แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกที่พิพาทซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องซึ่งเท่ากับฟังว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งหาว่าจำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินโจทก์ขอให้ขับไล่ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย และ บริวาร ได้ เข้า ครอบครอง ที่ดิน โจทก์ อันเป็น การ ทำ ละเมิด และ โจทก์ ได้ ฟ้อง จำเลย เป็น คดีอาญา ข้อหา บุกรุกแล้ว ขอ ให้ ขับไล่ และ เรียก ค่าเสียหาย
จำเลย ให้การ ว่า ที่พิพาท ไม่ ใช่ ของ โจทก์ แต่ เป็น ถนนสาธารณะประโยชน์ จำเลย และ บริวาร ไม่เคย เข้า ครอบครอง ที่ดิน โจทก์ ขอ ให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อไป แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย เป็น คดีอาญา ข้อหา บุกรุกที่ดิน ศาล พิพากษา ยกฟ้อง โดย ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า คดี ฟัง ไม่ ได้แน่ชัด ว่า ที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน โดยวินิจฉัย ว่า พยานหลักฐาน โจทก์ ไม่ พอ ฟัง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของที่ดิน ตาม ฟ้อง ผล แห่ง คำวินิจฉัย คดี ส่วน อาญา เป็น การ ฟัง ว่าโจทก์ ไม่ มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท นั่นเอง ดังนั้น เมื่อ โจทก์มา ฟ้อง จำเลย เป็น คดี นี้ ซึ่ง มี ประเด็น ที่ ศาล จะ ต้อง วินิจฉัยอย่างเดียวกัน ว่า โจทก์ มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท หรือไม่ ใน การพิพากษา คดี ส่วนแพ่ง ศาล จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ในคำพิพากษา ส่วน อาญา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
พิพากษา กลับ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น.