คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ห. กับ จ.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยต่างมีสินเดิมมาด้วยกันบุคคลทั้งสองได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้ ห. ถึงแก่ความตายในปี2532เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตามการแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายได้2ส่วนหญิงได้1ส่วนจะแบ่งคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533หาได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง หก ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม แบ่ง ทรัพย์มรดก ของนาย ห้อย ให้ โจทก์ ทั้ง หก คน ละ 439,390.81 บาท หาก จำเลย ทั้ง สาม ปิดบัง ทรัพย์มรดก ก็ ขอให้ กำจัด ไม่ให้ ได้รับ ทรัพย์มรดก และ ให้ ตกทอด แก่ทายาท อื่น
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม แบ่ง ทรัพย์ คือ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 17925 และ 37239 ตำบล มีนบุรี (แสนแสบ) อำเภอมีนบุรี (แสนแสบ) กรุงเทพมหานคร ที่ดิน โฉนด เลขที่ 60760, 60761 และ 60772 ตำบล คลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ นครหลวง กรุงเทพ ธนบุรี เฉพาะ ส่วน ของ นาย ห้อย คงนาน เจ้ามรดก ให้ โจทก์ ทั้ง หก คน ละ 1 ใน 49 ส่วน หาก แบ่ง ไม่ได้ ให้ นำ ทรัพย์ ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด เอา เงิน มา แบ่ง ให้โจทก์ ใน สัดส่วน ดังกล่าว คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ ทั้ง หก อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม แบ่ง ทรัพย์มรดกคือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17952 และ 37239 ตำบล มีนบุรี (แสนแสบ) อำเภอ มีนบุรี (แสนแสบ) กรุงเทพมหานคร ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6076060761 และ 60772 ตำบล คลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ นครหลวง กรุงเทพ ธนบุรี เฉพาะ ส่วน ของ นาย ห้อย คงนาน เจ้ามรดก สอง ใน สาม ส่วน ให้ โจทก์ ทั้ง หก คน ละ 1 ใน 49 ส่วน หาก แบ่ง ไม่ได้ ให้ นำ ทรัพย์ ดังกล่าวออก ขายทอดตลาด เอา เงิน มา แบ่ง ให้ โจทก์ ทั้ง หก ใน สัดส่วน ดังกล่าวและ ให้ แบ่ง เงิน ค่า เรียก มัดจำ ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่17952 และ เงิน ค่าขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 26687 เฉพาะ ส่วน ของ นาย ห้อย คงนาน สอง ใน สาม ส่วน ให้ โจทก์ ทั้ง หก คน ละ 1 ใน 49 ส่วน เฉพาะ จำนวน ที่ โจทก์ ยัง มิได้ รับ แก่ โจทก์ ทั้ง หก นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “จาก คำฟ้อง คำให้การ ที่ ไม่โต้แย้ง กันข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง หก เป็น ผู้สืบสันดาน รับมรดกแทนที่ นาง จำรูญ ดวงขาว มารดา ซึ่ง เป็น ทายาท คนหนึ่ง ของ นาย ห้อย คงนาน เจ้ามรดก จำเลย ทั้ง สาม เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย ห้อย นาง จำรัส ภริยา ของ นาย ห้อย ยัง มี ชีวิต อยู่ และ ปรากฏ ตาม สำเนา คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ท้าย ฎีกา โจทก์ คดี หมายเลขแดง ที่ 123/2535ระหว่าง นาง เสาวณิต ชยาเสนา โจทก์ นาง อุไร โคระทัต กับพวก จำเลย โดย นาง เสาวณิต ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย ห้อย คงนาน ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม ซึ่ง ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17952 แขวง และ เขต มีนบุรี (แสนแสบ) กรุงเทพมหานคร ให้ แก่ นาง เสาวณิต ใน ราคา 13,720,000 บาท ไป จดทะเบียน โอน โดย หักเงิน ค่า มัดจำ และ เงิน ที่ ชำระ ให้ ก่อน แล้ว รวม 4,802,000 บาท ซึ่งศาลชั้นต้น ได้ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ไป จดทะเบียน โอน ให้ นาง เสาวณิต โดย ให้ นาง เสาวณิต ชำระ ราคา ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สาม ใน คำ แก้ ฎีกา โจทก์ ทั้ง หก ไม่ได้ โต้แย้ง ข้อเท็จจริง นี้ เพียงแต่ เห็นควรได้รับ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ซึ่ง ไม่ได้ ขอ ไว้ และ จำเลย ที่ 1ที่ 2 ได้ กล่าว ใน ฎีกา ว่า ได้ ขาย ที่ดิน แปลง ดังกล่าว รวมทั้ง ที่ดิน มรดกแปลง อื่น ทั้งหมด ไป แล้ว ยกเว้น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 37239 แต่ ที่ดินแปลง อื่น ไม่มี หลักฐาน มา แสดง คดี คง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ทรัพย์สิน ระหว่าง นาย ห้อย นาง จำรัส เฉพาะ ส่วน ของ นาย ห้อย เจ้ามรดก มี ส่วนสัด ครึ่ง หนึ่ง หรือ สอง ใน สาม ส่วน การ วินิจฉัย ปัญหา เช่นว่า นี้ ศาลฎีกา จำต้อง ถือตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบ มาตรา 238ข้อเท็จจริง จึง ฟัง เป็น ยุติ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา ว่า นาย ห้อย เจ้ามรดก กับ นาง จำรัส เป็น สามี ภริยา กัน โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ตาม กฎหมาย ลักษณะ ผัวเมีย นาย ห้อย ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2532โจทก์ ทั้ง หก ต่าง มีสิทธิ ได้รับ มรดก ของ นาย ห้อย คน ละ 1 ใน 49 ส่วน นาย ห้อย และ นาง จำรัส ได้ ทรัพย์พิพาท มา ใน ระหว่าง สมรส โดย ต่าง ฝ่าย ต่าง มี สินเดิม มา ด้วยกัน ดังนั้น ทรัพย์พิพาท จึง เป็น สินสมรส เมื่อนาย ห้อย และ นาง จำรัส สมรส กัน มา ก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 การ แบ่ง สินสมรส ต้อง แบ่ง ตาม ส่วน สมรส ของ กฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 คือ ชาย ได้ 2 ส่วน หญิง ได้ 1 ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ กระทบ กระเทือน ถึง เพราะ พระราชบัญญัติให้ ใช้ บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ ได้ ตรวจชำระ ใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติ ว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ ได้ ตรวจ ชำระ ใหม่ ท้าย พระราชบัญญัติ นี้ไม่ กระทบ กระเทือน ถึง บทบัญญัติ มาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 และ พระราชบัญญัติ ให้ ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477มาตรา 4 บัญญัติ ว่า บทบัญญัติ แห่ง บรรพ นี้ ไม่ กระทบ กระเทือน ถึง (1)การ สมรส ซึ่ง ได้ มี อยู่ ก่อน วัน ใช้ ประมวล กฎหมาย บรรพ นี้ และ ทั้ง สัมพันธ์ใน ครอบครัว อัน เกิด แต่ การ สมรส นั้น ๆ ดังนั้น สินสมรส ระหว่าง นาย ห้อย และ นาง จำรัส จึง แบ่ง ให้ คน ละ ส่วน เท่ากัน ตาม มาตรา 1533แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาได้ไม่ แต่ ต้อง แบ่ง ให้ นาย ห้อย 2 ส่วน นาง จำรัส 1 ส่วน ตาม กฎหมายลักษณะผัวเมีย ดังกล่าว ตาม นัย คำพิพากษาฎีกาที่ 740/2534 ระหว่าง นางสาว ณัฏฐยาหรือทักษิณ สุวรรณสโรช โจทก์ นาง สุนทรา เอกภูมิ ใน ฐานะ ส่วนตัว และ ผู้จัดการมรดก ของ นาวาเอก หลวง พินิจกลไก จำเลย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน เว้นแต่ หาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 17952 ได้ จดทะเบียนโอน ให้ ผู้ซื้อ ไป แล้ว ก็ ให้ นำ ราคา ขาย มา แบ่ง แทน

Share