คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ตาม คำฟ้องของโจทก์จะมิได้บรรยายให้เห็นว่าเหตุใดโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกินระยะเวลาตามอายุความแต่หากจำเลยไม่ได้ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้อง ไม่ได้ อายุความจึงไม่ใช่ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความแล้วยังไม่ปรากฏชัดในคำฟ้องจึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความการที่ศาลชั้นต้นเพียง ตรวจคำฟ้องและ คำให้การที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วสั่ง งดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งแปดแล้วพิพากษา ยกฟ้องและศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนตามจึงไม่ชอบ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง แปด ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหายจำนวน 110,437.70 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีของ ต้นเงิน 76,500 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า ได้ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง แปด ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัยชี้ขาด ได้ จึง มี คำสั่ง ให้งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย ทั้ง แปด แล้ว วินิจฉัย ว่า นับแต่ วันที่ โจทก์อ้างว่า จำเลย ทั้ง แปด กระทำการ ละเมิด ถึง วันฟ้อง เป็น เวลา 5 ปี เศษโจทก์ จะ ต้อง บรรยายฟ้อง ให้ เห็นว่า เหตุใด โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องคดี เกิน1 ปี เมื่อ โจทก์ ไม่ บรรยายฟ้อง ถึง เหตุ ที่ โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องคดี และจำเลย ทั้ง แปด ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ คดี โจทก์ ขาดอายุความพิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ตาม ประเด็น ข้อพิพาทเกี่ยวกับ อายุความ เมื่อ จำเลย ทั้ง แปด ได้ ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ศาลชั้นต้น ชอบ ที่ จะ ให้ โจทก์ นำพยาน หลักฐาน เข้าสืบ ใน ประเด็น เรื่องอายุความ การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง งดสืบพยาน โจทก์ แล้ว พิพากษายก ฟ้องเป็น การ ไม่ชอบ จึง ขอให้ ดำเนินการ พิจารณา สืบพยานโจทก์ จำเลย ทั้ง แปดแล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ ได้ ใช้ สิทธิ ฟ้องจำเลย ทั้ง แปด ให้ รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ การ ละเมิดซึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก บัญญัติ ว่า”สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหาย อัน เกิด แต่ มูลละเมิด นั้น ท่าน ว่าขาดอายุความ เมื่อ พ้น ปี หนึ่ง นับแต่ วันที่ ผู้ต้อง เสียหาย รู้ ถึง การละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน หรือ เมื่อ พ้น สิบ ปีนับแต่ วัน ทำละเมิด ” สิทธิเรียกร้อง ดังกล่าว ถ้า มิได้ ใช้ บังคับภายใน ระยะเวลา ที่ กฎหมาย กำหนด สิทธิเรียกร้อง นั้น เป็น อัน ขาดอายุความซึ่ง ลูกหนี้ มีสิทธิ ที่ จะ ปฏิเสธ การ ชำระหนี้ ตาม สิทธิเรียกร้อง นั้น ได้คดี นี้ จำเลย ทั้ง แปด รับ ราชการ สังกัด หน่วยงาน ของ โจทก์ ได้ ยก อายุความขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ ว่าคดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ 1 ปี แล้ว ขอให้ ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ มี ฐานะ เป็น กรม ใน รัฐบาล ฟ้องคดี นี้ วันที่ 24 พฤษภาคม 2533โดย บรรยาย คำฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง แปด มี หน้าที่ จะ ต้อง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหายค่าปรับ เป็น รายวัน วัน ละ 1,500 บาท ที่ ไม่อาจ เรียก จาก ผู้รับจ้างได้ เป็น เวลา 51 วัน เป็น เงิน 76,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่วัน ทำละเมิด โดย คิด ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายน 2527 ถึง วันฟ้องรวม เวลา 5 ปี 11 เดือน 4 วัน โดย โจทก์ มิได้ บรรยาย คำฟ้อง ให้ เห็นว่าเหตุใด โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องคดี นี้ ได้ แม้ จะ เกิน 1 ปี เมื่อ กฎหมายบัญญัติ ไว้ ว่า ขาดอายุความ เมื่อ พ้น ปี หนึ่ง แต่ คดี นี้ เรื่อง อายุความเป็น ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ทั้ง แปด ที่ ปฏิเสธ ข้ออ้าง ของ โจทก์ หาก จำเลยทั้ง แปด ไม่ได้ ให้การ ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว ศาล จะ อ้าง เอาอายุความ มา เป็นเหตุ ยกฟ้อง ไม่ได้ อายุความ จึง ไม่ใช่ สภาพแห่งข้อหาของ โจทก์ อีก ทั้ง ข้อเท็จจริง ที่ จะ นำ มา วินิจฉัย ว่าคดี ขาดอายุความ แล้วยัง ไม่ปรากฏ ชัด ใน คำฟ้อง ดังนั้น ปัญหา ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่และ จำเลย ทั้ง แปด จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ตาม ฟ้อง หรือไม่ จึง เป็นข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ จะ ต้อง นำสืบ ต่อไป จน สิ้น กระแสความ จึง ต้องส่ง สำนวน คืน ไป ยัง ศาลชั้นต้น เพื่อ ให้ พิจารณา และ พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบ กับ มาตรา 247ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย ทั้ง แปด ไม่ต้องด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา สืบพยานโจทก์ จำเลย ทั้ง แปด จน สิ้น กระแสความแล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share