แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช.เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไปแม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย ชุม คงเพ็ชร เป็น เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6291 ตำบล บางนาค อำเภอ เมือง นราธิวาส จังหวัด นราธิวาส โดย มิได้ ทำ พินัยกรรม ไว้ ที่ดิน ของ นาย ชุม จึง ตกทอด เป็น มรดก แก่ ทายาท ซึ่ง มี เพียง 5 คน คือ โจทก์ จำเลย นาง นวรัตน์ เชาว์สุโข นาย สนิท คงเพชร และ นาย สำราญ คงเพ็ชร ซึ่ง มีสิทธิ ได้รับ มรดก คน ละ 1 ใน 5 ส่วน ส่วน ของ โจทก์ คิด เป็น เงิน 16,000 บาท โจทก์ ขอให้จำเลย จัดการ แบ่ง ที่ดิน มรดก แล้ว จำเลย ไม่ยินยอม โดย อ้างว่า นาย ชุม ได้ ขาย ที่ดิน ไป แล้ว ซึ่ง ไม่เป็น ความจริง ขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดินโฉนด เลขที่ 6291 ตำบล บางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส เป็น มรดก ของ นาย ชุม และ ตกทอด แก่ ทายาท คือ โจทก์ จำเลย นาง นวรัตน์ นาย สนิทและนายสำราญ คน ละ ส่วน เท่า ๆ กัน เฉพาะ ส่วน ของ โจทก์ คิด เป็น เงิน 16,000 บาท การ แบ่ง ที่ดิน มรดก หาก ตกลง แบ่ง กัน ไม่ได้ให้ เอา ที่ดิน ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่ง ระหว่าง ทายาท ตาม ส่วน
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น นาง นวรัตน์ เชาว์สุโข นาย สนิท คงเพ็ชร และ นาย สำราญ คงเพ็ชร ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สาม เป็น ทายาท และ มีสิทธิ ได้รับ มรดก ของ นาย ชุม คน ละ 1 ใน 5 ส่วน ขอให้ กัน ส่วน มรดก ของ ผู้ร้อง คน ละ 1 ใน 5 ส่วน คิด เป็นเงิน คน ละ 16,000 บาท ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง คำร้องของผู้ร้อง ทั้ง สาม ว่ารอ ไว้ สั่ง เมื่อ มี คำพิพากษา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์เป็น เรื่อง ที่ ศาล ไม่อาจ บังคับ ให้ จำเลย ปฏิบัติ ได้ พิพากษายก ฟ้องสำหรับ คำร้องขอ กัน ส่วน มรดก ของ ผู้ร้อง ทั้ง สาม เมื่อ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ จึง ไม่มี เหตุ ที่ ต้อง พิจารณา สั่ง ต่อไป
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ว่า สภาพแห่งข้อหา และ คำขอ ท้ายฟ้องของ โจทก์ เปิด ช่อง ให้ บังคับคดี ได้ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา ประเด็น แห่ง คดี แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า โจทก์ มีสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย แบ่งที่ดิน มรดก ได้ แต่ ที่ โจทก์ ขอให้ พิพากษา ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สาม ได้รับส่วนแบ่ง ใน ที่ดิน มรดก คน ละ ส่วน เท่า ๆ กัน กับ โจทก์ และ จำเลย นั้นผู้ร้อง ทั้ง สาม มิใช่ คู่ความ จึง ไม่อาจ พิพากษา ให้ ได้ ตาม ขอ สำหรับที่ โจทก์ ขอให้ พิพากษา ว่า หาก โจทก์ และ จำเลย ไม่สามารถ ตกลง แบ่ง ที่ดินมรดก กัน ได้ ให้ นำ ที่ดิน ออก ขายทอดตลาด เอา เงิน มา แบ่ง ระหว่าง โจทก์จำเลย และ ทายาท เห็นว่า คำขอ ของ โจทก์ เป็น วิธีการ แบ่ง ทรัพย์สินระหว่าง ทายาท หรือ เจ้าของรวม ซึ่ง ได้ มี การ กำหนด ไว้ ใน ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1364 แล้ว จึง ไม่จำเป็น ต้อง พิพากษา ให้ ตามคำขอ พิพากษา ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6291 ตำบล บางนาค อำเภอ เมือง นราธิวาส จังหวัด นราธิวาส เป็น ของ โจทก์ 1 ส่วน ใน จำนวนทายาท 5 คน คิด เป็น จำนวนเงิน ส่วน ของ โจทก์ 16,000 บาท ให้ จำเลยชำระ ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สอง ศาล แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ ให้1,800 บาท คำขอ อื่น ให้ยก
โจทก์ และ ผู้ร้อง ทั้ง สาม อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรงต่อ ศาลฎีกา โดย ได้รับ อนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สามเป็น คู่ความ หรือไม่ และ โจทก์ จะ ขอให้ ศาล พิพากษา ให้ แบ่ง ทรัพย์มรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ได้ หรือไม่
