คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คตามฟ้องทั้งสามฉบับ น. ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคสองเมื่อ น. แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความและทนายความที่คู่ความได้ตั้งแต่งนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62บัญญัติให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆแทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรซึ่งการยื่นฟ้องคดีต่อศาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาทนายความที่คู่ความตั้งแต่งจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องได้และการลงชื่อในคำฟ้องของทนายความนี้หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีข้อความในคำฟ้องว่าเป็นการลงชื่อแทนคู่ความหรือในฐานะทนายความแต่อย่างใด การที่คู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24มิได้บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะในกรณีที่ศาลเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอเท่านั้นแม้ศาลจะเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไม่เป็นคุณแก่คู่ความตามที่มีคำขอศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่คู่ความนั้นได้ โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตรารวมไว้ในเช็คหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นและมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย ซิวเหลียง แซ่อึ้ง หรือ นาย สุรชัย วัฒนชัยมงคล ได้ นำ เช็ค ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา สะพานเหลือง จำนวน 3 ฉบับ มา แลก เงินสด ไป จาก โจทก์ รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 164,296บาท เช็ค ทั้ง สาม ฉบับ ดังกล่าว มี จำเลย เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่ายเมื่อ เช็ค ถึง กำหนด ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน จำเลย ต้อง รับผิดชำระ เงิน ตามเช็ค ดังกล่าว แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จคดี นี้ โจทก์ มอบอำนาจ ให้ นาง นพดารา มหาธนรัตน์ ดำเนินคดี แทน ขอ บังคับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน 175,041 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 164,296 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ไม่ได้ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง แต่ ทนายโจทก์ เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ ใน คำฟ้องถือว่า โจทก์ ยัง มิได้ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง เช็คพิพาท ทั้ง สาม ฉบับ เป็น เช็คไม่มี มูลหนี้ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย เกินกว่า อัตรา ที่ กฎหมาย กำหนด รวมอยู่ ใน เช็ค มูลหนี้ ตามเช็ค จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ ชี้ขาด เบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมาย
ชั้น ชี้สองสถาน ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท เพียง ว่า การ ที่ทนายโจทก์ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง จะ ทำให้ คำฟ้อง ดังกล่าว เป็น ฟ้อง ที่ ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย หรือไม่ ซึ่ง ประเด็น ข้อพิพาท ดังกล่าว เป็น ปัญหาข้อกฎหมายศาลชั้นต้น วินิจฉัย ได้เอง จึง ให้ งดสืบพยาน
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 164,296 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 45,000 บาทนับแต่ วันที่ 21 สิงหาคม 2532 ใน ต้นเงิน 55,000 บาท นับแต่ วันที่5 กันยายน 2532 และ ใน ต้นเงิน 64,296 บาท นับแต่ วันที่ 7 กันยายน2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ กับ ให้ ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ ให้ 700 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยประการ แรก ว่า ฟ้องโจทก์ ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ โดย จำเลย ฎีกา ว่านาง นพดารา มหาธนรัตน์ ผู้รับมอบอำนาจ จาก โจทก์ ไม่ได้ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง โจทก์ ทนายโจทก์ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง เป็น โจทก์ โดย มิได้ รับมอบ อำนาจให้ ดำเนินคดี แทน โจทก์ และ มิได้ มี ข้อความ ว่า ลงชื่อ ใน คำฟ้อง แทน โจทก์หรือ ใน ฐานะ ทนายความ ของ โจทก์ ถือว่า โจทก์ ยัง มิได้ ลงชื่อ ใน คำฟ้องฟ้องโจทก์ จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า โจทก์ ได้ มอบอำนาจ ให้นาง นพดารา มหาธนรัตน์ เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย เกี่ยวกับ เช็ค ตาม ฟ้อง ทั้ง สาม ฉบับ ใน คดีแพ่ง และ คดีอาญา ตาม หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร ท้ายฟ้องหมายเลข 1 นาง นพดารา ผู้รับมอบอำนาจ ย่อม มีอำนาจ ตั้ง ทนายความ เพื่อ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ได้ ตาม ความใน ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง เมื่อ นาง นพดารา แต่ง ให้ นาย อวยชัย แสงอาวุธ เป็น ทนายความ ต้อง ถือว่า นาย อวยชัย เป็น ทนายความ ที่ โจทก์ ตั้งแต่ง เพราะ เป็น การ ตั้งแต่ง ทนายความ แทน โจทก์และ ทนายความ ที่ คู่ความ ได้ ตั้งแต่ง นี้ ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 62 บัญญัติ ให้ มีอำนาจ ว่าความ และ ดำเนิน กระบวนพิจารณาใด ๆ แทน คู่ความ ได้ ตาม ที่ เห็นสมควร ซึ่ง การ ยื่นฟ้อง คดี ต่อ ศาล ก็ เป็นส่วน หนึ่ง ของ การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ด้วย ทนายความ ที่ คู่ความตั้งแต่ง จึง มีอำนาจ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง ได้ และ การ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง ของทนายความ นี้ หา ได้ มี บท กฎหมาย บัญญัติ ให้ ต้อง มี ข้อความ ใน คำฟ้อง ว่าเป็น การ ลงชื่อ แทน คู่ความ หรือ ใน ฐานะ ทนายความ แต่อย่างใดแม้ นาง นพดารา ผู้รับมอบอำนาจ มิได้ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง เป็น โจทก์ แต่เมื่อ นาย อวยชัย ทนายโจทก์ ผู้ลงชื่อ ใน คำฟ้อง มีอำนาจ ลงชื่อ ใน คำฟ้อง ได้ ฟ้องโจทก์ จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
จำเลย ฎีกา ต่อไป ว่า จำเลย เป็น ผู้ขอ ให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมาย หาก ศาล เห็นว่า การ วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นใน ข้อกฎหมาย ไม่เป็น คุณ แก่ จำเลย ศาล จะ ต้อง ไม่ วินิจฉัย และ สั่ง ให้สืบพยาน ใน ประเด็น อื่น ต่อไป การ ที่ ศาล วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นใน ปัญหาข้อกฎหมาย ไม่เป็น คุณ แก่ จำเลย ผู้ขอ เป็น การ ขัด กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 นั้น เห็นว่า การ ที่คู่ความ ฝ่ายใด ยก ปัญหาข้อกฎหมาย ขึ้น อ้าง และ มี คำขอ ให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมาย นั้น ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 24 มิได้ บัญญัติ ให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นใน ปัญหาข้อกฎหมาย เฉพาะ ใน กรณี ที่ ศาล เห็นว่า การ วินิจฉัยชี้ขาดนั้น เป็น คุณ แก่ คู่ความ ฝ่าย ที่ ยก ข้อกฎหมาย ขึ้น อ้าง และ มี คำขอ เท่านั้นดังนั้น แม้ ศาล จะ เห็นว่า การ วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมายไม่เป็น คุณ แก่ คู่ความ ตาม ที่ ขอ ศาล ก็ ย่อม มีอำนาจ วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ไป ใน ทาง ที่ ไม่เป็น คุณ แก่ คู่ความ นั้น ได้ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น อีก เช่นกัน
จำเลย ฎีกา ประการ สุดท้าย ว่า โจทก์ เอา ดอกเบี้ย เกิน อัตราซึ่ง เป็น โมฆะ รวม ไว้ ใน เช็ค เช็ค ที่ นำ มา ฟ้อง จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมายเห็นว่า โจทก์ เอา ดอกเบี้ย เกิน อัตรา รวม ไว้ ใน เช็ค หรือไม่ เป็น ปัญหาข้อเท็จจริง แม้ จำเลย จะ ให้การ ต่อสู้ ไว้ แต่ ศาลชั้นต้น มิได้ กำหนดประเด็น และ มิได้ ยกขึ้น วินิจฉัย จำเลย มิได้ ยก ปัญหา ขึ้น ว่ากล่าวใน ชั้นอุทธรณ์ ที่ จำเลย ฎีกา ปัญหา ข้อ นี้ ขึ้น มา จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ว่ากล่าว กัน มา ใน ศาลอุทธรณ์ ที่ จำเลย ฎีกา ปัญหา ข้อ นี้ ขึ้น มา จึง เป็นข้อ ที่ มิได้ ว่ากล่าว กัน มา ใน ศาลอุทธรณ์ เป็น การ ไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย ให้ ฎีกา ของ จำเลย ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย
พิพากษายืน

Share