แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ผู้ร้องอ้างว่าได้ทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทของตนให้จำเลยที่1โดยมิได้มีเจตนายกให้จริงๆแต่จำเลยที่1นำทรัพย์ดังกล่าวไปขายให้จำเลยที่3แล้วต่อมาโจทก์ได้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่3ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่านี้จะยกขึ้นต่อสู้จำเลยที่3หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นหาได้ไม่. แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าตนครอบครองที่ดินทรัพย์พิพาทตลอดมาเป็นเวลาเกือบ20ปีก็ตาม.แต่เมื่อทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1โดยมีการจดทะเบียนที่ดินกรณีต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อนับตั้งแต่วันที่ผู้ร้องทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1ถึงวันที่ยื่นคำร้องยังไม่ถึง10ปีผู้ร้องจะอ้างว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382หาไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
คดี นี้ สืบเนื่อง มา จาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สามร่วมกัน ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ทั้ง สาม ไม่ ชำระหนี้ ตามคำพิพากษา ดังกล่าว โจทก์ ขอ ให้ บังคับคดี และ นำ เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 16518 ตำบล ท่าประดู่ อำเภอ เมืองระยอง จังหวัด ระยอง พร้อมทั้ง สิ่งปลูกสร้าง โดย อ้าง ว่า เป็น ของจำเลย ที่ 3 เพื่อ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ทรัพย์สิน ที่ โจทก์ นำยึด เป็น ของ ผู้ร้องผู้ร้อง ได้ ทำ นิติกรรม อำพราง ยก ทรัพย์ พิพาท ให้ จำเลย ที่ 1 โดยมิได้ มี เจตนา ยก ให้ จริงๆ แล้ว ผู้ร้อง ก็ ได้ ครอบครอง ทรัพย์พิพาท ด้วย ความสงบ เปิดเผย และ ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ มา เกือบ20 ปี ไม่ มี ผู้ใด คัดค้าน ผู้ร้อง จึง เป็น เจ้าของ ทรัพย์ พิพาทโดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ จำเลย ที่ 3 กับพวก ร่วมกัน ข่มขืน ใจ ให้จำเลย ที่ 1 โอน ทรัพย์ พิพาท ให้ จำเลย ที่ 3 และ จำเลย ที่ 3 กับพวกหลอกลวง ว่า เมื่อ เสร็จ คดี แล้ว จำเลย ที่ 3 จะ โอน ทรัพย์ พิพาทคืน ให้ จำเลย ที่ 1 จึง โอน ทรัพย์ พิพาท ให้ จำเลย ที่ 3 ไป โดย ไม่ได้ รับ ค่าตอบแทน อัน เป็น การ ฉ้อฉล และ เป็น การ กระทำ โดย ไม่สุจริต จำเลย ที่ 3 มิได้ ครอบครอง ทรัพย์ พิพาท ทรัพย์ พิพาท มิใช่ ของจำเลย ที่ 3 ขอ ให้ มี คำสั่ง ปล่อย ทรัพย์สิน ที่ ยึด
โจทก์ ให้การ ว่า ทรัพย์ พิพาท เป็น ของ จำเลย ที่ 3 เพราะ เดิม จำเลยที่ 1 ได้ ออก โฉนด ที่ดิน พิพาท เป็น ของ ตน ต่อมา จำเลย ที่ 1 ได้จำนอง ทรัพย์ พิพาท ไว้ กับ จำเลย ที่ 3 แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน โอน ขาย ทรัพย์ พิพาท ให้ จำเลย ที่ 3 ต่อมา จำเลย ที่ 3 ได้จด ทะเบียน จำนอง เป็น ประกัน หนี้ ไว้ กับ โจทก์ ผู้ร้อง มิใช่ เจ้าของทรัพย์ พิพาท ที่ ผู้ร้อง อ้าง ว่า ได้ ทำ นิติกรรม อำพราง ยก ทรัพย์พิพาท ให้ จำเลย ที่ 1 ก็ ไม่ ปรากฏ ว่า มี การ จด ทะเบียน นิติกรรมระหว่าง ผู้ร้อง กับ จำเลย ที่ 1 แต่ อย่างใด ผู้ร้อง อ้างว่า ครอบครองปรปักษ์ นั้น ขณะ ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไป ทำการ ยึด ทรัพย์ผู้ร้อง ก็ เป็น ผู้ นำ ชี้ ให้ ยึด โดย มิได้ โต้แย้ง คัดค้าน ขอ ให้พิพากษา ยก คำร้อง ของ ผู้ร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า คำร้อง ของ ผู้ร้อง เคลือบคลุมพิพากษา ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า คำร้อง ของ ผู้ร้อง ไม่เคลือบคลุม และ วินิจฉัย ประเด็น ต่อไป ว่า ผู้ร้อง ยก ทรัพย์ พิพาท ให้จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ โดย เด็ดขาด ไม่ น่าเชื่อ ว่าเป็น การ โอน ให้ โดย ไม่ มี เจตนา ให้ จริง ดัง ผู้ร้อง กล่าวอ้างผู้ร้อง จึง มิใช่ เจ้าของ ทรัพย์ พิพาท ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง นั้น ศาลอุทธรณ์ เห็นด้วย ใน ผล พิพากษา ยืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ที่ ผู้ร้อง นำสืบ มา ไม่ ปรากฏว่า มี นิติกรรม ใด ที่ ถูก อำพราง ไว้ ตาม คำร้อง หาก ผู้ร้อง มีเจตนา สมรู้ กับ จำเลย ที่ 1 ว่า มิได้ มี เจตนา ยก ทรัพย์ พิพาท ให้กัน จริงๆ ซึ่ง ตก เป็น โมฆะ ก็ มี ผล ผูกพัน เฉพาะ คู่กรณี ข้อ ไม่สมบูรณ์ อัน นี้จะ ยก ขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ จำเลย ที่ 3 หรือ โจทก์ ซึ่งเป็น บุคคล ภายนอก ผู้ ทำ การ โดย สุจริต และ ต้อง เสียหาย แต่ การแสดง เจตนา ลวง นั้น หา ได้ ไม่ ทั้ง ทรัพย์ พิพาท เป็น อสังหาริมทรัพย์ที่ ได้ จด ไว้ ใน ทะเบียน ที่ดิน ต้อง สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่า บุคคลผู้ มี ชื่อ ใน ทะเบียน เป็น ผู้ มี สิทธิ ครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 และ นับ ตั้งแต่ วัน ทำ หนังสือสัญญา แบ่ง ให้ ที่ดิน เอกสาร หมาย จ.1 ถึง วันที่ 20 กันยายน 2525ซึ่ง ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ก็ ยัง ไม่ ถึง 10 ปี แม้ จะ ฟัง ว่า ผู้ร้องยัง คง ครอบครอง ทรัพย์ พิพาท อยู่ ตาม ที่ กล่าวอ้าง ก็ ไม่ ได้กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 ดังนั้น ข้อเท็จจริง จึง ฟัง ไม่ ได้ ว่า ทรัพย์ พิพาท เป็น ของผู้ร้อง ผู้ร้อง ไม่ มี สิทธิ ร้อง ขอ ให้ ปล่อย ทรัพย์สิน ที่ ยึดฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน ให้ ผู้ร้อง ใช้ ค่าทนายความ ชั้นฎีกา 1,500 บาท แทนโจทก์’