แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยที่5ได้ให้การต่อสู้คดีว่าการที่โจทก์นำเงินไปไถ่ถอนที่ดินที่จำนองไว้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่บริษัท จ. ในฐานะผู้ค้ำประกันตามที่ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาสัญญาประนีประนอมยอมความมาวินิจฉัยเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่5ไม่ถูกต้องนั้นแต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ยกข้อต่อสู้ของจำเลยที่5ขึ้นวินิจฉัยและจำเลยที่5อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ได้ชำระเงินให้บริษัท จ.เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินมิใช่ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่5ไม่ต้องร่วมรับผิดเพราะจำเลยที่5ไม่ได้เป็นผู้รับเรือนโจทก์ในการที่โจทก์ได้นำที่ดินไปจำนองเป็นประกันการกู้เงินจำเลยที่5มิได้อุทธรณ์โต้เถียงว่าการที่ศาลชั้นต้นไม่ยกข้อต่อสู้ของจำเลยที่5ขึ้นวินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไรไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งจำเลยที่5จึงไม่มีสิทธิฎีกาเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249วรรคหนึ่ง จำเลยที่1กู้เงินจากบริษัท จ. ไป2,000,000บาทโจทก์ขอกู้จากจำเลยที่1จำนวน300,000บาทเงินที่โจทก์กู้ไปเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่1กู้เงินจากบริษัท จ. ซึ่งจำเลยที่3ถึงที่6จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใดจำเลยที่3ถึงที่6จะขอให้นำเงินจำนวน300,000บาทดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยไปหักออกจากเงินที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่3ถึงที่6รับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 กู้เงิน ไป จาก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด (บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เจเนอรัลไฟแนนส์ จำกัด )รวม 2 ครั้ง เป็น เงิน 2,000,000 บาท ใน การ นี้ ได้ มี โจทก์จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 6 และ บุคคลอื่น อีก 3 คน เข้า ทำ สัญญาค้ำประกันการ กู้เงิน ทั้ง สอง ครั้ง ของ จำเลย ที่ 1 โดย ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วมกับ จำเลย ที่ 1 นอกจาก นี้ โจทก์ ยัง ได้ จดทะเบียน จำนอง ที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้าง ไว้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด เพื่อ ประกันหนี้ เงินกู้ ของ จำเลย ที่ 1 และ ได้ มี บุคคล ผู้มีชื่อจดทะเบียน จำนอง ที่ดิน ประกัน เงินกู้ ของ จำเลย ที่ 1 เช่นเดียว กับโจทก์ ด้วย ต่อมา จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญา บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด จึง ฟ้องโจทก์ คดี นี้ กับ จำเลย ทั้ง หก และ บุคคลอื่น อีก 3 คนเป็น จำเลย ต่อ ศาลแพ่ง เป็น คดี หมายเลขดำ ที่ 4627/2531 หมายเลขแดงที่ 18532/2531 โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง หก และ บุคคล ผู้มีชื่อ ได้ ตกลง ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ร่วมกัน ชำระหนี้ จำนวน 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ เงินต้น ตาม สัญญากู้เงินแต่ละ ฉบับ นับแต่ วัน ทำ สัญญากู้เงิน แต่ละ ฉบับ เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เงิน ให้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด แล้ว เสร็จ นับแต่ โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง หก และ บุคคล ผู้มีชื่อ ได้ ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังกล่าว แล้ว จำเลย ทั้ง หก ได้ ผิดสัญญา ประนีประนอม ยอมความ โจทก์ กับ บุคคล ผู้มีชื่อ อีก 2 คน จึงชำระหนี้ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ โดย โจทก์ ได้ ชำระ เงินให้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด จำนวน 2,440,000 บาท โจทก์ จึง รับช่วงสิทธิ จาก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด มา ไล่เบี้ย เอา จาก จำเลย ทั้ง หก โจทก์ ได้ มี หนังสือ ทวงถาม ไป ยัง จำเลยทั้ง