คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่จำเลยทั้งสองทำร้ายกันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากจำเลยที่2มีเรื่องโต้เถียงกันกับย.ซึ่งเดินมากับจำเลยที่1ก่อนต่อมาจำเลยทั้งสองได้มาพบกันอีกและโต้เถียงกันก่อนที่จะลงมือทำร้ายกันตามพฤติการณ์ถือได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจวิวาททำร้ายแม้ฝ่ายใดจะลงมือทำร้ายก่อนก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะเมื่อสมัครใจวิวาทกันแล้วจะอ้างว่าตนทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อป้องกันสิทธิของตนไม่ได้. คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลฎีกาจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงได้เพราะผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้รับรองว่าเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่ข้อเท็จจริงที่คู่ความฎีกานั้นจะต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ยกปัญหาที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย. จำเลยเพียงแต่ชกต่อยกอดปล้ำกันมิได้ใช้อาวุธทำร้ายและเหตุที่ทำร้ายกันก็เกิดจากการวิวาทโต้เถียงไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเคยรับโทษจำคุกมาก่อนพิเคราะห์ถึงพฤติกาณณ์แห่งคดีสิ่งแวดล้อมของจำเลยทั้งสองและสภาพความผิดแล้วศาลรอการลงโทษจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ต่าง สมัครใจ วิวาท ทำร้ายร่างกาย ซึ่งกัน และกัน โดย จำเลย ที่ 1 ชกต่อย จำเลย ที่ 2 หลาย ทีที่ บริเวณ ใต้ ขอบตา และ ดั้งจมูก จำเลย ที่ 2 ก็ ได้ ชกต่อย จำเลยที่ 1 หลาย ที บริเวณ ใบหน้า ศีรษะ และ ร่างกาย หลาย แห่ง เป็น เหตุ ให้จำเลย ทั้ง สอง ต่าง ได้ รับ อันตราย แก่ กาย ขอ ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 83
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง ต่าง สมัครใจ วิวาท ทำร้ายซึ่งกัน และกัน จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา295 จำคุก คน ละ 3 เดือน จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 ก่อ เหตุวิวาท กับ บุคคล อื่น ก่อน แล้ว ลาม มา ก่อเหตุ กับ จำเลย ที่ 1 และจำเลย ที่ 2 หา เรื่อง ชกต่อย จำเลย ที่ 1 ก่อน การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 จึง เป็น การ ป้องกัน โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย และ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่าการ กระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ เป็น การ ทะเลาะ วิวาท จำเลย ที่ 1เมา สุรา ตรง เข้า ชกต่อย จำเลย ที่ 2 ก่อน จำเลย ที่ 2 อยู่ ใน ภาวะที่ ไม่ สามารถ หลีกเลี่ยง ได้ จึง มี การ กอดปล้ำ กัน การ กระทำ ของจำเลย ที่ 2 จึง เป็น การ ป้องกัน โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย นั้น ปรากฏ ว่าที่ จำเลย ทั้ง สอง ทำร้าย ซึ่งกัน และกัน นั้น สาเหตุ สืบเนื่อง มาจาก จำเลย ที่ 2 กับ นาย ยงยุทธ ที่ เดิน มา กับ จำเลย ที่ 1 ได้ มีเรื่อง โต้เถียง กัน ก่อน ใน ฐานะ พยาน โจทก์ ที่ นั่ง ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ เบิกความ ว่า การ โต้เถียง กันเกิดจาก นาย ยงยุทธ กับ จำเลย ที่ 1 ยืน อยู่ กลาง ถนน ขวาง ทาง ที่จำเลย ที่ 2 จะ ไป นาย ยงยุทธ พยานโจทก์ เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ ชน นาย ยงยุทธ แล้ว หา ว่า นาย ยงยุทธ เป็น นักเลง แต่จำเลย ทั้ง สอง ก็ ยัง มิได้ ใช้ กำลัง ประทุษร้าย กัน ใน ขณะนั้น ต่อมาจำเลย ทั้ง สอง พบ กัน ที่ หน้าร้าน นาง สุนันทา จึง ได้ ทำร้าย ซึ่งกันและกัน โดย ต่าง ฝ่าย นำสืบ ว่า ฝ่าย ตรงข้าม ชก ตน ก่อน แต่ คดี ได้ความ จาก คำ นาง สุนันทา พยานโจทก์ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ โต้เถียงกัน ก่อน ที่ จะ เข้า กอดรัด และ ลงมือ ทำร้าย กัน ตาม พฤติการณ์ ถือได้ ว่า ต่าง ฝ่าย ต่าง สมัครใจ วิวาท กัน ดังนั้น แม้ ฝ่าย ใด จะ ลงมือทำร้าย ฝ่าย ตรงข้าม ก่อน ก็ ไม่ ใช่ เรื่อง สำคัญ เพราะ เมื่อ สมัครใจวิวาท กัน แล้ว จะ อ้าง ว่า ตน ทำร้าย อีก ฝ่าย หนึ่ง เพื่อ ป้องกันสิทธิ ของ ตน เนื่องจาก ฝ่าย ตรงข้าม ลงมือ ทำร้าย ตน ก่อน ไม่ ได้ศาลล่าง วินิจฉัย ชี้ขาด ปัญหา นี้ มา ชอบ แล้ว ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองดังกล่าว ฟัง ไม่ ขึ้น
ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 เมา สุรา และ ขัดขืน การ จับกุมของ เจ้าพนักงาน ตำรวจ บาดแผล ของ จำเลย ที่ 1 อาจ เกิด ภายหลัง มิใช่เกิดจาก การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 2 นั้น คดี นี้ ต้องห้าม ฎีกา ในปัญหา ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 แม้ศาลฎีกา มี อำนาจ วินิจฉัย ชี้ขาด ปัญหา ข้อเท็จจริง ได้ เพราะผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น เห็น ว่า ข้อความที่ ตัดสิน เป็น ปัญหา สำคัญ อัน ควร สู่ ศาล สูงสุด และ อนุญาต ให้จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา แต่ ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ ยกขึ้น อ้างอิง ในฎีกา ก็ ต้อง เป็น ข้อ ที่ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 2 มิได้ ยก ปัญหา ตาม ฎีกา ข้อ นี้ ขึ้นว่า กัน มา ใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา จึง ไม่ วินิจฉัย ฎีกา ข้อ นี้ ให้
จำเลย ทั้ง สอง เพียง แต่ ชกต่อย และ กอดปล้ำ กัน มิได้ ใช้ อาวุธทำร้าย กัน และ เหตุ ที่ ทำร้าย กัน ก็ เกิดจาก การ วิวาท โต้เถียงไม่ ปรากฏ ว่า จำเลย ทั้ง สอง เคย รับ โทษ จำคุก มา ก่อน ได้ พิเคราะห์ถึง พฤติกาณณ์ แห่ง คดี สิ่งแวดล้อม ของ จำเลย ทั้ง สอง กับ สภาพความผิด แล้ว เห็น สมควร ให้ โอกาส จำเลย ทั้ง สอง กลับตัว เสียใหม่’
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ รอ การ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มี กำหนด 2 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์

Share