สำหรับ ปัญหา ประการ แรก เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 บัญญัติ ว่า บุคคลภายนอก ซึ่ง มิใช่ คู่ความ อาจ เข้า มา เป็นคู่ความ ได้ ด้วย การ ร้องสอด (1) ด้วย ความสมัครใจ เอง เพราะ เห็นว่าเป็น การ จำเป็น เพื่อ ยัง ให้ ได้รับ ความ รับรอง คุ้มครอง หรือ บังคับตาม สิทธิ ของ ตน ที่ มี อยู่ โดย ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล ที่ คดี นั้น อยู่ ในระหว่าง พิจารณา หรือ เมื่อ ตน มีสิทธิ เรียกร้อง เกี่ยวเนื่อง ด้วย การบังคับ ตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง โดย ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล ที่ ออกหมายบังคับคดี นั้น และ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 วรรคหนึ่งบัญญัติ ว่า ถ้า มี คดี ฟ้อง เรียก ทรัพย์มรดก ผู้ซึ่ง อ้างว่า ตน เป็น ทายาทมีสิทธิ ใน ทรัพย์มรดก นั้น จะ ร้องสอด เข้า มา ใน คดี ก็ ได้ ข้อเท็จจริงปรากฏ ตาม คำฟ้อง และ คำร้องของผู้ร้อง ทั้ง สาม ฉบับ ลงวันที่ 29 ตุลาคม2535 ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สาม เป็น ทายาท ของ นาย ชุม เจ้ามรดก ผู้ร้อง จึง มีสิทธิ รับมรดก ของ นาย ชุม เมื่อ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย แบ่ง ทรัพย์มรดก ของ นาย ชุม และ คดี ดังกล่าว อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ผู้ร้อง ทั้ง สาม ย่อม มีสิทธิ ร้องสอด เข้า มา ใน คดี เพื่อบังคับ ตาม สิทธิ ของ ตน ที่ มี อยู่ ได้ ผู้ร้อง ทั้ง สาม จึง เป็น คู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) แม้ ผู้ร้อง ทั้ง สามจะ มิได้ อุทธรณ์ คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ที่ ได้ พิพากษา ว่า เมื่อ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ แล้ว ไม่มี เหตุ ที่ จะ ต้อง พิจารณา สั่ง คำร้องขอ งผู้ร้องทั้ง สาม อีก ต่อไป ต่อ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ก็ ตาม แต่เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา ประเด็น แห่ง คดีแล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี คดี ของ ผู้ร้อง ทั้ง สาม จึง ยัง ไม่ถึงที่สุดใน การ พิพากษา ใหม่ ศาลชั้นต้น จึง ต้อง ชี้ขาด ตัดสิน คดี เกี่ยวกับคำร้อง สอด ของ ผู้ร้อง ทั้ง สาม ด้วย ทั้งนี้ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 142 แต่ ศาลชั้นต้น มิได้ วินิจฉัยชี้ขาด ตัดสิน คดีใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ คำร้อง สอด ของ ผู้ร้อง ทั้ง สาม จึง เป็น กรณี ที่ศาลชั้นต้น มิได้ ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง ว่าด้วย คำพิพากษา และ คำสั่ง ชอบ ที่ จะ ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง และ วินิจฉัยชี้ขาด ปัญหา ดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบ ด้วย มาตรา 247
ปัญหา ประการ หลัง เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1745 บัญญัติ ว่า ถ้า มี ทายาท หลาย คน ทายาท เหล่านั้น มีสิทธิและ หน้าที่ เกี่ยวกับ ทรัพย์มรดก ร่วมกัน จนกว่า จะ ได้ แบ่ง มรดก กันเสร็จ แล้ว และ ให้ ใช้ มาตรา 1356 ถึง มาตรา 1366 แห่ง ประมวล กฎหมาย นี้บังคับ เพียง เท่าที่ ไม่ ขัด กับ บทบัญญัติ แห่ง บรรพ นี้ คดี นี้ โจทก์ มิได้ฟ้อง ขอให้ จำเลย ชำระหนี้ เป็น จำนวนเงิน ตาม ฟ้อง แต่ โจทก์ ขอให้พิพากษา ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6291 เป็น ทรัพย์มรดก ซึ่ง โจทก์ มี ส่วน ได้1 ส่วน ใน 5 ส่วน การ แบ่ง ที่ดิน หาก ตกลง แบ่ง กัน ไม่ได้ ให้ เอา ที่ดินออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา แบ่ง กัน ระหว่าง ทายาท ตาม ส่วน อันเป็น การขอให้ แบ่ง ทรัพย์มรดก ระหว่าง เจ้าของรวม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า โจทก์ มี ส่วน ได้ ในที่ดิน มรดก 1 ส่วน ใน 5 ส่วน และ จำเลย ไม่ยอม แบ่ง ที่ดิน มรดก ให้ โจทก์ก็ ชอบ ที่ ศาลชั้นต้น จะ ต้อง พิพากษา ให้ แบ่ง ตาม คำขอ ของ โจทก์ที่ ศาลชั้นต้น เห็นว่า วิธีการ แบ่ง ทรัพย์ ได้ มี การ กำหนด ไว้ ใน กฎหมาย แล้วไม่จำเป็น ต้อง พิพากษา ให้ ตาม คำขอ และ พิพากษายก คำขอ ส่วน นี้ ของ โจทก์จึง ไม่ชอบ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังขึ้น
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ แบ่ง ที่ดิน แก่ โจทก์ 1 ส่วน ใน 5 ส่วนถ้า แบ่ง ไม่ได้ ให้ เอา ที่ดิน ออก ขายทอดตลาด แบ่ง เงิน สุทธิ ให้ โจทก์1 ส่วน ใน 5 ส่วน ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา คดี ใหม่ เฉพาะ ส่วน ที่ เกี่ยวกับคำร้อง สอด ของ ผู้ร้อง ทั้ง สาม แล้ว มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดีนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น