ใน อัน ที่ จะ บังคับ ให้ โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ ที่ 1 คง มี หน้าที่ ชำระ ราคาที่ดิน ส่วน ที่ ยัง ติดค้าง อยู่ แก่ จำเลย ต่อไป ข้อ สัญญา ดังกล่าวแสดง ให้ เห็น ว่า โจทก์ ที่ 1 ได้ โอน เฉพาะ สิทธิ เรียกร้อง ของโจทก์ ที่ 1 ตาม สัญญา จะ ซื้อ ขาย ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลยให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ส่วน หนี้ ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง จะ ต้อง ชำระราคา ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ยังคง ตก อยู่ กับ โจทก์ ที่ 1 ตาม เดิมหา ได้ มี การ ตกลง ให้ โอน ไป ยัง โจทก์ ที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์ ที่1 ยัง คง เป็น ลูกหนี้ ที่ จะ ต้อง ชำระ ค่า ที่ดิน ให้ จำเลย และจำเลย ก็ ยัง คง เป็น ลูกหนี้ ที่ จะ ต้อง โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน อยู่หา ได้ มี การ เปลี่ยนตัว ลูกหนี้ อัน จะ ต้อง มี การ ทำ สัญญา กันระหว่าง เจ้าหนี้ กับ ลูกหนี้ คนใหม่ ตาม บทบัญญัติ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ไม่การ โอน สิทธิ เรียกร้อง นี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 303บัญญัติ ว่า พึง โอน กัน ได้ เว้นแต่ สภาพ แห่ง สิทธิ นั้น เอง ไม่เปิด ช่อง ให้ โอน กัน ได้ หรือ คู่กรณี ได้ แสดง เจตนา เป็น อย่างอื่น สิทธิ เรียกร้อง ของ โจทก์ ที่ 1 ตาม สัญญา จะ ซื้อ ขาย ที่ดินระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย โดย สภาพ ย่อม เปิด ช่อง ให้ โอน กันได้ ไม่ เป็น การ เฉพาะตัว หรือ มี กฎหมาย ห้าม โอน แต่ ประการ ใดและ เมื่อ คำนึง ถึง ข้อเท็จจริง ที่ ว่า จำเลย เป็น ผู้จัดสรร ที่ดินขาย จำเลย ขาย ที่ดิน ให้ แก่ คน ทั่วไป การ ทำ สัญญา จะ ซื้อ ขายที่ดิน พิพาท ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย คู่กรณี คง ไม่ มี เจตนาจะ ให้ ผูกพัน กัน เป็น การ เฉพาะตัว โดย โจทก์ ที่ 1 จะ โอน สิทธิตาม สัญญา ให้ ผู้อื่น ไม่ ได้ฯลฯ ฉะนั้น โจทก์ ที่ 1 จึง มี สิทธิที่ จะ โอน สิทธิ เรียกร้อง ตาม สัญญา จะ ซื้อ ขาย ให้ แก่ โจทก์ที่ 2 ได้ แม้ ตาม สัญญา จะ ซื้อ ขาย ที่ดิน ระหว่าง โจทก์ ที่ 1และ จำเลย ก่อ ให้ เกิด หนี้ ที่ จำเลย จะ ต้อง โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ที่ 1 ถือ ว่า เป็น หนี้ อัน พึง ชำระ แก่ เจ้าหนี้ คนหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจง ตาม มาตรา 306 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ การ โอนสิทธิ เรียกร้อง ของ โจทก์ ที่ 1 ตาม สัญญา ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ที่ 2 ได้ ทำ เป็น หนังสือ และ โจทก์ ที่ 1 ได้ มี หนังสือ บอกกล่าวการ โอน ไป ยัง จำเลย ผู้ เป็น ลูกหนี้ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน บทบัญญัติดังกล่าว แล้ว การ โอน สิทธิ เรียกร้อง ดังกล่าว จึง เป็น อัน สมบูรณ์ โจทก์ ที่ 1 และ โจทก์ ที่ 2 จึง ร่วมกัน ฟ้อง บังคับ ให้ จำเลย โอนที่ดิน พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ได้
พิพากษากลับ ให้ บังคับ คดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ จำเลยใช่ ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความให้ 20,000 บาท

Share