หก แล้วแต่ จำเลย ทั้ง หก เพิกเฉย ไม่ยอม ชำระ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง หกร่วมกัน ชำระหนี้ ที่ โจทก์ ได้ ชำระ แทน ไป พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่เคย กู้เงินไป จาก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เจเนอรัลไฟแนนส์ จำกัด และ จำเลย ที่ 2 ไม่เคย ผูกพัน เข้า ทำ สัญญาค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 ไว้ แก่บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เจเนอรัลไฟแนนส์ จำกัด การ ที่ โจทก์ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน ของ ตน ไว้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เจเนอรัลไฟแนนส์ จำกัด เป็น การ ทำ เพื่อ ประโยชน์ ส่วนตัว ของ โจทก์ และ การ ที่ โจทก์ ชำระหนี้ ให้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เจเนอรัลไฟแนนส์ จำกัด ก็ เป็น การ ชำระหนี้ อันเป็น การ ส่วนตัว ของ โจทก์ หา ได้ เกี่ยวข้อง กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 จึง ไม่ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ไม่เคย ถูก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เจเนอรัลไฟแนนส์ จำกัด ฟ้อง และ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่เคย ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความกับ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เจเนอรัลไฟแนนส์ จำกัด การ คิด ดอกเบี้ย ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ โจทก์ คิด ดอกเบี้ยแบบ ทบต้น ซึ่ง โจทก์ หา มีสิทธิ ที่ จะ คิด ได้ไม่ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ นำ เงิน ตาม ฟ้องไป ชำระ ให้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ไล่เบี้ย เอา กับ จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 ตาม สัญญากู้เงิน ฉบับ ลงวันที่ 31 มกราคม 2529 โจทก์ ได้ จำนอง ที่ดิน เป็น ประกัน การ กู้เงินและ เมื่อ โจทก์ ถูก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด บังคับคดี โจทก์ จึง นำ เงิน ไป ไถ่ถอน จำนอง โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ออก มาการกระทำ ดังกล่าว ของ โจทก์ ไม่ได้ กระทำ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ไล่เบี้ย จาก จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6สำหรับ การ กู้เงิน ครั้งแรก จำเลย ที่ 1 และ โจทก์ ได้ แบ่ง เงิน ที่ กู้ มาคน ละ 500,000 บาท ดังนั้น การ ที่ โจทก์ ฟ้อง เรียกเงิน ตาม สัญญากู้เงินทั้งหมด พร้อม ดอกเบี้ย จึง ไม่ถูกต้อง และ ตาม สัญญาค้ำประกัน ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2529 มี ผู้ค้ำประกัน มาก กว่า 5 คน แต่ โจทก์ฟ้อง ผู้ค้ำประกัน เป็น คดี นี้ เพียง 5 คน ถือว่า โจทก์ ไม่ติดใจ เรียกร้องเอา เงิน จาก ผู้ค้ำประกัน คนอื่น จึง ต้อง นำ เงิน ส่วน ที่ ผู้ค้ำประกันคนอื่น ต้อง รับผิด มา หัก จาก จำนวนเงิน ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ ด้วย เหตุ ที่ จำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6 และ ผู้ค้ำประกัน ทุกคน ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความกับ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด เนื่องจาก จำเลย ที่ 2 ขอร้อง ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 และ ผู้ค้ำประกัน คนอื่น ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด ไป ก่อน แล้ว จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จะ เป็น ผู้ดำเนินการ หา เงิน มา ชำระตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เอง ซึ่ง โจทก์ ก็ ทราบ ถึง ข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้อง ไล่เบี้ย เอา กับ จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6เฉพาะ จำเลย ที่ 5 ได้ ให้การ อีก ว่า เมื่อ โจทก์ ถูกบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด บังคับคดี โจทก์ จึง ไถ่ถอน ที่ดิน ที่ จำนอง โจทก์ ไม่ได้ กระทำ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน จึง ไม่มีสิทธิ ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 2,440,000 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ โดย ให้จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 6 ร่วมกัน รับผิด ชำระ เงิน 1,525,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่7 สิงหาคม 2532 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ให้ยก
จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 5 ได้ ให้การ ต่อสู้ คดี ว่า การ ที่โจทก์ นำ เงิน ไป ไถ่ถอน ที่ดิน ที่ จำนอง ไว้ ไม่ใช่ เรื่อง ที่ โจทก์ได้ ชำระ เงิน ให้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน เหมือน อย่าง ที่ จำเลย ที่ 5 ได้ ทำ สัญญาค้ำประกันที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ นำ เอา สัญญา ประนีประนอม ยอมความเอกสาร หมาย จ. 15 มา วินิจฉัย เป็น ผล ร้าย แก่ จำเลย ที่ 5 ไม่ถูกต้องนั้น ปรากฏว่า ศาลชั้นต้น ไม่ได้ ยก ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ที่ 5 ขึ้น วินิจฉัยและ จำเลย ที่ 5 อุทธรณ์ แต่เพียง ว่า โจทก์ ได้ ชำระ เงิน จำนวน916,849.32 บาท ให้ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด เพื่อ ไถ่ถอน การ จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 102 เป็น ประกัน สัญญากู้เงิน เอกสารหมาย จ. 2 มิใช่ ชำระหนี้ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ตาม สัญญาค้ำประกันฉบับ ลงวันที่ 31 มกราคม 2529 จำเลย ที่ 5 ไม่ต้อง ร่วมรับผิดเพราะ จำเลย ที่ 5 ไม่ได้ เป็น ผู้รับ เรือน โจทก์ ใน การ ที่ โจทก์ ได้นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 102 ไป จำนอง เป็น ประกัน การ กู้เงินตาม เอกสาร หมาย จ. 2 และ จ. 3 จำเลย ที่ 5 มิได้ อุทธรณ์โต้เถียง ว่าการ ที่ ศาลชั้นต้น ไม่ ยก ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ที่ 5 ขึ้นวินิจฉัย ไม่ถูกต้อง อย่างไร ไม่ชอบ ด้วย บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วย คำพิพากษา และ คำสั่ง อย่างไรจึง เป็น อุทธรณ์ ที่ ไม่ ชัดแจ้ง และ เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้วโดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จำเลย ที่ 5จึง ไม่มี สิทธิ ฎีกา เพราะ เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ในศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย ให้ จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่าโจทก์ ได้ นำ เงินกู้ ซึ่ง จำเลย ที่ 1 กู้ จาก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด ไป จำนวน 300,000 บาท จึง ต้อง นำ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย ไป หัก ออกจาก เงิน ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 6 รับผิด ต่อ โจทก์ ข้อ นี้ ได้ความ จาก คำเบิกความของ โจทก์ ตอบ คำถามค้าน ของ ทนายจำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 ว่า เงิน ที่จำเลย ที่ 1 กู้ จาก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด ไป 2,000,000 บาท นั้น โจทก์ ขอ กู้ จาก จำเลย ที่ 1 จำนวน 300,000 บาทจึง เป็น นิติสัมพันธ์ ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ ไม่เกี่ยวกับ การ ที่จำเลย ที่ 1 กู้เงิน จาก บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด ซึ่ง จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 จะ ต้อง ร่วมรับผิด ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ เอกสาร หมาย จ. 15 แต่อย่างใดจำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 จะ ขอให้ นำ เงิน จำนวน 300,000 บาท ดังกล่าวพร้อม ดอกเบี้ย ไป หัก ออกจาก เงิน ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ จำเลย ที่ 3ถึง ที่ 6 รับผิด ต่อ โจทก์ หาได้ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่ยอม ให้ หักเงิน300,000 บาท ออก ก่อน โดย ฟัง ว่า หลังจาก ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความแล้ว ถือว่า จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 ได้ สละ ข้อต่อสู้ ต่าง ๆ แล้ว นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล
พิพากษายืน