คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้นบริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภทจำนวนและราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาดกรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกันการจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้วโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่1และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปก่อนจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่1ตกลงไว้กับโจทก์. จำเลยที่1ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปจำเลยที่1ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้นและกรณีนี้มีอายุความ10ปีนับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว. จำเลยที่2ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่าจำเลยที่2ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่1กับพวกและได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่1ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่าจำเลยที่2ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1ไม่ได้ทำในนามของตนเองประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวดังนั้นแม้จำเลยที่2จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญากรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่าลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่2ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก อีก 1 คน เป็น ลูกค้า และตกลง ให้ โจทก์ เป็น ตัวแทน หรือ นายหน้า ซื้อ ขาย หลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ ตาม คำสั่ง ของ จำเลย ทั้ง สอง กับพวก เป็น คราวๆ ให้โจทก์ ทดลอง จ่าย เงิน ไป ก่อน โดย จะ ชำระ คืน พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ14 ต่อปี และ ค่านายหน้า โจทก์ ได้ ซื้อ หุ้น และ ออก เงิน ทดลอง แทนจำเลย ไป หลังจาก หัก หนี้ กัน แล้ว จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ได้ ทำหนังสือ รับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ โดย ผ่อน ชำระ เป็น รายเดือน เพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี และ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ ชำระ รวมเป็น หนี้โจทก์ ทั้งสิ้น 286,529.76 บาท ขอ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวนดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า ไม่ ได้ เป็น หนี้ โจทก์ หนี้ ตาม บันทึกดังกล่าว ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย ฟ้อง โจทก์ ขาด อายุความ
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 มิได้ ตกลง ร่วม รับผิด กับ จำเลยที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 เป็น เพียง คนกลาง ให้ โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1ตกลง กัน จึง ไม่ ต้อง รับผิด ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ ดังกล่าว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน 208,865.76บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2525จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม บันทึก ข้อตกลง รับ สภาพหนี้ โดย จำเลย ทั้งสอง ยอม ผ่อน ชำระ ให้ โจทก์ เดือนละ 7,000 บาท กับ ยอม ให้ โจทก์ นำเงินปันผล มา หัก ชำระ หนี้ ได้ ด้วย ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง ได้ ผ่อน ชำระให้ โจทก์ 35,000 บาท และ เงินปันผล ดังกล่าว อีก 17,100 บาท เมื่อ หักหนี้ กัน แล้ว คง ค้าง ชำระ 208,865.76 บาท หลังจาก นั้น ไม่ เคย ชำระอีก เลย เห็นว่า การ ซื้อ ขาย หุ้น ใน ตลาดหลักทรัพย์ แทน ลูกค้า นั้นผู้ ดำเนินการ ซื้อ ขาย หุ้น แทน ลูกค้า กับ ลูกค้า มีเจตนา ผูกพัน ขอให้ เป็น หุ้น ประเภท จำนวน และ ราคา ตาม ที่ ตกลง สั่ง ซื้อ หรือ ตกลงขาย ไว้ ต่อกัน เป็น ปัจจัย สำคัญ การ ซื้อ ขาย หุ้น ใน ตลาดหลักทรัพย์เป็น นิติกรรม อย่างหนึ่ง ซึ่ง สามารถ แยก จาก การ จด ทะเบียน โอน หุ้นได้ โดย เด็ดขาด กรรมสิทธิ์ ใน หุ้น ย่อม ตก แก่ ผู้ซื้อ ทันที ที่ ได้มี การ ซื้อ ขาย กัน การ จด ทะเบียน โอน หุ้น เป็น การ กระทำ เพียงเพื่อ ให้ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน หุ้น นั้น ใช้ ยัน ต่อ บริษัท ที่ ออกหุ้น หรือ ต่อ บุคคล ภายนอก เท่านั้น หา เกี่ยวข้อง ถึง ความ สมบูรณ์ของ การ ซื้อ ขาย หุ้น แต่ ประการ ใด ไม่ ด้วย เหตุ ดัง ได้ วินิจฉัยมา เห็น ว่า แม้ โจทก์ ซื้อ หุ้น ให้ จำเลย ตาม ข้อ ตกลง กัน แล้วโจทก์ ยัง ไม่ ได้ ปฏิบัติ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129ก็ ยัง ถือ ว่า โจทก์ ได้ จัดการ ซื้อ หุ้น ตาม ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 1และ โจทก์ ได้ ชำระ เงิน ค่า หุ้น แทน จำเลย ที่ 1 ไป ก่อน จำเลย ที่1 มี หน้าที่ ต้อง ใช้ เงิน ที่ โจทก์ ได้ ออก แทน ไป พร้อมทั้ง ค่านายหน้า และ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ ตาม ที่ จำเลย ที่ 1 ตกลง ไว้ กับ โจทก์ หนี้ ตาม บันทึก ข้อ ตกลง รับ สภาพหนี้ จึง มี มูลหนี้ เกิดจาก โจทก์ชำระ เงิน ค่า หุ้น แทน จำเลย ที่ 1 ไป จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง รับผิดตาม บันทึก ข้อ ตกลง รับ สภาพหนี้
ฎีกา ข้อ 3 ของ จำเลย ที่ 1 ใน ปัญหา เรื่อง อายุความ นั้น เห็นว่าโจทก์ ฟ้อง จำเลย ให้ ชำระ หนี้ ตาม บันทึก ข้อ ตกลง รับ สภาพหนี้ ซึ่งนับแต่ วันที่ จำเลย ตกลง ทำ บันทึก ข้อ ตกลง ดังกล่าว ถึง วัน ฟ้อง ยังไม่ เกิน 10 ปี คดี โจทก์ จึง ไม่ ขาด อายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สำหรับ ฎีกา ของ โจทก์ ใน ปัญหา เรื่อง จำเลย ที่ 2 จะ ต้อง รับผิดร่วมกับ จำเลย ที่ 1 ตาม บันทึก ข้อ ตกลง รับ สภาพหนี้ หรือไม่ นั้นเห็นว่า นอกจาก จำเลย ที่ 2 ให้การ ต่อสู้ คดี ไว้ และ เบิกความ ว่าจำเลย ที่ 2 ตกลง กับ โจทก์ และ สั่ง ให้ โจทก์ ซื้อ หุ้น แทน จำเลยที่ 1 กับพวก และ ลงชื่อ ใน บันทึก ข้อตกลง แทน จำเลย ที่ 1 แล้วปรากฏ ว่า ข้อความ ใน บันทึก ข้อ ตกลง ดังกล่าว มี ลักษณะ เป็น หนังสือรับ สภาพหนี้ ข้อความ ใน บันทึก ตอน เริ่มต้น มี ปรากฎ ให้ เห็นว่าจำเลย ที่ 2 ได้ ทำ บันทึก ข้อ ตกลง แทน จำเลย ที่ 1 ไม่ ได้ ทำ ใน นามของ ตนเอง ประกอบ กับ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ให้ ชำระ หนี้ ตามบันทึก ข้อ ตกลง ดังกล่าว ดังนั้น แม้ จำเลย ที่ 2 จะ ลงชื่อ ในท้าย บันทึก ดังกล่าว ใน ฐานะ เป็น ผู้ให้ สัญญา ก็ อาจ ตี ความหมายได้ เป็น 2 นัย ว่า ลงชื่อ ใน ฐานะ เป็น ผู้ทำ บันทึก ข้อ ตกลง แทนจำเลย ที่ 1 หรือ ใน ฐานะ เป็น คู่ สัญญา กับ โจทก์ โดยตรง ก็ ได้ด้วย เหตุผล ดัง ได้ วินิจฉัย มา ศาล จึง ตีความ ใน ทาง ที่ เป็น คุณแก่ จำเลย ที่ 2 ตาม นัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ฎีกา ของ โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.

Share